ฟังก์ชันเครือข่ายเสมือน: ได้ฤกษ์ใช้งานจริง หลังคำอวดอ้างมานานหลายปี

19 Nov 2014
เขียนโดย ชอล โรเซ็น ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธผลิตภัณฑ์กลุ่มบริการเครือข่ายแบบกลุ่มเมฆ แอมดอกซ์
ฟังก์ชันเครือข่ายเสมือน: ได้ฤกษ์ใช้งานจริง หลังคำอวดอ้างมานานหลายปี

เมื่อครั้งที่มีการออกสมุดปกขาวเกี่ยวกับเรื่องฟังก์ชันเครือข่ายเสมือน หรือ Network Functions Virtualization (NFV) เมื่อสองปีก่อนนั้น รายงานได้อ้างถึงประโยชน์ ความสามารถและความท้าทายที่เห็นได้ชัดเป็นสิ่งแรกสำหรับกลุ่มผู้ให้บริการประเภทนี้ว่าจะเป็นเรื่องของการประหยัดหรือลดต้นทุน แต่ตอนนี้ เมื่อเริ่มมีการลองให้บริการจริงบนเครือข่ายเสมือนแล้วกลับพบว่าประโยชน์ที่น่าสนใจจริงๆแล้ว คือ ธุรกิจจะสามารถปรับตัวได้ทันต่อเหตุการณ์ได้ดีขึ้น และสามารถเสนอรูปแบบบริการใหม่ๆสู่ตลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการ

ดังที่นายจอห์น โดโนแวน รองประธานบริหารอาวุโสแห่ง AT&T Architecture, Technology and Operations ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ในวารสาร The Wall Street Journal เมื่อไม่นานมานี้ว่า AT&T สามารถใช้ซอฟท์แวร์จัดการกับอุปกรณ์เครือข่ายได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็แปลว่าลูกค้าจะสามารถใช้แพ็คเกจบริการใหม่ได้ภายในเวลาเพียงแค่ 2 วันแทนที่จะเป็น 60 – 90 วัน ส่วนบริการอื่นๆ อย่างเช่น การเพิ่มแบนด์วิธให้ลูกค้านั้นจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที แทนที่จะเป็น 30 - 45 วัน

ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะ NFV นั้นช่วยให้ผู้ใช้สามารถออกแบบ เปิดใช้ และจัดการกับบริการเครือข่ายต่างๆได้ด้วยวิธีใหม่ นอกจากนี้ NFV ยังช่วยปลดพันธนาการของฟังก์ชันเครือข่ายต่างๆ อย่าง Policy and Charging Rules Function (PCRF), Firewall หรือ Deep Packet Inspection (DPI) ฯลฯ ออกจากข้อจำกัดของฮาร์ดแวร์ จึงทำให้สามารถใช้ฟังก์ชันต่างๆเหล่านี้ผ่านการประมวลผลซอฟท์แวร์แบบกลุ่มเมฆ (cloud software) ได้

จริงๆแล้ว ถือได้ว่า NFV เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ที่จะแปลงเครือข่ายของผู้ให้บริการจากลักษณะชุดคำสั่งที่ต้องมีการกำหนดค่าไว้ล่วงหน้าบนอุปกรณ์กายภาพต่างๆมาเป็นชุดของหน่วยโครงสร้างส่วนจำเพาะหลายหน่วย โดยเราสามารถที่จะสร้าง เชื่อมต่อ หรือสับเปลี่ยนผสมผสานหน่วยโครงสร้างส่วนจำเพาะเหล่านี้อย่างไรก็ได้ เพื่อสร้างบริการเครือข่ายรูปแบบใหม่ได้ตามต้องการ และจะเป็นการเปลี่ยนลักษณะเครือข่ายที่มีการตั้งค่าคงที่อย่างปัจจุบันเข้าสู่ยุคเครือข่ายแบบกลุ่มเมฆที่มีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการ

ปัจจุบัน ผู้ให้บริการทั้งหลายยังมีข้อจำกัดในเรื่องของต้นทุนอุปกรณ์เครือข่ายที่มีราคาสูง และความยุ่งยากซับซ้อนในเชิงปฏิบัติการ ทำให้ไม่สามารถสู้รบตบมือกับคู่แข่งในธุรกิจ Over-The-Top (OTT) ได้ อีกทั้งกลุ่ม OTT นี้ยังจะยกระดับความคาดหวังของลูกค้าในเรื่องความรวดเร็วว่องไวของการเปิดให้บริการรูปแบบใหม่ให้สูงขึ้นกว่าแต่ก่อนอีกด้วย

การหันมาใช้ NFV จะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถขจัดปัญหาดังกล่าวออกไปได้ โดยการช่วยย้ายจากการพึ่งอุปกรณ์ลิขสิทธ์หลายๆตัวให้สามารถเลือกใช้เซิร์ฟเวอร์เชิงพาณิชย์ที่มีขายกันทั่วไปตามท้องตลาดได้เลย และช่วยให้สามารถเลิกใช้การติดตั้งแบบเดิมที่ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์กายภาพจริงและตั้งค่าที่ตัวอุปกรณ์มาเป็นการใช้ซอฟท์แวร์ติดตั้งโดยอัตโนมัติจากทางไกลได้เลย ช่วยให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัวสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย อาทิเช่น ช่วยให้เปิดรูปแบบบริการใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วยิ่งขึ้น สร้างรายได้จากบริการที่มีอยู่ได้เร็วขึ้น ช่วยปลดพันธนาการด้านต้นทุนในการเข้าสู่ตลาดบริการเฉพาะกลุ่ม และช่วยให้มีบริการใหม่ๆที่คุ้มทุนกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น

แม้ว่า NFV จะช่วยให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัวและรวดเร็ว แต่มันยังผลักดันให้เกิดรูปแบบการจัดการใหม่ๆขึ้นด้วย เช่น เรื่องของการแบ่งสรรปันส่วนทรัพยากรเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกบริการ การเลือกใช้ศูนย์ข้อมูลให้เหมาะสมตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง การจัดการฟังก์ชันเครือข่ายซอฟท์แวร์อัตโนมัติที่มีความหลากหลาย และผูกกับผู้ค้าหลายราย ตลอดไปจนถึงการแยกส่วนมูลค่าธุรกิจให้เหมาะสมตามความสามารถของเครือข่ายใหม่ๆเหล่านี้

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงจำเป็นต้องมีรูปแบบการจัดการบริการอัตโนมัติใหม่ขึ้น โดยบริการนี้อาจเกิดขึ้นจากการรวมฟังก์ชันเครือข่ายเสมือน (Virtual Network Functions - VNF) หลายตัวเข้าด้วยกัน และต้องมีผู้กำกับ หรือ orchestrator สำหรับบริการเครือข่ายคอยดูแลให้มั่นใจได้ว่ารูปแบบบริการที่นำเสนอนั้นมีการติดตั้งและใช้งานได้จริงตั้งแต่ต้นชนปลายและเป็นไปตามเงื่อนไขของการให้บริการทุกประการ

เมื่อไม่นานนี้ แอมดอกซ์ได้เปิดตัว Amdocs Network Cloud Service Orchestrator ขึ้น มันคือโซลูชั่นแบบเปิดเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถเคลื่อนย้ายจากเครือข่ายเชิงกายภาพสู่รูปแบบบริการเครือข่ายแบบกลุ่มเมฆได้ทันที ด้วยการออกแบบที่รัดกุม มีความต่อเนื่อง และสนองตอบทุกรูปแบบบริการเครือข่าย ตั้งแต่ผู้ค้าในระดับฟังก์ชันเครือข่ายเสมือน (VNF) รองรับระบบจัดการกลุ่มเมฆทั้งหมดในตลาด และรวมไปถึงผู้ควบคุม SDN

การที่มันเป็นโซลูชั่นแบบเปิด ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถสร้างและให้บริการที่เป็นสุดยอดของบริการเครือข่ายในแต่ละประเภทได้โดยไม่ต้องผูกติดกับผู้ค้ารายใดรายหนึ่ง ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีนี้ (กำลังรอรับการจดทะเบียนสิทธิบัตร) จะเป็นเทคโนโลยีที่จะปฏิวัติต้นแบบเชิงปฏิบัติการของการให้บริการ โดยการรวมสองส่วนในเรื่องของการสร้างคำตอบโจทย์ความต้องการที่มีกับการรับประกันคุณภาพบริการเข้าเป็นกระบวนการองค์รวมเพียงหนึ่งเดียวที่จะมอบความคล่องแคล่วว่องไวในการปฏิบัติงานบนเครือข่ายที่ “lean” ทั้งในแบบเครือข่ายจริงหรือเสมือนจริงก็ตาม

นอกจากนี้ โซลูชั่นนี้ยังมีความเป็น “สำเร็จรูป” ซึ่งจะช่วยผสานธุรกิจเข้ากับเครือข่ายได้ทันที ทำให้การทำงานกับฟังก์ชันเครือข่ายเสมือนของผู้ค้ารายอื่นเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็ว เป็นการให้คำนิยามของบริการเครือข่ายแบบใหม่ และตอบโจทย์ได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถแปลงสภาพเครือข่ายของตนให้เกิดรูปแบบบริการใหม่ๆได้มากมาย พร้อมให้ลูกค้าได้เลือกติดตั้ง หรือแม้แต่ออกแบบบริการได้ด้วยตนเองตามความต้องการ

และเพื่อเป็นการผลักดันให้มีการใช้ NFV ให้มากยิ่งขึ้น แอมดอกซ์จึงได้สร้างโปรแกรมพันธมิตรบริการ NFV ขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างฟังก์ชันเครือข่ายเสมือนและองค์ประกอบย่อยของโครงสร้างพื้นฐานเสมือนสำหรับฟังก์ชันเครือข่าย (Network Function Virtualization Infrastructure - NFVI) จำนวนมากมายเพื่อลดความซับซ้อนของการจัดรูปแบบบริการ ลดเวลาจัดรูปแบบบริการออกสู่ตลาด และแก้ปัญหาเรื่องเงื่อนไขการให้บริการทุกจุดตั้งแต่ต้นชนปลาย

ขณะนี้มีพันธมิตรรร่วมโครงการแล้วถึง 21 ราย และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆทุกสัปดาห์ ตัวอย่างบริการที่มี อาทิเช่น Virtual Enterprise CPE, Virtual IP Multimedia System (vIMS) Core with Enterprise Value Added Voice Service และ Virtual Mobile Packet Core (vMPC) เป็นต้น

ในขณะที่ผู้ให้บริการเริ่มเดินทางเข้าสู่หนทางแห่งการเปลี่ยนแปลงเครือข่ายที่ตนมี พวกเขาต่างต้องการโซลูชั่นที่ได้รับการพิสูจน์และยอมรับมาแล้วเป็นอย่างดีว่าจะช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างรูปแบบบริการเครือข่ายที่ดีที่สุดได้โดยไม่ต้องมีข้อผูกมัดกับผู้ค้าเพียงรายหนึ่งรายใด และต้องการมีการปฏิบัติการเครือข่ายที่ “lean” และปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว พร้อมให้บริการใหม่แก่ลูกค้าตามความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทันท่วงที แอมดอกซ์จึงมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ลูกค้าของเราได้ก้าวย่างสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ได้ด้วยความสำเร็จ เพื่อเปิดสู่โลกใหม่ที่เป็นโลกแห่งเครือข่ายเสมือนจริง

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit