นายพงษ์เดช ศรีวชิรประดิษฐ์ รองประธานสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โครงการสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ ส.อ.ท.กับมหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 6 การสำรวจค่าจ้าง
และสวัสดิการ ปี 2557/2558 นี้ดำเนินการโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ ร่วมเป็นที่ปรึกษาและคณะทำงาน การเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือน มีนาคม – พฤษภาคม 2557 ประกอบด้วย ค่าจ้างขั้นต้นสำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ ค่าจ้างขั้นต้นสำหรับผู้มีประสบการณ์ จำแนกตามสาขา กลุ่มอุตสาหกรรม ลักษณะผู้ประกอบการ ขนาดธุรกิจ พื้นที่ และสวัสดิการ สำหรับปีนี้มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 147 แห่ง จำแนกเป็น 14 กลุ่มอุตสาหกรรม
“จากผลการสำรวจค่าจ้าง ปี 2557/2558 ในส่วนค่าจ้างขั้นต้น (Base Salary) สำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์จำแนกตามวุฒิโดยเฉลี่ยรวม พบว่า ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ / ปวช. 9,485 บาท ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง / ปวส. 10,477 บาท ระดับปริญญาตรี 14,148 บาท ระดับปริญญาโท 20,403 บาท และระดับปริญญาเอก 38,470 บาท เมื่อ
จำแนกตามสาขาวิชา พบว่า ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ / ปวช. ค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดสาขาช่างเทคนิค 9,530 บาท ต่ำสุดสาขาคหกรรมศาสตร์ 9,194 บาท ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง / ปวส. ค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดสาขาเกษตรศาสตร์ 10,581 บาท ต่ำสุดสาขาคหกรรมศาสตร์ 10,330 บาท ระดับปริญญาตรี ค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดสาขาวิศวกรรมศาสตร์ 16,492 บาท ต่ำสุดสาขาคหกรรมศาสตร์ 13,037 บาท ระดับปริญญาโท ค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดสาขาเทคโนโลยีอาหาร 22,729 บาท ต่ำสุดสาขามนุษยศาสตร์/ศิลปะศาสตร์/อักษรศาสตร์ 18,400 บาท ระดับปริญญาเอกค่าจ้างสูงสุด บัญชี/การเงิน 40,250 บาท
จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า ประกาศนียบัตรชาชีพ / ปวช. ค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ 10,035 บาท ต่ำสุดกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 8,633 บาท ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง/ปวส. สูงสุดกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กและอลูมิเนียม 11,530 บาท ต่ำสุดกลุ่มพลาสติก 9,887 บาท ระดับปริญญาตรี สูงสุดกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าและพลังงานทดแทน 15,975 บาท ต่ำสุดกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 12,762 บาท ระดับปริญญาโท สูงสุดกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ 22,617 บาท และต่ำสุดกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าและพลังงานทดแทน 18,083 บาท ระดับปริญญาเอก ไม่มีข้อมูล
สำหรับ ค่าจ้างสำหรับผู้มีประสบการณ์จำแนกตามตำแหน่งงาน โดยเฉลี่ยรวม พบว่า ระดับปฏิบัติการ 11,893 บาท ระดับเจ้าหน้าที่ 17,721 บาท ระดับผู้ชำนาญการวิชาชีพ 26,819 บาท ผู้บริหารงานระดับต้น 34,803 บาท ผู้บริหารงานระดับกลาง 63,888 บาท และผู้บริหารงานระดับสูง 127,547 บาท
เมื่อจำแนกตามกลุ่มงาน พบว่า ระดับปฏิบัติการ ค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุด กลุ่มงานเลขานุการ 18,878 บาท ต่ำสุดกลุ่มงานการผลิต 11,263 บาท ระดับเจ้าหน้าที่ สูงสุด กลุ่มงานเลขานุการ 24,123 บาท ต่ำสุดกลุ่มงานควบคุมคุณภาพ 16,479 บาท ระดับผู้ชำนาญการวิชาชีพ สูงสุดกลุ่มงานเลขานุการ 36,661 บาท ต่ำสุดกลุ่มงานควบคุมคุณภาพ 24,835 บาท ผู้บริหารงานระดับต้น สูงสุดกลุ่มงานกฎหมาย 49,029 บาท ต่ำสุด กลุ่มงานคลังสินค้า 32,091 บาท ผู้บริหารงานระดับกลาง สูงสุด กลุ่มงานกฎหมาย 80,462 บาท ต่ำสุดกลุ่มงานธุรการ 53,932 บาท และผู้บริหารงานระดับสูง สูงสุดกลุ่มงานการขาย 134,651 บาท และต่ำสุดกลุ่มงานออกแบบ 70,130 บาท
ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการมหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า เมื่อเปรียบเทียบค่าจ้างขั้นต้นสำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์จำแนกตามวุฒิ ระหว่าง ปี 2557 กับ ปี 2556 ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนมากในภาคอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับ ปริญญาโท ปริญญาเอก พบว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงค่าจ้าง ไม่เพิ่มขึ้น โดย ปวช. 0.08 % ปวส. 0.03 % ปริญญาตรี 0.12 % แต่ ปริญญาโท ปริญญาเอก กลับเพิ่มขึ้นสูง โดย ปริญญาโท 6.43 % และ ปริญญาเอก 47.29 % ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผู้ประกอบการเห็นว่า ที่ผ่านมาได้มี การปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้นสูงอยู่แล้ว เช่น ปี 2554 เปรียบเทียบ ปี 2555 ปวช. 28.49 % ปวส. 21.41 %
ซึ่งเป็นการปรับผลกระทบมาจากค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น 39.5 % ทั่วประเทศในช่วงเวลานั้น หรือ 300 บาทเฉพาะกรุงเทพ ฯ ปริมณฑล และ ภูเก็ต ประกอบกับ ผลสำรวจค่าจ้าง ปี 2557 เป็นการเก็บข้อมูลในช่วงที่ยังมีเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองสูงทำให้เศรษฐกิจชะงักงัน (Stagnation)นายจ้างอาจมีผลประกอบการที่ไม่ดีนัก จึงทำให้ค่าจ้าง ปี 2557 วุฒิ ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ไม่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบค่าจ้างในช่วงระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ ปี 2552 จนถึง ปี 2557 พบว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างโดยเฉลี่ยต่อปี เพิ่มขึ้น ปวช. 8.59 % ปวส. 7.37 % ปริญญาตรี 5.32 % ปริญญาโท 3.80 % ปริญญาเอก 8.98 % เมื่อจำแนกตามสาขาวิชา พบว่า เพิ่มขึ้นโดดเด่น ปวช. คหกรรมศาสตร์ 11.24 % ศิลปกรรมศาสตร์ 10.82 % ออกแบบ/สถาปัตยกรรมศาสตร์ 10.54 % ปวส. คหกรรมศาสตร์ 10.19 % ศิลปกรรมศาสตร์ 9.49 % ออกแบบ/สถาปัตยกรรมศาสตร์ 8.52 % ปริญญาตรี คหกรรมศาสตร์ 6.82 % นิเทศศาสตร์ 6.60 % บริหารธุรกิจ 6.58 % เป็นที่น่าสังเกตว่า วิศวกรรมศาสตร์ เป็นสาขาวิชา ที่มีค่าจ้างจากผลสำรวจสูงที่สุดทุกปีแต่กลับมี อัตราการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างโดยเฉลี่ยต่อปี เพิ่มขึ้นต่ำสุด คือ 3.05 % ต่ำรอง คือ เภสัชศาสตร์ 3.20 % ปริญญาโท คหกรรมศาสตร์ 9.85 % เทคโนโลยีอาหาร 9.01 % พยาบาลศาสตร์ 8.80 % ปริญญาเอก เทคโนโลยีอาหาร 16.50 % คอมพิวเตอร์ 15.09 % ศิลปกรรมศาสตร์ 14.61 % นอกจากนี้ ด้านของผลการสำรวจสวัสดิการด้านนโยบายการจ้าง ยังพบว่า ในปี 2556 มีสถานประกอบการปรับอัตราค่าจ้างเฉลี่ย 5.6% และในปี 2557 การปรับค่าจ้างเฉลี่ย 5.4% ในขณะที่การจ่ายโบนัสประจำปี พบว่าในปี 2556 มีสถานประกอบการจ่ายโบนัส 134 แห่ง จากทั้งหมด 147 แห่ง คิดเป็น 91.16 % เฉลี่ยจำนวน 2.6 เดือน สูงสุด 11 เดือน และในปี 2557 มีสถานประกอบการคาดว่าจะจ่ายโบนัส เฉลี่ยจำนวน 2.5 เดือน สูงสุด 8.8 เดือน ขณะที่อัตราการเข้าออกของพนักงาน (Turnover Rate) เฉลี่ยอยู่ที่ 17.77 % จากสาเหตุค่าตอบแทน สวัสดิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพันธ์ กล่าวทิ้งท้าย #