นโยบาย Digital Economy ไม่ควรไปเน้นที่การเพิ่มหน่วยงานใหม่ของภาครัฐ จากข่าวที่ออกมา มีการพูดถึงแผนที่จะเพิ่มหน่วยงานใหม่อีก 3 กรมเพื่อมาทำงานด้าน Digital Economy โดยเฉพาะ รวมถึงจะมีการเปลี่ยนชื่อกระทรวงไอซีที แต่ความสำเร็จของ Digital Economy ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเพิ่มกรมกองขึ้นมาทำภารกิจแต่เพียงอย่างเดียว ที่ผ่านมาเรามีการตั้ง สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติมาเมื่อ 17 ปีก่อน เพื่อให้เกิดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ จนถึงปัจจุบันก็มีหน่วยงานอย่างน้อย 10 หน่วยงานที่มีภารกิจในด้านนี้โดยตรง ดังนั้นการเพิ่มจำนวนกรมอาจจะไม่ช่วยตอบโจทย์ แต่ควรปรับปรุงกระบวนการภาครัฐเพื่อให้เกิดผลจริง โดยเฉพาะตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ต้องเน้นวัดผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการ ปัจจุบันมีตัวชี้วัดของกระทรวงไอซีที เพียงตัวเดียวจาก 14 ตัวที่วัดผลลัพธ์ คือมูลค่าสินค้า ICT ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่มีหลายตัวชี้วัดที่วัดจากจำนวนสถานประกอบการหรือผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนา ซึ่งประเมินได้ยากว่ามีประสิทธิผลหรือไม่
... หรือการผลิตบุคลากรด้าน IT เพิ่ม เพราะเรามีปริมาณมากพอแล้ว เพราะในแต่ละปีเรามีบัณฑิตปริญญาตรีที่จบสาขาคอมพิวเตอร์กว่า 10,000 คน เป็นสาขายอดนิยมของคณะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ควรเพิ่มคุณภาพ เพราะ 1 ใน 6 ของคนที่จบสาขานี้ตกงาน และเกือบ 40% ของบัณฑิตสาขาคอมฯ ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการหรือเสมียน ในขณะเดียวกันบริษัทจัดหางานก็ยังจัดให้บุคลากรด้าน IT เป็นสาขาที่มีความต้องการมากที่สุดเป็นอันดับ 2
แต่ต้องทำให้เอกชน และวิชาการเกิดความร่วมมือและนำไปสู่การสร้างธุรกิจ Digital เพราะประสบการณ์ความสำเร็จจากการพัฒนา Digital Economy ในต่างประเทศ ส่วนใหญ่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาควิชาการ เช่นในกรณีของอิสราเอล หรือไต้หวัน เป็นต้น
“Digital Economy จะเกิดขึ้นได้ต้องมีเป้าหมายในการพัฒนา และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อให้เห็นผลจริง มิเช่นนั้นก็คงจะไม่ต่างอะไรกับนโยบายอื่นๆ ที่ผ่านมาซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีในการสร้างมูลค่าเพิ่มเช่นกัน อย่าง Knowledge-based Economy หรือ Creative Economy แต่สุดท้ายกลับไม่เห็นผลที่เป็นรูปธรรมเท่าที่ควร” ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวทิ้งท้าย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit