ในปี พ.ศ. 2549 รศ.ดร.สุพล วุฒิเสน อธิการบดีในขณะนั้น ได้มีนโยบายที่จะสร้างอัตลักษณ์ให้กับนิสิตของมหาวิทยาลัย โดยการเรียนรู้ประชาคมอาเซียน จึงได้หาช่องทางติดต่อกับมหาวิทยาลัยในประเทศเพื่อนบ้าน โดยดำเนินการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) และมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมทีละประเทศในอาเซียนจนครบ 10 ประเทศในที่สุด โดยเบื้องต้นส่งนิสิตไปเรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ประเทศเพื่อนบ้าน จึงถือเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกๆของประเทศไทย ที่มีวิสัยทัศน์และให้ความสำคัญเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา อธิการบดีที่ได้รับการสรรหา (กำลังรอโปรดเกล้าฯ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยฯ เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเครือข่ายกับประเทศเพื่อนบ้าน ในปี พ.ศ. 2550 จึงมีนโยบายด้านการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน โดยการบรรจุรายวิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อนบ้านในหลักสูตรระดับปริญญาตรีให้เป็น 1 ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่นิสิตชั้นปีที่ 1 ทุกคนต้องเรียน และก่อตั้งหน่วยงานใหม่ที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ให้รับผิดชอบนโยบายดังกล่าวโดยตรงคือ สำนักวิเทศสัมพันธ์และภาษา นอกจากการเรียนการสอนในห้องเรียน มีการจัดกิจกรรมเสริมรายวิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน โดยเชิญคณาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นวิทยากรสอนในรายวิชาดังกล่าว เป็นเวลา 1 สัปดาห์ กิจกรรมนี้นับเป็นแรงจูงใจให้นิสิตสนใจเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมในประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น โดยนิสิตจะเดินทางไปเรียนยังมหาวิทยาลัยในประเทศเพื่อนบ้านเป็นเวลา 2 สัปดาห์ โครงการนี้ยังคงดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ได้ผลตอบรับอย่างดีเยี่ยม โดยในแต่ละปี จะมีนิสิตเข้าร่วมโครงการดังกล่าวถึง 500 คน”
“จากการดำเนินโครงการมายาวนานร่วม 10 ปี ทำให้ทั้งคณาจารย์และนิสิตได้เรียนรู้กระบวนการและมีประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น ทั้งเรื่องขั้นตอนในการเดินทางไปต่างประเทศ และประสบการณ์ตรงที่ได้รับจากการเดินทางไปต่างประเทศ นิสิตบางคนมองเห็นช่องทางของการทำงานในต่างประเทศ นิสิตบางคนได้เพื่อนในต่างประเทศ ทำให้ได้ฝึกฝนภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น ประสบการณ์ตรงจากการได้เดินทางไปสัมผัสด้วยตัวเองทำให้เข้าใจเพื่อนในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนความคิดและทัศนคติที่มีต่อประเทศเหล่านั้น นี่ถือเป็นความรู้ที่อยู่นอกเหนือตำรา นอกห้องเรียน และยังเห็นถึงความเชื่อมั่นในตัวเอง และการพัฒนาบุคลิกภาพของนิสิตที่ดีขึ้นหลังจากจบโครงการ” ผศ.ดร.ลินดา กล่าว
ในปี 2556 สำนักวิเทศสัมพันธ์และภาษา ได้ปรับโครงสร้างการดำเนินงานและเปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็นสำนักวิเทศสัมพันธ์และเครือข่ายอาเซียน โดยเป็นหน่วยงานที่มุ่งส่งเสริมความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรม มุ่งเน้นการสื่อสารและเป็นเลิศในการประสานความร่วมมือในแขนงต่างๆ ในลักษณะการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานองค์กรและสถานศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และภารกิจที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การขับเคลื่อนให้นิสิตนักศึกษา บุคลากรและบุคคลภายนอก เกิดความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน รวมถึงวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ เพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกันของประเทศในประชาคม สำนักวิเทศสัมพันธ์และเครือข่ายอาเซียนจึงได้จัด โครงการค่ายเยาวชนอาเซียนผสานความร่วมมือด้านภาษาและวัฒนธรรมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่งเป็นการนำอาจารย์และนิสิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียน+1 รวม 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ประเทศมาเลเซีย ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และนิสิตที่เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยามาเข้าร่วม โดยมีกิจกรรมหลักๆที่น่าสนใจ อาทิ
นอกจากนี้ สำนักวิเทศสัมพันธ์และเครือข่ายอาเซียน ยังได้ดำเนินโครงการต่างๆ ดังนี้
1. โครงการอบรมภาษาเพื่อนบ้าน โดยมีคณาจารย์และนิสิตจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นวิทยากรในการอบรม
2. โครงการเตรียมความพร้อมให้แก่นิสิตก่อนเดินทางไปเรียน / แลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน
3. โครงการเพิ่มประสบการณ์ชีวิตสร้างมิตรภาพกับนิสิตประเทศเพื่อนบ้าน เรียนร่วมภาษาและวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มประสบการณ์ชีวิตสร้างมิตรภาพกับนิสิตประเทศเพื่อนบ้าน
4. โครงการส่งนิสิตไปฝึกงานประเทศเพื่อนบ้าน โดยสามารถเทียบโอนรายวิชาได้
5. โครงการทำหลักสูตรร่วมกัน ระหว่างมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในประเทศเพื่อนบ้าน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ยังคงมุ่งมั่นในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษากับประเทศในอาเซียนโดยการจัดกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างมั่นใจ เพื่อไปสู่เป้าหมายในการเป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพสากลชั้นนำ (World Class Quality University) ต่อไป
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit