อีริคสันคอนซูเมอร์แล็บชี้เมื่อพลเมืองฉลาดขึ้น ก็ส่งผลให้เมืองฉลาดขึ้นตาม

20 Nov 2014
- จากรายงานล่าสุดของอีริคสันคอนซูเมอร์แล็บได้เปิดเผยให้เห็นว่าระบบอินเทอร์เนตนั้นช่วยเอื้อประโยชน์ให้ต่อการใช้ชีวิตในเมืองได้อย่างไร โดยทำการสำรวจจากเมืองใหญ่ทั้ง 9 เมือง ได้แก่ ปักกิ่ง เดลี ลอนดอน นิวยอร์ค ปารีส โรม เซาเปาโล สต็อกโฮม และโตเกียว
อีริคสันคอนซูเมอร์แล็บชี้เมื่อพลเมืองฉลาดขึ้น ก็ส่งผลให้เมืองฉลาดขึ้นตาม
  • โดยข้อค้นพบที่ปรากฏขึ้นนั้น พบว่าเมื่อพลเมืองเริ่มมีการใช้อินเทอร์เนตมาช่วยในการรับข้อมูลที่มากขึ้น มีการเลือกและตัดสินใจทีดีขึ้นแล้วนั้น ก็จะส่งผลให้เมืองต่างๆ นั้นมีความฉลาดขึ้นตาม
  • ผู้คนส่วนใหญ่ต้องการใช้ประโยชน์จากสมาร์ทโฟนเพื่อคลายข้อกังวลในเรื่องของสุขภาพ ช่วยการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆได้สะดวกขึ้น รวมถึงช่วยแนะนำนำเส้นทางการจราจรในเมืองอีกด้วย ทั้งนี้เพราะการปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเข้ามาแก้ไขโครงสร้างแบบเดิมที่มีอยู่ จึงส่งผลให้ผู้คนที่สมาร์ทจะต้องการให้ผู้ให้บริการสาธารณูปโภคและภาครัฐเชื่อมต่อบริการต่างๆเข้ากับอินเทอร์เนต

อีริคสันได้ตีพิมพ์รายงานอีริคสันซูเมอร์แล็บฉบับล่าสุด ในหัวข้อ “Smart citizens : How the internet facilitates smart choices in city life - สมาร์ท ซิติเซ่น: อินเทอร์เน็ตช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตในเมืองอย่างชาญฉลาด” โดยรายงานฉบับนี้ได้ทำการสำรวจจากเมืองใหญ่ทั้ง 9 เมือง ได้แก่ ปักกิ่ง เดลี ลอนดอน นิวยอร์ค ปารีส โรม เซาเปาโล สต็อกโฮม และโตเกียว โดยข้อค้นพบที่ปรากฏขึ้นนั้น พบว่า เมื่อพลเมืองเลือกใช้ชีวิตที่สมาร์ทขึ้น ส่งผลให้เมืองนั้นฉลาดขึ้นตาม ทั้งนี้ในรายงานได้เปิดเผยให้เห็นถึงหลากหลายมุมมองที่เปิดทางให้เห็นว่าพลเมืองสามารถจัดการและเข้ามามีส่วนร่วมกับชีวิตในเมืองมากขึ้น ตั้งแต่ระบบติดตามผลตรวจสุขภาพในรูปแบบดิจิตอล ระบบนำทางบนถนนในรูปแบบอินเทอร์แอคทีฟ ไปจนถึงระบบแชร์รถจักรยานหรือรถยนต์ผ่านโซเชียล

นาย บัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ กล่าวว่า “ผู้คนต่างต้องการให้ผู้ให้บริการสาธารณูปโภคและภาครัฐเชื่อมต่อบริการต่างๆเข้ากับอินเทอร์เนต ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงข้อมูลต่างๆแบบออนไลน์และเรียลไทม์ เช่น ข้อมูลการจราจร ข้อมูลสภาวะคุณภาพของน้ำและอากาศ การใช้บริการสาธารณะต่างๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ นาย บัญญัติ ยังกล่าวเสริมว่า “จากผลการศึกษาเราพบว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้นมีความสนใจในเรื่องการเข้าถึงบริการต่างๆแบบออนไลน์และเรียลไทม์เหล่านี้มากกว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ตามชานเมือง และที่น่าสนใจก็คือกลุ่มคนทำงานที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นหนุ่มสาวนั้นเป็นกลุ่มที่จะต้องการเข้าถึงบริการต่างๆเหล่านี้ในแต่ละวันมากที่สุด และพวกเขาเหล่านี้เองก็จะเป็นกลุ่มที่จะผลักดันให้เมืองต่างๆ มีพัฒนาตัวเองที่สมาร์ทและชาญฉลาดมากขึ้นอีกด้วย”

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาตามข้อมูลของแต่ละเมือง เราจะพบว่า ในเดลี ปักกิ่ง และเซาเปาโล มีการให้คะแนนความสนใจในเรื่องต่างๆ เหล่านี้เป็นอย่างมาก แต่ในขณะที่ในปารีส ลอนดอน และสต็อกโฮมให้คะแนนความสนใจในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ค่อนข้างน้อย ยกตัวอย่างในสต็อกโฮมนั้นมีเพียง 41 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนทั้งหมดที่รู้จักการตรวจสอบและวัดคุณภาพน้ำ เมื่อเทียบกับในเดลีผู้คนที่รู้จักในเรื่องนี้มีมากถึง 92 เปอร์เซ็นต์

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการสำรวจผ่านทางออนไลน์ในเดือนกันยายน 2014 จากผู้ใช้งาน iPhone และ Android อายุระหว่าง 15 - 69 ปี โดยมาจาก ปักกิ่ง เดลี ลอนดอน นิวยอร์ค ปารีส โรม เซาเปาโล และโตเกียว ทั้งหมด 9,030 คน ซึ่งถือเป็นตัวแทนกลุ่มประชากรทั้งหมด 61 ล้านคน

โดยผลการศึกษาที่น่าสนใจจากงานวิจัยนี้มีดังนี้

เมื่อผู้คนในเมืองใช้อินเทอร์เนตเพื่อช่วยในการหาข้อมูลมากขึ้น ช่วยการเลือกและตัดสินใจที่ฉลาดขึ้น นั้นก็จะส่งผลให้เมืองต่างๆ นั้นมีความฉลาดขึ้นตามด้วย โดยผู้ใช้สมาร์ทโฟนต่างๆทั่วโลกกำลังผลักดันความต้องการและเรียกร้องให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้นเช่น:

  • 76 เปอร์เซ็นต์ต้องการให้มีระบบเซนเซอร์ในพื้นที่สาธารณะต่างๆเพื่อที่พวกเขาจะสามารถตรวจสอบได้ว่าพื้นที่บริเวณใดมีความหนาแน่นหรือควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด
  • 70 เปอร์เซ็นต์ต้องการระบบที่ช่วยเปรียบเทียบการใช้พลังงานกับเพื่อนบ้านต่างๆเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมการใช้พลังงานของตัวเอง
  • 66 เปอร์เซ็นต์ต้องการระบบตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำดื่มแบบเรียลไทม์

นอกจากนี้ ผู้คนต่างๆ ยังใช้สมาร์ทโฟนเพื่อคลายข้อกังวลในเรื่องของสุขภาพ ช่วยการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆได้สะดวกขึ้น รวมถึงช่วยแนะนำนำเส้นทางการจราจรในเมืองอีกด้วย

  • 48 เปอร์เซ็นต์ต้องการระบบเซนเซอร์เพื่อช่วยนะนำการใช้ชีวิตในแต่ละวัน
  • 29 เปอร์เซ็นต์ต้องการใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกไอดี (Biometric ID) เพื่อควบคุมการเข้าถึงบริการสาธารณะในทุกๆ วัน
  • 74 เปอร์เซ็นต์ต้องการระบบสัญญาณจราจรบนท้องถนนในรูปแบบอินเทอร์แอคทีฟ และส่งเสริมการแชร์รถจักรยานและรถยนต์มากขึ้น

การปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเข้ามาแก้ไขระบบโครงสร้างการสื่อสารแบบเดิมๆที่มีอยู่ จึงส่งผลให้ผู้คนต่างต้องการให้ผู้ให้บริการสาธารณูปโภคและภาครัฐเชื่อมต่อบริการต่างๆเข้ากับอินเทอร์เนตมากขึ้น

  • ข้อมูลต่างๆของ หน่วยงานของรัฐ หรือ Public Authorities ควรที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมและดูแลของหน่วยงานนั้น
  • 28 เปอร์เซ็นต์คิดว่าหน่วยงานของรัฐ อาจมิได้ระมัดระวังถึงความสำคัญความเป็นส่วนตัวของภาคประชาชนในขณะที่มีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ
  • HTML::image( HTML::image(