บ๊อซ โชว์ผลประกอบการปี 2013

06 Aug 2014
บ๊อซ โชว์ผลประกอบการปี 2013 ยอดขายรวมเกินทะลุเป้า เติบโตอย่างมั่นคงในประเทศไทย รุกขยายเปิดสายผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เพิ่มเติม
  • ยอดขายรวม 10,000 ล้านบาท ในปี 2556
  • ขยายโรงงาน กลุ่มผลิตภัณฑ์ บริการและตลาด
  • มุ่งเน้นหัวใจสำคัญในการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยการการกระจายความเสี่ยงและพัฒนาทักษะแรงงานท้องถิ่น

โรเบิร์ต บ๊อช เผยตัวเลขปี 2556 มียอดขายในตลาดประเทศไทยเติบโตร้อยละ 16 มูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท (247 ล้านยูโร ) และประเทศไทยยังคงคว้าตำแหน่งยอดขายสูงสุดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับ บ๊อช ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและบริการระดับโลก ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการขยายการจ้างงานในประเทศร้อยละ 15 เพื่อสอดรับกับการเติบโตทางธุรกิจโดยปัจจุบัน บ๊อช ในประเทศไทยมีพนักงานอยู่จำนวน 620 คน “ประเทศไทยยังคงเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของ บ็อซ ที่เรามุ่งมั่นพัฒนาสินค้าและบริการตลอดจนการลงทุนในประเทศ” โจเซฟ ฮอง กรรมการผู้จัดการ โรเบิร์ต บ็อซ ประเทศไทย กล่าว

ภายใต้การลงทุนในระบบโครงสร้างหลัก การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของอัตราการบริโภคสินค้า และบทบาทสำคัญของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมรถยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ทำให้ บ๊อซ ยังคงมองภาพบวกสำหรับสถานการณ์ธุรกิจในปี 2557 และคาดหวังการเติบโตอย่างเหมาะสมตามลำดับ

ขยายธุรกิจทั่วประเทศไทย

ในปี 2556 ธุรกิจเทคโนโลยียานยนต์ (The Automotive Technology) ของ บ๊อซ ยังคงเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ให้กับ บ๊อช ในประเทศไทยมากที่สุด ซึ่งภายในปีนี้ การดำเนินการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่อมตะซิตี้จังหวัดระยองจะแล้วเสร็จ และจะเริ่มเดินเครื่องเปิดสายการผลิตชิ้นส่วนเกี่ยวกับระบบแก๊สโซลีน นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มระบบแชสซีส ซึ่งกำลังขยายฐานการผลิตระบบเบรกป้องกันล้อล็อกและระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวของรถมีแผนจะเริ่มต้นการผลิตในปลายปี 2557 เช่นกัน ส่วนธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์หลังการขาย ได้ขยายการให้บริการไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในกลุ่มผลิตภัณฑ์เบรก ไส้กรองและหัวเทียน ปัจจุบันศูนย์ให้บริการรถยนต์ในแบรนด์บ๊อซ ได้เปิดให้บริการแล้ว 25 แห่งทั่วประเทศ

นอกจากนี้ธุรกิจอื่นๆ ของ บ๊อซ ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ของตนในประเทศไทย เช่น ฝ่ายเทคโนโลยีขับเคลื่อนและควบคุม (Drive and Control) มีการเติบโตอย่างมั่นคงจากโครงการภาคเอกชนและอัตราความต้องการที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในกลุ่มโครงสร้างไฟฟ้า อีกทั้งในกลุ่มชิ้นส่วนและระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม อุปกรณ์เคลื่อนที่ และพลังงานทดแทน ยังคงขยายการให้บริการหลังการขายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับฝ่ายเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ (Packaging Technology) ที่เพิ่มการให้บริการหลังการขายสำหรับโซลูชั่นบรรจุภัณฑ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและขนม จากการดำเนินงานในระดับภูมิภาคโดยมีฐานหลักอยู่ที่ชลบุรี

ฝ่ายเครื่องมือไฟฟ้า (Power Tool) ยังคงรักษาอัตราการเติบโตระดับเลขสองหลักได้อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ห้า โดยส่วนสำคัญที่สร้างการเติบโตคือการเปิดตัวผลิตภัณฑ์เครื่องมืออเนกประสงค์ Dremel สำหรับงานช่างฝีมือ และภายในสิ้นปี 2557 จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์เพิ่มอีก 50 รายการภายใต้แบรนด์ที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดเครื่องมือช่างที่ต้องการเครื่องมือที่ทนทานและมีความแม่นยำที่เพิ่มสูงขึ้น

ฝ่ายระบบรักษาความปลอดภัย (Security System) ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์โซลูชั่นโทรทัศน์วงจรปิดในตระกูล Advantage Line เพื่อเสริมจุดแข็งในตลาดระดับกลาง ฝ่ายเทคโนโลยีระบบความร้อน (Thermo Technology) ได้เข้าเปิดตลาดในกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์และอุตสาหรรมยา ตลอดจนสร้างการรับรู้ของตลาดด้านเทคโนโลยีเตาเผาที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและหม้อต้มด้วยพลังงานชีวมวล บ๊อซ ยังคงเสริมผลิตภัณฑ์และบริการให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นในปี 2557 ด้วยการเปิดตัว Bosch Power Tec ในประเทศไทย เพื่อดำเนินธุรกิจมุ่งเน้นการพัฒนาและจัดจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับการใช้พลังงานทดแทน

พัฒนาทักษะบุคลากรท้องถิ่นเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืน

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556 เป็นต้นมา บ๊อซ ได้ริเริ่มโครงการฝึกงานและพัฒนาทักษะด้านเมคคาทรอนิกส์บ๊อช หรือ Bosch Mechatronics Apprenticeship Program (BMAP) ปัจจุบันโครงการได้ดำเนินงานมาเกินกว่าครึ่งของโปรแกรมการฝึกงานในระยะเวลาสองปี โดยโครงการแรกนี้มีนักเรียนร่วมโครงการอยู่สามคน ซึ่งได้รับการฝึกฝนเพื่อนำความรู้เชิงทฤษฎีไปใช้ในสถานการจริงได้อย่างเหมาะสม โดยได้ฝึกงานที่โรงงานผลิตเทคโนโลยีด้านบรรจุภัณฑ์ของ บ๊อซ ที่ชลบุรี

เมื่อเข้าสู่ปีที่สองในการฝึก นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนเสริมทักษะและความเชี่ยวชาญในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น และมีโอกาสสับเปลี่ยนหมุนเวียนการฝึกงานในหลากหลายหน้าที่ ตัวอย่างเช่น งานด้านโลจิสติก งานการบริหารจัดการคลังสินค้า หรืองานการควบคุมคุณภาพในโรงงานเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทย

“บ๊อช ทั่วโลกต่างมีโปรแกรมการฝึกงานที่ผู้ฝึกได้รับการเสริมสร้างทักษะอย่างยอดเยี่ยมมานานนับศตวรรษ เราจึงมีความมั่นใจในหลักสูตรการฝึกของเราในประเทศไทยที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมและสร้างทักษะให้กับบุคลากรในประเทศไทย” คุณโจเซฟ กล่าว “บ๊อช ยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายการดำเนินงาน และเสริมสร้างทักษะให้กับบุคคลากรในประเทศไทย เพื่อรองรับการดำเนินงานในอุตสาหกรรมไฮเทคของบริษัทต่อไป”

สนับสนุนการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม

ในปี 2557 บ๊อซได้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการของเดินสายจัดแสดงบัลเล่ย์คณะ Stuttgart Ballet ในกรุงเทพ โดยคณะบัลเล่ย์นี้ถือเป็นหนึ่งในคณะแสดงที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ด้านการเต้นรำนานาชาติมายาวนานกว่า 50 ปี โดยการแสดงจะเริ่มขึ้นในช่วงวันที่ 25-26 ตุลาคม 2557 โดยเป็นส่วนหนึ่งในงานมหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติ กรุงเทพฯ ครั้งที่ 16

บ๊อซมุ่งเน้นการเติบโตอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บ๊อซ มีรายได้รวมตลอดปี 2556 ทั้งสิ้น 629 ล้านยูโร ซึ่งมียอดขายใกล้เคียงกับปีก่อน โดยหากรวมบริษัทย่อยอื่นๆ ของบ๊อซ จะมียอดขายรวมสุทธิมูลค่า 1.4 พันล้านยูโร เมื่อเทียบปีต่อปีแล้วยอดขายเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทได้ริเริ่มเปิดตลาดในประเทศเปิดใหม่ อาทิ กัมพูชา ลาวและพม่า และได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอินโดนีเซีย ประเทศไทยและฟิลิปปินส์ ดังนั้นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงยังคงเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญสำหรับ บ๊อซ

ภาพรวมกลุ่มธุรกิจบ๊อซในปี 2557

บ๊อซ คาดหวังยอดขายทั่วโลกเติบโตในอัตราร้อยละ 3-5 และในปี 2557 ผลิตภัณฑ์ที่พร้อมเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและบริการบนอินเทอร์เน็ต (Internet-enabled products and internet-based services) คือ หนึ่งในเป้าหมายธุรกิจแห่งอนาคตของบริษัท ด้วยความรู้ด้านฮาร์ดแวร์และประสบการณ์ความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีและบริการพร้อมก้าวสู่แนวทางนี้เช่นกัน “จุดแข็งที่โดดเด่นของ บ็อซ คือ นวัตกรรมที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานสูงอยู่ในตลาดทั่วโลก และแรงผลักดันจากวัฒนธรรมองค์กรของ บ็อซ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในยุคที่ทุกชีวิตเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน” ดร. โฟล์คมาร์ เดนเนอร์ ประธานคณะกรรมการบริหารของกลุ่มบ๊อช กล่าว นอกจากนี้บ๊อชเป็นผู้นำตลาดในกลุ่มไมโครเมคคานิคอล เซ็นเซอร์ (MEMS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ต่างๆ สู่โลกอินเทอร์เน็ต เซ็นเซอร์นี้ช่วยสร้างเทคโนโลยีรูปแบบใหม่สำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน ให้ก้าวเข้าสู่ความเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น การขับรถโดยอัตโนมัติ บ้านอัจฉริยะ เป็นต้น กลยุทธ์ของบ๊อซคือการสร้างโซลูชั่นที่จะเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมโยงการผลิต เชื่อมโยงระบบพลังงานและระบบควบคุมอาคารเข้าด้วยกัน เป็นต้น

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit