รู้ทันมะเร็ง…หายได้ ถ้ารู้ไว

20 Jun 2014
ในพ็อกเก็ตบุ๊ก เรื่อง รู้ทันโรคภัยกับราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แพทย์แห่งประเทศไทย ในเรื่อง “มะเร็ง ...หายได้ ถ้ารู้ไว” โดยมะเร็งวิทยาสมาคมแคมแห่งประเทศไทย นั้นโรคมะเร็งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ปีหนึ่งๆ มีคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งเป็นจำนวนมาก และโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยเป็นลำดับแรก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่ากว่าจะตรวจพบก็เป็นระยะลุกลามมากแล้ว หากเราสามารถตรวจพบโรคมะเร็งได้ในระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมกับการรักษาเสริมวิธีอื่น ๆ เช่น การให้ยาเคมีบำบัด หรือการฉายรังสีเสริม หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมีโอกาสหายขาดได้ เราจะตรวจหาโรคมะเร็งระยะเริ่มแรกได้อย่างไร และโรคมะเร็งชนิดใดบ้างที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ มีวิธีการตรวจใดบ้าง คำถามเหล่านี้มักถูกถามอยู่เสมอ ว่า อาการอะไรที่ชวนสงสัยว่าจะเป็นโรคมะเร็ง ?1. ท้องผูกเรื้อรัง อุจจาระมีสีดำหรือมีเลือดปน ปัสสาวะ มีเลือดปน2. เป็นแผลเรื้อรังนานกว่า 3 สัปดาห์ เช่น แผลเรื้อรังในปาก3. มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ทางจมูกบ่อย ๆ4. มีก้อนผิดปกติที่เต้านม ที่คอ ในท้อง หรือตำแหน่งต่าง ๆ ในร่มผ้า5. ท้องอืดหรือแน่นท้องเรื้อรัง กลืนลำบาก6. มีไฝ หรือจุดดำตามร่างกายที่โตเร็ว หรือมีเลือดออก7. ไอเรื้อรัง หรือมีเสียงแหบหากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว อาจจะทำให้ตรวจพบโรคมะเร็งได้ทันท่วงที แต่ถ้าแข็งแรงดี การตรวจหามะเร็งจะมีประโยชน์หรือไม่ ? อันที่จริงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเป็นการตรวจที่แนะนำแก่ประชาชนทั่วไป เพื่อค้นหามะเร็งที่พบบ่อย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญ ตรวจแล้วได้ประโยชน์สามารถลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้ เช่น การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก ฯลฯ

ลองมาดูการตรวจคัดกรองมะเร็งแต่ละชนิดกันดีกว่า

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคที่พบบ่อยเป็นลำดับแรกในหญิงไทย โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ ปีละประมาณ 12,000 ราย และเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งเป็นลำดับที่สามรองจากมะเร็งตับและมะเร็งปอด โรคมะเร็งเต้านมพบบ่อยในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยระยะเริ่มแรก มักคลำพบก้อนที่เต้านมโดยบังเอิญส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บที่ก้อนในระยะเริ่มแรก แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษาจะมีอาการบวมแดงของผิวหนังตรงที่มีก้อน หรือเป็นแผลแตก มีน้ำเหลืองไหลซึมในที่สุด ถ้าพบตั้งแต่ขนาดเล็ก ๆ อาจรักษาได้ ด้วยการผ่าตัดออกเฉพาะก้อน โดยสามารถเก็บรักษาเต้านมเอาไว้ได้ ทั้งนี้ วิธีคัดกรองมะเร็งเต้านมทำได้ 3 วิธี ได้แก่ 1. การตรวจภาพถ่ายรังสีเต้านมที่เรียกว่า การทำแมมโมแกรม (Mammography) เป็นวิธีที่มีความไว และความแม่นยำสูง หญิงไทยควรเริ่มตรวจแมมโมแกรม เมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไป โดยตรวจเป็นประจำทุก 1-2 ปี จนกระทั่งอายุ 70 ปี 2. การตรวจสุขภาพประจำปีแล้วให้แพทย์หรือพยาบาลคลำเต้านมให้ (Clinical Breast Examination) ในช่วงอายุ 20-39 ปี เมื่อไปตรวจสุขภาพประจำปี ควรให้แพทย์หรือพยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรมการตรวจเต้านม คลำเต้านมให้ทุก 3 ปี เมื่อถึงช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรให้แพทย์หรือพยาบาล ช่วยคลำเต้านมให้ทุก ๆ ปี และ 3. การตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน (Breast Self- Examination) ควรเริ่มต้นตรวจด้วยตนเองเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป เลือกตรวจเต้านมภายหลังรอบเดือนหมดไปแล้ว 2-3 วัน (ไม่ควรตรวจในช่วงก่อนมีรอบเดือน เพราะช่วงนั้นเต้านมจะคัดตึงอาจทำให้ร้สึกคล้ายมีก้อนแข็งผิดปกติได้ อาจทำก่อนหรือหลังอาบน้ำอาบน้ำ

ขั้นแรก ยืนตรงหน้ากระจกเงา เอามือสองข้างท้าวเอว แล้วมองดูเต้านมตนเองจากกระจกเงาว่า มีความผิดปกติ เช่น บวมเฉพาะที่ มีรอยแดง หรือมีแผลที่เต้านม หรือไม่ ขั้นที่สอง ให้ยกแขนสองข้างชูขึ้นเหนือศีรษะ แล้วสังเกตดูเต้านมตัวเองในกระจกอีกครั้ง ว่ามีความผิดปกติของผิวหนังบริเวณเต้านมหรือไม่ (เช่น ผิวหนังนูนขึ้น หรือยุบลงเมื่อยกแขน) ขั้นที่สาม ใช้ปลายนิ้วมือคลำเต้านมด้านตรงข้ามให้ทั่ว ควรคลำ ไปถึงบริเวณรักแร้เพื่อดูว่ามีต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้โตหรือไม่ ในผู้หญิงที่มีญาติสายตรง เช่น พี่สาว แม่ ป้า หรือน้า เป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะถ้าอายุที่เริ่มเป็นน้อยกว่า 40 ปี อาจมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม ชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Hereditary Breast Cancer) ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองเร็วขึ้น เช่น เริ่มมาให้แพทย์ตรวจเต้านม และทำแมมโมแกรม หรือ MRI breast เมื่ออายุ 25 ปี

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูกพบบ่อยเป็นลำดับที่สามในหญิงไทย (รองจากมะเร็งเต้านม และมะเร็งตับ) มีผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 10,000 ราย ในสมัยก่อนผู้ป่วย มักตรวจพบเนื่องจากมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด โดยเฉพาะหลังมีเพศสัมพันธ์แต่ถ้าจะตรวจให้พบตั้งแต่เริ่มแรก ทำได้โดยการตรวจภายใน ร่วมกับการป้ายเอาเซลล์บริเวณปากมดลูกไปตรวจ ซึ่งเรียกว่า การทำแปบเสมียร์ (Pap smear) ควรเริ่มตรวจเมื่อไร : ผู้หญิงที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์แล้ว สามารถตรวจคัดกรองได้เลย หรือเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 21 ปี ผู้หญิงอายุ 21-29 ปี ควรตรวจภายในและทำแปบเสมียร์ทุก 3 ปี ในกรณีที่ไม่พบความผิดปกติ ส่วนผู้หญิงอายุ 30-65 ปี ควรตรวจภายในและทำแปบเสมียร์ทุก 5 ปี กรณีผู้ที่เคยถูกตัดมดลูก (Hysterectomy) ด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีทำแปบเสมียร์อีก แต่สูตินารีแพทย์ยังอาจแนะนำให้มาตรวจภายใน เพื่อตรวจหาความผิดปกติของรังไข่หรืออวัยวะสืบพันธุ์บริเวณอื่นๆ

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่พบบ่อยเป็นลำ ดับสามในชายไทย และพบเป็นลำ ดับห้าในหญิงไทย โรคนี้จะพบมากขึ้นในคนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยอาการของโรคมักไม่จำ เพาะเจาะจง เช่น แน่นท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องผูก อุจจาระมีเลือดปน หรือโลหิตจาง อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นในระยะที่เป็นมากแล้ว ดังนั้นจึงปลอดภัยกว่า ถ้าเข้ารับการตรวจคัดกรองตั้งแต่ยังไม่มีอาการผิดปกติ ควรเริ่มตรวจในคนที่มีความเสี่ยงปานกลาง (หมายถึงผู้ที่ไม่มีประวัติ คนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่) ควรเริ่มตรวจคัดกรองเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป วิธีตรวจขั้นต้น คือการตรวจหาเลือดที่อาจออกจากก้อนมะเร็งปนออกมากับอุจจาระ เรียกว่า การตรวจ Fecal Occult Blood Test เริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง โดยตรวจเป็นประจำปีละครั้ง

ข้อควรระมัดระวัง : ก่อนตรวจหาเลือดที่ปนออกมาในอุจจาระ ควรงดกินอาหารประเภทเลือดหมู เลือดเป็ด หรือยาที่อาจทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร เช่น แอสไพริน ยาแก้ปวดข้อชนิดต่าง ๆ อย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ก่อนวันเก็บอุจจาระ ส่งตรวจ เพราะอาจเกิดผลบวกลวง ทำให้อาจต้องส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เพื่อยืนยันว่ามีมะเร็งลำไส้หรือไม่ ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่ม โดยไม่จำเป็น หากตรวจพบเลือดปนในอุจจาระ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม ด้วยวิธีการสวนแป้งแล้วเอ็กซเรย์ดูลำไส้ใหญ่ (Double contrast barium enema) หรือการส่องกล้องเพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

สำหรับคนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง หรือมีญาติ สายตรงป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป ควรเริ่มตรวจคัดกรองก่อนอายุ 50 ปี หรือควรเริ่มตรวจเมื่ออายุน้อยกว่าอายุของญาติที่พบว่าเริ่มเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ 5 ปี และควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางมะเร็งวิทยาหรือทางพันธุศาสตร์ เพื่อขอคำแนะนำการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นกรณีพิเศษ

การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบมากลำดับสี่ในชายไทย แต่ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีการดำเนินโรคไปช้า ๆ ไม่รุนแรง หลายรายเสียชีวิตเพราะอายุมากขึ้นหรือจากโรคประจำตัวอื่น ๆ เลยเกิดข้อสงสัยว่า ถ้าตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากระยะเริ่มแรกจะช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากมะเร็งได้หรือไม่ ในสหรัฐอเมริกา แนะนำให้เริ่มตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมากตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป วิธีการตรวจใช้วิธีการเจาะเลือดดูระดับค่าสารบ่งชี้มะเร็ง PSA (Prostatic Specific Antigen) และให้แพทย์ตรวจโดยการใช้นิ้วคลำต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Digital Rectal Examination) โดย ข้อจำกัดของการตรวจค่า PSA จะมี ดังนี้ คือ 1. ค่า PSA อาจไม่สูงผิดปกติในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะเริ่มแรกในบางราย 2. ค่า PSA อาจสูงผิดปกติในผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมลูกหมากอักเสบ หรือต่อมลูกหมากโตธรรมดา (Benign Prostatic Hypertrophy) เมื่อผลเลือด PSA สูงผิดปกติแพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ โดยการตัดชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากมาตรวจหาเซลล์มะเร็ง ซึ่งการใช้เข็มตัดชิ้นเนื้อก็ยังมีข้อจำกัด คือ บางรายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจริง แต่อาจตัดไม่ตรงตำแหน่งนั้น ทำให้ไม่พบเซลล์มะเร็ง ดังนั้นเมื่อตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจคัดกรอง ไม่ได้แปลว่า เป็นโรคมะเร็งแน่นอนแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจอื่น ๆ เพื่อยืนยันอีกครั้ง

ช่วงอายุ lสรุป ชายวัยตั้งแต่ 20-49 ปี ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ ชายอายุ 50 ปีขึ้นไปซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ตรวจเลือดที่ปนมาในอุจจาระ ถ้าตรวจพบเลือดในอุจจาระแพทย์จะสั่งทำ การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เช่น Colonoscopy หญิง อายุ 20-39 ปี ตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ รวมถึงการคลำเต้านมโดยแพทย์ การตรวจภายในและแปบเสมียร์ ทุก 3 ปี หญิง อายุ 40-49 ปี ตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ รวมถึงการคลำ เต้านมโดยแพทย์ปีละครั้ง ตรวจภายในและแปบเสมียร์ทุก 5 ปี ทำ แมมโมแกรมทุก 1-2 ปี หญิง อายุ 50 ปีขึ้นไป ตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ รวมถึงการคลำ เต้านมโดยแพทย์ปีละครั้ง ตรวจเลือดที่ปนมาในอุจจาระปีละครั้ง ตรวจภายในและแปบเสมียร์ทุก 5 ปี ทำ แมมโมแกรมทุก 1-2 ปี ถ้าตรวจพบเลือดในอุจจาระแพทย์จะสั่งทำ การส่องกล้อง ตรวจลำ ไส้ใหญ่ เช่น Colonoscopy

การป้องกันโรคมะเร็ง สำหรับคนทั่วไปที่ยังไม่ได้เป็นโรคมะเร็งก็น่าจะรู้วิธีป้องกันตนเองไว้ เพื่อลดความเสี่ยง รวมไปถึงคนที่เคยเป็นมะเร็งแล้วรักษาหายแล้ว หรือคนที่มีโอกาสเสี่ยงควรปฏิบัติตนดังนี้ งดบริโภคสารก่อมะเร็ง เช่น ปลาน้ำจืดดิบ บุหรี่ สุรา – กินผักผลไม้เป็นประจำทุกวัน ลดการบริโภคอาหารไขมันสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และ HPV (Human papilloma virus) ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำควบคู่ไปกับการตรวจคัดกรอง เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

สำหรับ บทความเรื่องนี้ ตีพิมพ์ใน หนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ก “รู้ทันโรคภัย กับราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ” ราคาเล่มละ 50 บาท (ค่าจัดส่งทางไปรษณีย์เล่มละ 35 บาท) และ “คิดเองทำได้ ห่างไกลโรค” ราคาเล่มละ 60 บาท (ค่าจัดส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนเล่มละ 35 บาท) หน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐและเอกชนหรือผู้สนใจทั่วไป มีความประสงค์ที่จะสั่งซื้อเพื่อนำมาอ่านหรือนำมาแจกจ่ายที่กิจกรรมเพื่อสุขภาพต่าง ๆ สั่งซื้อได้โดย โอนเงินผ่านบัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 043-2-74623-0 ชื่อบัญชี " ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย " ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แล้วแนบหลักฐานการโอนเงินพร้อมแจ้งรายละเอียดดังนี้ ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ จำนวนหนังสือที่สั่งซื้อ พร้อมแจ้งที่อยู่ของท่านสำหรับจัดส่งหนังสือ แล้วส่งข้อมูลมาที่ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ชั้น 7 เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 หรือแจ้งผ่าน E-mail ที่ [email protected] สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 0 2716 6744 ต่อ