1.อัลกอฮอล์ เพิ่มความร้อนให้กับร่างกายได้โดยตรงจากฤทธิ์ของอัลกอฮอล์ นอกจากนั้นยังไปเพิ่มร้อนให้กับตับโดยแกล้งให้ทำงานหนักจนเครื่องร้อน มีกระบวนการอักเสบเกิดขึ้นในตัวเราจากการที่ต้องล้างพิษเหล้า ซึ่งเปลืองเอนไซม์มากมายมหาศาลถึง 2 เด้ง จนที่สุดแล้วผลลัพธ์ก็คือของเสียที่เป็นขยะพิษอันตรายต่อร่างกายอยู่ดี ส่วนที่มีอาการร้อนวูบวาบหลังดื่มนั้นเป็นสัญญานที่ไม่ดีนักเพราะเส้นเลือดขยาย และยิ่งได้อากาศร้อนรอบตัวก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยง ช็อคแดดคาวงเหล้าได้มาก
2.กาแฟ และเครื่องดื่มคาเฟอีนมีส่วนทำให้ร่างกายเพลียแดดได้ง่ายขึ้นจากฤทธิ์ของคาเฟอีนที่ ขับน้ำ ทำให้ต้องปัสสาวะ ส่งผลต่อร่างกายในช่วงที่เผชิญอากาศร้อนจัดต้องขาดสิ่งสำคัญที่ช่วยดับร้อนไปนั่นก็คือน้ำ ร่างกายจึงเพลียแดดได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังมีเคมีไปกระตุ้นถึงแต่ละอณูสมองจึงทำให้เกิดอาการกระวนกระวายใจสั่นได้ เทคนิคคือเลี่ยงดื่มกาแฟมากในวันที่ต้องทำงานกลางแจ้งหรือถ้าดื่มกาแฟก็ให้ดื่มน้ำตามเข้าไปช่วยอีกแรงครับ
3.ขนมหวาน ของที่มีน้ำตาล ทั้งลูกอม ขนมเค้ก ข้าวเหนียวมะม่วงฯลฯ จะขนมไทยหรือขนมฝรั่งที่อุดมไปด้วยน้ำตาลจะทำให้เกิดการเผาผลาญสร้างความร้อนขึ้นมา นอกจากนั้นยังปล่อยขยะที่เกิดจากการเผาผลาญออกมาทำร้ายร่างกายอีกด้วย โดยปกติน้ำตาลที่มากเกินไปจะทำให้เกิดกระบวนการเป็นพิษต่อร่างกายอยู่แล้ว เมื่อร่างกายต้องเผชิญกับความร้อนจากภายนอกด้วยจึงเป็นเสมือนรับศึก 2 ด้านจนอ่วม
4.ของทอดของมัน รวมถึงนมเนยในปริมาณมาก ซึ่งอาหารประเภทนี้มีความร้อนที่อาจมาจาก น้ำมัน ที่ใช้ทอดซึ่งมีส่วนทำให้ร่างกายร้อน ได้จากไฟอักเสบของกรดไขมันโอเมก้า 6 ในปริมาณมหาศาล นอกจากนั้นยังมีไขมันมฤตยูที่ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบได้อีกคือทรานส์แฟ็ตเป็นไขมันที่สร้างความเดือดร้อนให้ร่างกายพอดูถึงในระดับอณูของหลอดเลือดและหัวใจทีเดียวครับ มีที่มาจากอาหารมันที่ทอดซ้ำหรือมีการใช้ไขมันปรุงแต่งทั้งหลายอย่างวิปครีม,ครีมเทียมครับ
5.ของเค็ม อาหารเค็มส่งผลต่อร่างกายในหน้าร้อนตรงที่ความเค็มหรือโซเดียมนั้นผลักให้ไตทำงานหนัก ความดันสูงขึ้นทั้งที่หน้าร้อนนี้ไตก็ต้องทำงานเหนื่อยพอแรงอยู่แล้วจากการที่ต้องสงวนน้ำ อันมีค่าไว้ในร่างกายเพื่อช่วยหล่อเลี้ยงอวัยวะและขับเหงื่อดับร้อน ซึ่งเมื่อมีของเค็มอย่างน้ำปลาซีอิ๊ว กะปิ เกลือหรือขนมกรุบกรอบรสเค็มทั้งหลายเข้าไปอีกจึงเป็นการกดดันให้ไตทำงานหนักขึ้นอีกทวีคูณ ซึ่งในการดูแลร่างกายในหน้าร้อน จึงขอให้รับประทานอย่างพอดีโดยใช้เทคนิคกะง่ายๆคือน้ำปลาไม่เกิน 1 ช้อนโต๊ะหรือถ้าเป็นเกลือก็ไม่เกิน 1 ช้อนชา ส่วนอาหารก็ไม่ควรปรุงเค็มเพิ่ม
6.ทุเรียน ละมุด ขนุน ลำไย ผลไม้ที่ฉ่ำน้ำตาลเหล่านี้ทานได้แต่ต้องไม่มากไปเพราะมีน้ำตาลที่พาให้ร้อนอยู่ตัวหนึ่ง คือ ฟรุกโตส ซึ่งมีส่วนในการสร้างอนุมูลอิสระและไขมันในร่างกาย และยิ่งกับทุเรียนยิ่งแล้วเพราะมีแร่ธาตุร้อนระอุตัวสำคัญอยู่คือ กำมะถัน ซึ่งแทรกอยู่ในแทบทุกอณูเนื้อของทุเรียนในรูปของสารประกอบกำมะถัน ดังนั้นการกินทุเรียนในหน้าร้อนจึงควรกินพอประมาณ รวมถึงผลไม้รสหวานจันด้วยครับแล้วจะทำให้ไม่เกิดปรากฏการณ์ร้อนในหรือเรื่องร้อนต่อสุขภาพมากจนเกินไป
7.น้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวาน การดื่มเครื่องดื่มหวานจัดเย็นเจี๊ยบช่วงหน้าร้อนในบางครั้งคราวอาจช่วยให้ความสดชื่นได้ แต่ถ้าดื่มบ่อยไปอย่างในเด็กที่อาจไปเลือกซื้อเองจากร้านสะดวกซื้อบ่อยครั้งนั้นจะส่งผลต่อสุขภาพได้ แม้ผู้ใหญ่ที่ดื่มบ่อยก็เช่นกัน ส่วนสำคัญที่ต้องระวังคือ น้ำตาลขอให้สังเกตคำว่าฟรุกโตส ซูโครส HFCS ที่ดื่มครั้งหนึ่งอาจพาให้ได้น้ำตาลเกินโควต้าต่อวัน กับ กรดซ่า หรือคาร์บอนิกที่ตัวสร้างความซาบซ่าชื่นใจก็มีฤทธิ์กัดกร่อนเคลือบฟันได้ ดื่มบ่อยๆจึงไม่ดีนักและน้ำตาลก็ยิ่งชวนให้กระหายน้ำมากขึ้น
น.พ.กฤษดา กล่าวว่า ของกินทั้ง 7 อย่างช่วงหน้าร้อนนี้จะมีส่วนในการเพิ่มร้อนหรือบางอย่างอาจไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้ขึ้นอยู่กับตัวท่านเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามหากรับประทานในทุกครั้งที่ปรารถนาเช่นดื่มน้ำหวานดับร้อนวันละหลายๆขวดหรือออกไปเจอร้อนเมื่อไรก็เข้าร้านสะดวกซื้อดื่มทุกครั้งก็จะส่งผลที่ไม่ต้องการต่อสุขภาพในหน้าร้อนนี้ได้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit