มายด์แชร์ชี้ขาขึ้นการตลาดมัลติสกรีนรับมือความคาดหวังของผู้บริโภคไตรมาส 2-4

23 Apr 2014
2557 ปีแห่งโอกาสในการสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภคด้วยอแด๊ปทีฟมาร์เก็ตติ้งเน้นให้ความสำคัญของการสร้าง Owned และ Earned มีเดีย ควบคู่กลยุทธ์ Paid มีเดีย
มายด์แชร์ชี้ขาขึ้นการตลาดมัลติสกรีนรับมือความคาดหวังของผู้บริโภคไตรมาส 2-4

มายด์แชร์ เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสาร เผยในวันนี้ถึงโอกาสในการสร้างแบรนด์ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว เน้นการใช้กลยุทธ์ มัลติสกรีน (Multi-screen) เพื่อตอบรับคาดหวังของผู้บริโภคและพฤติกรรมการรับชมพร้อมกันหลายสื่อในเวลาเดียวกัน โดยความท้าทายของนักการตลาดในปีนี้คือกลยุทธ์การเลือกใช้สื่อใหม่และมีความหลากหลายด้วยเทคโนโลยีใหม่ให้เกิดประสิทธิผล เน้นให้ความสำคัญของการสร้าง Owned และ Earned มีเดีย ควบคู่กลยุทธ์ Paid มีเดีย ย้ำเป็นโอกาสของแบรนด์ในการทำการตลาดที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้รู้สึกว่าผู้บริโภคเป็นคนดีขึ้นทั้งด้านร่างกายและจิตใจในปีนี้

ปัทมวรรณ สถาพร – กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ กล่าวว่า “เราเชื่อมั่นว่าช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวเป็นโอกาสและเป็นความท้าทายของแบรนด์ในการขับเคลื่อนธุรกิจไปในทางบวก โดยแนวคิดอแด๊ปทีฟ (Adaptive) หรือความสามารถในการปรับตัวของแบรนด์ต่อยุคสมัย ต่อโอกาสทางการตลาดและต่อความท้าทายใหม่จะเป็นคำตอบในปีนี้ เพราะการเข้ามาของสื่อใหม่และเทคโนโลยีทางการตลาดใหม่ๆเช่น วีถีชีวิตบนสมารท์โฟนและการเปลี่ยนถ่ายสู่ยุคดิจิตอลทีวีจะนำไปสู่ยุคของการตลาดแบบมัลติสกรีน (Multi-Screen) และถึงเวลาแล้วที่นักการตลาดจะพลิกมุมมองการใช้สื่อแบบ Paid มีเดีย ให้สามารถที่จะต่อยอด Owned มีเดีย ของแบรนด์ และการสร้าง Earned มีเดียต่อไป สุดท้ายการคิดแบบอแด๊ปทีฟจะมีความสำคัญในการปรับการเรียนรู้ เพื่อต่อยอดและปรับให้สอดรับกับความต้องการของเฉพาะบุคคล เพื่อรับมือกับความคาดหวังที่มากขึ้นของผู้บริโภคในปีนี้”

มายด์แชร์ยังได้ให้มุมมองต่อการตลาดสำหรับไตรมาสที่ 2-3 ดังต่อไปนี้

  • ภาพรวมอุลสาหกรรมโฆษณาในไตรมาสที่หนึ่ง โตประมาณ 1.8% (รวมเคเบิ้ลและแซทเทิ้ลไลท์) คาดว่าอุตสาหกรรมโฆษณาจะโตรวม 4-6% ในสิ้นปี พ.ศ. 2557
  • แพลตฟอร์มที่มีบทบาทเด่นชัดในปีนี้คือ มือถือสมารท์โฟน และทีวี (ฟรีทีวี เคเบิ้ล แซตเทิ้ลไลท์และดิจิตอลทีวี)
  • ดิจิตอลทีวีคาดว่าจะโตเป็น 10% จากสัดส่วนการรับชมทีวีทั้งหมดภายในสิ้นปี และจากการเปลี่ยนถ่ายสู่ระบบดิจิตอลทีวี และไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคจะทำให้เข้าสู่ยุคของมัลติสกรีนที่ชัดเจนขึ้น การทำการตลาดและการวัดผลต้องคำนึงถึงสองมุมมองหลัก ในด้านความคุ้มค่าในการลงทุน (Cost effectiveness) และด้านคุณภาพของรายการ (Quality of Content) ในช่องหรือแพลต์ฟอร์มนั้นๆ เพราะผู้ชมในประเทศให้ความสำคัญกับเนื้อหารายการที่รับชมมากขึ้น โดยแบรนด์ควรที่จะวัดคุณภาพของรายการนอกเหนือจากเรื่องAwareness และรวมไปถึง Engagement ที่นำสู่ Owned และ Earned media จาก พฤติกรรมการรับชมทีวี และอารมณ์ของผู้รับชมเนื้อหารายการ

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภคในปีนี้ คือ

  • การเข้าถึงดิจิตอลทีวี จะทำให้ผู้บริโภคได้เลือกเนื้อหาที่ตนเองสนใจตามเวลาที่ต้องการ ดังนั้นการผลิตเนื้อหารายการที่ดีในช่องทางเดิมและช่องทางใหม่ๆ จะส่งผลให้การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายดีขึ้นโดยธรรมชาติ
  • ไลฟสไตล์ในการใช้สมารท์โฟน ทำให้ผู้บริโภคไม่มีความอดทนในการรอที่จะบริโภคเนื้อหาที่ต้องใช้เวลาในการเข้าถึงและต้องใช้เวลาในการสื่อสารนานๆ ดังนั้นความท้าทายของแบรนด์คือจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคเข้าถึงเนื้อหาต่างๆของแบรนด์ได้อย่างรวดเร็วที่สุด และสามารถที่จะดึงความสนใจของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว

ความต้องการรับข้อมูลข่าวสารของผู้บริโภคที่มากขึ้นจะมาในรูปแบบของความต้องการเนื้อหาที่เป็นภาพ เป็นวีดีโอ สติ๊กเกอร์ หรือแม้แต่ อินโฟกราฟฟิก แบรนด์จึงต้องปรับกระบวนการสื่อสารที่ผสมผสานให้ลงตัวระหว่างข้อมูลเนื้อหาต่างๆและภาพ

ถึงแม้ผู้บริโภคจะมีความเป็นปัจเจก แต่ก็ยังมีความเป็นกลุ่มโดยเลือกที่จะแสดงความคิดเห็นผ่านสัญลักษณ์ต่างๆเช่น โลโก้ สี รูปโปรไฟล์ หากแบรนด์ไหนสามารถเข้าถึงความต้องการลึกๆของกลุ่มผู้บริโภคและสามารถสร้างสร้างสัญลักษณ์ของกลุ่มเพื่อผู้บริโภคจะได้เปรียบในการสื่อสาร

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบายในทุกทางถึงแม้จะชอบความสบายแต่ผู้บริโภครู้สึกว่าความสะดวกสบายนั้นเป็น นิสัยที่ไม่ดี และต้องปรับตัวให้ดีขึ้น ดังนั้นผู้บริโภคมองหาแบรนด์หรือสินค้าและบริการที่จะเป็นผู้ชี้นำหนทางให้ผู้บริโภคได้เป็นคนใหม่ที่ดีขึ้น ทั้งด้านการพัฒนาร่างกายและความคิด