ผลสำรวจ สถิติ “จำนวนครั้งที่จับจ่าย (Shopping Trip)” ของผู้บริโภคไทย แตะ 4,900 ล้านครั้ง ใน 52 สัปดาห์ ลดลง 7% จากปีก่อนหน้า

27 Nov 2014
กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล ผู้นำระดับโลกด้านวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึก ที่เน้นรูปแบบ คอนซูเมอร์ พาแนล ซึ่งวิเคราะห์การจับจ่ายจากฐานกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างขนาดใหญ่ในตลาดสินค้าอุปโภค-บริโภคของประเทศไทย บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ประเทศไทย) ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมและแนวโน้มการจับจ่ายของผู้บริโภค ในแง่ของจำนวนครั้งที่ทำการจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภค หรือ “Shopping Trip” รวมถึง ช่องทางที่นิยมออกไปจับจ่าย ในรอบ 52 สัปดาห์ สิ้นสุด 5 ตุลาคม 2557 พบว่า “สถิติรวมของจำนวนครั้งที่ผู้บริโภคคนไทยออกไปจับจ่ายสินค้าอุปโภค บริโภค ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคมีจำนวนสูงร่วม 4,900 ล้านครั้ง หรือ นับเป็นอัตราส่วนโดยเฉลี่ย 4.1 ครั้ง ต่อ สัปดาห์ จากประชากร 22.5 ล้านครัวเรือน ทั่วประเทศ โดยค่าเฉลี่ยของจำนวนครั้งที่จับจ่ายนั้นมีอัตราสูงขึ้น 1 % เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ก็ยัง ต่ำกว่าปีก่อนหน้าถึง 7% สำหรับช่องทางจัดจำหน่ายที่เป็นที่นิยมยังคงเป็น ร้านโชห่วยท้องถิ่น และ ร้านสะดวกซื้อ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เซเว่น-อีเลฟเว่น ได้รับความนิยมสูงสุด โดยครองส่วนแบ่ง จำนวนครั้งที่จับจ่ายสูงถึง 36% ถึงแม้ช่องทางออนไลน์จะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น แต่ยังเป็นช่องทางตลาดขนาดเล็ก
ผลสำรวจ สถิติ “จำนวนครั้งที่จับจ่าย (Shopping Trip)” ของผู้บริโภคไทย แตะ 4,900 ล้านครั้ง ใน 52 สัปดาห์ ลดลง 7% จากปีก่อนหน้า

ผลสำรวจ ไตรมาส 3 ภาคเหนือ ภาคใต้ คงระดับเดิม แต่ อีสาน กทม. – ปริมณฑล ตก

สำหรับพื้นที่ที่ทำการสำรวจนั้น บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ประเทศไทย) ได้สำรวจโดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามพื้นที่ 5 เขตหลัก ได้แก่ เขตกรุงเทพ และปริมณฑล, ภาคกลาง, ภาคเหนือ, ภาคอีสาน, และภาคใต้ พร้อมเผยสถิติของจำนวนครั้งที่จับจ่าย (Shopping Trip) ของปีล่าสุด ทั่วประเทศ เป็นจำนวนรวม 4,848 ครั้ง สิ้นสุด 5 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา แบ่งเป็น กรุงเทพและปริมณฑล 544 ครั้งของการออกไปจับจ่าย และ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และ ภาคใต้ เป็นจำนวน 1,196, 971, 1.475 และ 662 ครั้งตามลำดับ โดยภาคใต้ มีอัตราจำนวนครั้งที่จับจ่ายเติบโตสูงสุด

เมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมการจับจ่ายในช่วงเวลาสั้น ๆ เฉพาะไตรมาส 3 ของปีนี้ สถิติจำนวนครั้งที่จับจ่าย (Shopping Trip) ของกลุ่มผู้บริโภคเขตภาคเหนือ และ ภาคใต้ ยังคงอยู่ในระดับเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปีที่แล้ว ขณะที่ ผู้บริโภคในภาคอีสาน และ กรุงเทพปริมณฑลกลับมีอัตราลดลง ถึงแม้ว่าผลสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นจาก 67.8 ในเดือนเมษายน มาเป็น 79.2 ในเดือนกันยายน 2557 นี้ ก็ตาม ปรากฏว่าสถิติจำนวนครั้งที่จับจ่ายของประชากรเกือบทุกภาคทั่วประเทศนั้นไม่ได้ขยายตัวตามดัชนีความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า ผู้บริโภคเริ่มเห็นสัญญาณแนวโน้มที่จะดีขึ้นในอนาคต แต่ยังคงระมัดระวังในการใช้จ่ายเงิน เช่นเดิม

พฤติกรรมการจับจ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ของคนไทยมีแนวโน้มขยายตัวอย่างเด่นชัด อย่างไรก็ตามตลาดยังคงเป็นช่องทางขนาดเล็ก

บริษัท กันตาร์ เวิร์ลพาแนล (ไทยแลนด์) พบว่า สถิติจำนวนครั้งของการจับจ่ายสินค้าอุปโภค-บริโภค ผ่านช่องทางออนไลน์นั้น มีอัตราส่วนเพียง 0.1% ของทุกช่องทางปกติโดยรวม โดยกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ 0.05% เป็นการใช้บริการออนไลน์ของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมจะเห็นว่าความนิยมในการจับจ่ายผ่านช่องทางออนไลน์มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในระดับภูมิภาคเอเชีย ประเทศเกาหลีใต้ถือเป็นประเทศที่มีการพัฒนาในด้านของระบบ อีคอมเมิร์ช สูงสุด โดยสัดส่วนการซื้อขายของช่องทางออนไลน์ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคสูงถึง 10% ในปัจจุบันช่องทางการซื้อขายทางออนไลน์ในประเทศไทยยังมีขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามช่องทางนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่มีศักยภาพ และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้เติบโตยิ่งขึ้นได้ในอนาคต

ร้านโชห่วยอีสานโตสูงสุด....ตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ต“จำนวนครั้งที่จับจ่าย (Shopping Trip)” ไม่กระเตื้อง

ช่องทางร้านโชห่วย (Provisional Store or Mom & Pop) นั้น ยังคงเป็นช่องทางยอดนิยม ซึ่งครองสัดส่วนจำนวนครั้งที่จับจ่าย สูงกือบทุกภูมิภาค ยกเว้น เขตกรุงเทพ-ปริมณฑล โดยภูมิภาคที่ครองสถิติจับจ่ายผ่านช่องทางร้านโชห่วยสูงสุดคือภาคอีสาน ร้านสะดวกซื้อมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะ ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ที่มีการขยายสาขาเกือบทั่วทุกภูมิภาค จึงสามารถครองสัดส่วนการตลาด ในแง่ของจำนวนครั้งที่จับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งยังรวมถึงการจับจ่ายของคนกรุง ที่นิยมซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคผ่านร้านเซเว่น-อีเลฟเว่นแทนการเดินทางไปซื้อยังร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ร้านสะดวกซื้อ เซเว่น-อีเลฟเว่น จึงยึดครองสถิติส่วนแบ่ง จำนวนครั้งที่ผู้บริโภคเข้าไปจับจ่ายสูงถึง 36% จากส่วนแบ่งรวมทุกช่องทาง ในขณะที่ ช่องทาง ไฮเปอร์ มาร์เก็ต ไม่สามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายชาวไทยที่เป็นคนกรุงเทพและคนภาคกลาง ให้หันมาใช้บริการช่องทางนี้ได้อย่างเช่นเคย จึงทำให้ไม่สามารถเพิ่มจำนวนครั้งที่จับจ่ายของผู้บริโภคได้และยังคงอยู่ในระดับเดิม ที่ 6% ปัจจัยสำคัญเกิดจากสภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรงของช่องทางค้าปลีกทุกรูปแบบในเขตกรุงเทพและภาคกลาง

HTML::image(
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit