งานวิจัยของแอมดอกซ์ชี้ ร้อยละ 98 ของ การใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันเป็นการรับส่งข้อมูล

22 Apr 2014
งานวิจัยสะท้อนให้เห็นความจำเป็นในการพัฒนาเครือข่ายให้มีขนาดใหญ่และมีระบบระเบียบ เพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่าย ในขณะที่การนำ LTE มาใช้จะช่วยยกระดับประสบการณ์ลูกค้า แต่ไม่ได้ขับเคลื่อนพฤติกรรมใหม่ในการใช้งาน

แอมดอกซ์ (Amdocs) ผู้ให้บริการชั้นนำด้านระบบบริการลูกค้า เปิดเผยผลงานวิจัยใหม่ในหัวข้อ ปริมาณการใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ซึ่งแสดงให้เห็นการเปลี่ยนจากยุคแห่งการรับส่งสัญญาณเสียง (voice) ไปเป็นการรับส่งข้อมูล (data) เกือบจะทั้งหมดแล้ว โดยข้อมูลเด่นๆ จากการวิจัยสะท้อนให้เห็น ความเร่งด่วนที่บรรดาผู้ให้บริการเครือข่าย (service provider) จะต้องสร้างและเพิ่มพูนประสิทธิภาพของ เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเครือข่ายนั้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าและเสริมสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่ๆ

งานวิจัยประจำปีภายใต้ชื่อ State of the Radio Access Network (RAN) Survey1 ได้ทำการสำรวจโทรศัพท์มือถือกว่า 100,000 เครื่องจากจุดที่มีการใช้งานหนาแน่นที่สุดทั่วโลกในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยการวิเคราะห์การเชื่อมต่อเพื่อรับส่งสัญญาณเสียงและข้อมูลมากกว่า 4 ล้านครั้ง เครือข่าย RAN (radio access network) ดังกล่าวได้จัดให้มีการเชื่อมต่อการสื่อสารไร้สายสำหรับโทรศัพท์และแท็บเล็ตโดยใช้การผสมผสานกันของเทคโนโลยี ซึ่งได้แก่ เซลล์ไซต์ขนาดเล็กและมาโครเซลล์ และใช้ทั้งเครือข่าย 3G, 4G (LTE) และ Wi-Fi (สำหรับรับส่งข้อมูล)

ข้อมูลที่น่าสนใจ ได้แก่:

  • สัดส่วนของการใช้งานเครือข่ายเพื่อการสื่อสารข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 98 - เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 90 ในช่วง 12 เดือนก่อนหน้านี้ อัตราการเติบโตสะท้อนให้เห็นถึงการใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้และแบ่งปันคอนเทนต์
  • ความต้องการข้อมูลส่งผลให้จำนวนสายหลุดเพิ่มขึ้น: การใช้งานในสถานที่ที่แออัดเป็นสิ่งที่กดดันเครือข่ายมือถือ เพราะนำไปสู่​​ปัญหาที่ลูกค้าประสบที่นับวัน จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากบางที่มีการใช้ข้อมูลมากๆ ปัญหาที่ตามมาก็คือปริมาณสายหลุด (ทั้งในส่วนของดาต้า และวอยซ์) ที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 121 โดยจุดที่มีการใช้ดาต้าอย่างหนาแน่นที่สุดมีจำนวนสายหลุดคิดเป็นร้อยละ 17 แม้ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการโหลดข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งแบกรับภาระโดยเครือข่าย RAN ซึ่งลูกค้าแต่ละรายอาจได้รับผลกระทบบ่อยครั้ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับเครื่องโทรศัพท์มือถือที่เลือกใช้ด้วย
  • LTE (4G) ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ลูกค้า (customer experience) แต่ไม่ได้เพิ่มอัตราการใช้บริการรับส่งข้อมูลมากมายนัก: เวลาที่ LTE รับส่งข้อมูลใช้เวลาน้อยกว่าเครือข่าย 3G ถึงครึ่งหนึ่ง การใช้บริการรับส่งข้อมูล (data experience) จึงคล้ายกับการใช้งานบรอดแบนด์ตามบ้าน แม้ว่า LTE จะช่วยผลักดันให้ผู้ใช้ บริโภคข้อมูลเพิ่มขึ้น แต่การใช้บริการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายที่มีแบนด์วิธสูงๆ (เช่น วิดีโอ) กลับไม่ได้เพิ่มตาม แสดงให้เห็นว่า รูปแบบการใช้งาน ซึ่งอาจถูกจำกัดโดยแพ็คเกจบริการ (data plan) ยังคงไม่ค่อยจะแตกต่างจากเครือข่าย 3G
  • ปริมาณการรับส่งข้อมูลกลายเป็นที่มาหลักของประเด็นปัญหาของผู้ใช้บริการ (subscriber): ปัญหาจุกจิกกวนใจที่ลูกค้ามักประสบ ได้แก่ เครือข่ายการสื่อสารข้อมูลไม่ครอบคลุมในที่ที่ไป (ร้อยละ 47); การจำกัดเพดานการใช้งานรายเดือน (ร้อยละ 30) และค่าใช้จ่ายในการดาวน์โหลด (ร้อยละ 16)2
  • ปริมาณการโทรเข้าโทรออกในอาคารมีการเติบโตมากขึ้น: แม้การใช้งานโทรศัพท์มือถือในส่วนของพูดคุยปกติ (voice call) จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 แต่ส่วนใหญ่จะมาจากการโทรคุยในอาคาร บ้าน หรือสถานที่ มากกว่าอยู่ข้างนอก โดยคิดเป็นร้อยละ 33 ทั้งนี้เนื่องจากผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่อยู่ในอาคารจะมีการใช้ดาต้าน้อยลงถึง ร้อยละ 50 การเปลี่ยนแปลงนี้นับว่ามีผลต่อการยกระดับประสบการณ์ลูกค้าอย่างยิ่ง

"การวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การเข้าสู่ยุค LTE/4G ช่วยสร้างโอกาสในการยกระดับประสบการณ์และความพึงพอใจลูกค้า โดยไม่ต้องเพิ่มความต้องการใช้งานข้อมูลอย่างมหาศาล" รีเบคก้า พรูดออม รองประธานฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของแอมดอกซ์ กล่าว "ผู้ให้บริการจำเป็นต้องตอบโจทย์ความท้าทายนี้ โดยเริ่มวางแผน และเพิ่มประสิทธิภาพโซลูชั่นเพื่อจัดการฐานลูกค้าที่ใช้งานสม่ำเสมอ ที่ปัจจุบันมีมากขึ้น โดยไม่ได้จำกัดแค่ต้องการรับส่งข้อมูลเท่านั้น แต่ต้องเน้นการรับส่งและแชร์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ด้วย"

แอมดอกซ์มีโซลูชั่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจของเครือข่ายให้เลือกอย่างครบครัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผู้ให้บริการสามารถส่งมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องกับความต้องการและตรงกลุ่มผู้ใช้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ โดยผ่านการบูรณาการของโซลูชั่นเครือข่ายของแอมดอกซ์ และความเป็นผู้นำในตลาด B/OSS แอมดอกซ์ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถนำเสนอประสบการณ์ลูกค้าที่ครบครันเป็นองค์รวม โซลูชั่นดังกล่าว ได้แก่ Amdocs Self-Optimizing Networks solution, Amdocs Small Cell solution และ Amdocs Smart Net solution an ซึ่งจัดอยู่ในประเภท อินเทลลิเจนท์ ไวไฟ ออฟโหลด โซลูชั่น

1 การวิเคราะห์ของแอมดอกซ์ในส่วนของบริการสื่อสารข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือ 100,000 เครื่องในยุโรป ละตินอเมริกา อเมริกาเหนือ และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

2 จากงานวิจัย On Device Research ซึ่งดำเนินการในนามของแอมดอกซ์ ตุลาคม 2556

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

  • ดาวน์โหลด State of the Radio Access Network (RAN) Survey
  • อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่น Amdocs Self-Optimizing Networks solution, Amdocs Small Cell และโซลูชั่น Amdocs Smart Net
  • ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับแอมดอกซ์ได้ที่ เว็บไซต์ ของบริษัท
  • สมัครรับข่าวสาร RSS Feed ของแอมดอกซ์ และติดตามความเคลื่อนไหวทาง Twitter, Facebook, Google+, LinkedIn และ YouTube

เกี่ยวกับแอมดอกซ์

กว่า 30 ปี แอมดอกซ์ช่วยให้ผู้ให้บริการ (service provider) ก้าวสู่ความสำเร็จและฟันฝ่าความท้าทายต่างๆ ได้ และเพื่อให้ได้ชัยชนะในโลกแห่งการสื่อสาร (connected world) ผู้ให้บริการต่างเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของแอมดอกซ์เพื่อลดความซับซ้อนของการบริการลูกค้า จัดการปริมาณข้อมูลมหาศาล ก้าวล้ำนำหน้าด้วยบริการใหม่ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ในฐานะบริษัทชั้นนำระดับโลก แอมดอกซ์ผสานขอบข่ายผลิตภัณฑ์ด้าน BSS, OSS และ network control เข้ากับบริการแบบมืออาชีพที่ให้ความคุ้มค่าและการดำเนินงานด้าน managed services ได้อย่างดีเยี่ยม

แอมดอกซ์มีรายได้ 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีการเงิน 2013 ปัจจุบันแอมดอกซ์และพนักงาน 21,000 คนให้บริการลูกค้าในกว่า 70 ประเทศทั่วโลก ภายใต้สโลแกน Amdocs: Embrace Challenge, Experience Success.

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.amdocs.com

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit