ปี 2553 ณ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ได้มีการจัดการประชุมเสือโคร่งระดับโลก (Tiger Summit) โดยประเทศที่มีการแพร่กระจายของเสือโคร่งได้ให้กำหนดเป้าหมาย: ‘TX2’ กล่าวคือจะร่วมกันอนุรักษ์และเพิ่มประชากรเสือโคร่งได้ให้เป็นสองเท่าของจำนวนประชากรในปัจจุบัน ภายในปี 2565 ซึ่งปัจจุบันเชื่อว่าประชากรเสือโคร่งทั่วโลกเหลือเพียง 3,200 ตัวเท่านั้น
“ตัวเลขนี้เป็นเพียงค่าประมาณการ” Michael Baltzer ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการ WWF Tigers Alive Initiative กล่าว “ในปี 2553 หลายประเทศยังไม่ได้ดำเนินการสำรวจประชากรเสือโคร่ง แต่ปัจจุบันมีหลายประเทศได้ดำเนินการแล้วและจำนวนหนึ่งกำลังทำการสำรวจอยู่ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยเติมเต็มช่องว่างทางองค์ความรู้ได้เพราะพวกเราไม่มีทางรู้ว่าวิธีใดดีที่สุดที่จะปกป้องเสือโคร่งจนกว่าเราจะรู้ว่าพวกมันมีจำนวนเท่าไหร่และอาศัยอยู่ที่ไหนบ้าง”
การล่าเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดสำหรับเสือโคร่งในปัจจุบัน ชิ้นส่วนของเสือโคร่งมีความต้องการอย่างมากในตลาดการค้าสัตว์ป่าของเอเชียรองจากปัญหาการค้างาช้างและนอแรด ข้อมูลสถิติจากองค์กร TRAFFIC เครือข่ายตรวจสอบการค้าสัตว์ป่าแสดงให้เห็นว่ามีซากเสือโคร่งอย่างน้อยจำนวน 1,590 ตัวถูกยึดระหว่างเดือนมกราคม 2543 ถึงเมษายน 2557 หรือประมาณ 2 ตัวต่อสัปดาห์ อัตราการล่านี้มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและเป็นที่น่ากังวลว่าประเทศที่ไม่ได้ทำการสำรวจประชากรเสือโคร่งภายในประเทศอาจสูญเสียเสือโคร่งเหล่านั้นโดยไม่ทราบว่ามีการล่าเกิดขึ้น และนี้เป็นสถานการณ์จริงในบางประเทศที่กำลังเผชิญอยู่
ประชากรเสือโคร่งธรรมชาติในปัจจุบันทราบจำนวนแน่ชัดแล้วของกลุ่มประชากรในประเทศอินเดีย เนปาล และรัสเซีย ซึ่งมีการสำรวจอย่างสม่ำเสมอ และจะทราบเพิ่มเติมเร็วๆนี้ของกลุ่มประชากรในประเทศภูฎาน บังกลาเทศ และจีน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการสำรวจ สำหรับกลุ่มประชากรเสือโคร่งในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนามยังคงไม่มีตัวเลขแน่ชัด
WWF ได้ร้องขอให้ประเทศเหล่านี้มีการทำสำรวจประชากรเสือโคร่งโดยเร่งด่วน การสำรวจเสือโคร่งระดับประเทศนั้นใช้เวลาประมาณ 6-12 เดือนในการวางแผนและออกแบบการสำรวจ และใช้เวลาอีกอย่างน้อย 1 ปีในการดำเนินการสำรวจ ดังนั้น การสำรวจจึงจำเป็นต้องเริ่มต้นตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อให้ท้นต่อการเผยแพร่ตัวเลขประชากรเสือโคร่งในธรรมชาติภายในปี 2559 จุดกึ่งกลางของเป้าหมาย TX2
“เราดำเนินการมาเป็นระยะเวลาประมาณหนึ่งในสามของระยะทางสู่เป้าหมายในปี 2565 แล้วและเราต้องก้าวให้เร็วขึ้นและมุ่งมั่นมากขึ้น ถ้าเราคาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย TX2” Baltzer กล่าว
การสำรวจเสือโคร่งนั้นจะใช้การระบุตัวจากลายแถบสีดำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเสือแต่ละตัวเช่นดียวกับลายนิ้วมือของมนุษย์ การสำรวจทำให้เราทราบข้อมูลประชากรเสือโคร่ง ตำแหน่งที่อยู่อาศัย และภัยคุกคาม การสำรวจที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าเสือโคร่งที่อาศัยอยู่ภายนอกพื้นที่คุ้มครองหรือเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างพื้นที่คุ้มครองผ่านเส้นทางเชื่อมต่อ (corridor) ที่ก่อนหน้านี้ไม่มีข้อมูลและไม่มีการคุ้มครอง เมื่อมีข้อมูลดังกล่าวนี้ทำให้รัฐบาลสามารถป้องกันการล่าเสือโคร่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ*********
การสำรวจเสือโคร่งนั้นมีการลงทุนสูงและใช้แรงงานมาก อีกทั้งพื้นที่ศึกษามักอยู่ในบริเวณที่มีภูมิประเทศที่ยากลำบากและสภาพอากาศที่ท้าทาย ปัจจัยเหล่านี้เป็นอุปสรรคทำให้รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นได้ อย่างไรก็ตามการลงทุนที่ได้ผลลัพธ์น้อยและกลุ่มองค์กรไม่แสวงผลกำไร (NGOs) มีความเต็มใจที่จะร่วมงานกับรัฐบาลเพื่อแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญทางเทคนิคและการสรรหาแหล่งทุนที่มีประสิทธิภาพจากองค์กรให้ทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมเอกชนและองค์กรนานาชาติ
เสือโคร่งกำลังใกล้สูญพันธุ์ ประชาการเสือโคร่งในธรรมชาติลดลงถึง 97% ภายในช่วงไม่กี่ร้อยปีมานี้ WWF เป็นแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังการประชุมเสือโคร่งระดับโลก (Tiger Summit) และยังเป็นแรงผลักดันที่สำคัญเบื้องหลังเป้าหมาย TX2 เพื่อเพิ่มประชากรเสือโคร่งอีกด้วย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit