“เรากำลังนำพาบริษัทให้ก้าวสู่การทำธุรกิจสีเขียวที่มีความยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อสร้างความสำเร็จเชิงธุรกิจในระยะยาว และร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปด้วยในเวลาเดียวกัน โดยเราวางเป้าหมายที่จะสร้างความสมดุลในทุก ๆ ด้านทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม” มร.ยูทากะ มิยาจิ ประธานบริษัท เอ็นวายเค ไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
แผน “เน็กซ์ อินโนเวชั่น” คือแผนกลยุทธ์ที่จะช่วยผลักดันให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 150% ภายในเวลา 5 ปีข้างหน้าเพื่อก้าวสู่การทำธุรกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน โดนแผนนี้เป็นการ “ปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิด” (Change of Mind) ที่รวมเอาไอเดียสร้างสรรค์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ท้าทายในธุรกิจ การมาถึงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการรับมือกับสภาวะเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก เพื่อเป้าหมายในการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน
“เราสร้างสรรค์ “โปรเจคพันล้าน” (Billion Goal Project) เพื่อตั้งเป้าหมายรายรับไว้ที่ 1 หมื่นล้านบาทภายในเวลา 5 ปี โดยปีที่ผ่านมาเรามีรายรับ 7,000 ล้านบาท (1เมษายน2013-31มีนาคม2014) เราตั้งเป้าเพิ่มรายได้จากบริการขนส่งทางเรือเดินสมุทร (Ocean Freight Forwarding: OFF) ขึ้นอีก 200% คิดเป็นจำนวน 40,000 คอนเทนเนอร์ เพิ่มส่วนแบ่งตลาดจากบริการขนส่งทางอากาศ (Air Freight Forwarding: AFF) ขึ้นเป็น 7% เพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บคอนเทนเนอร์ขึ้นอีก 150% เป็น 400,000 ตารางเมตรภายในปี 2561 เพิ่มจำนวนรถบรรทุกของเราเองเป็น 1,000 คัน และเพิ่มรถบรรทุกรับจ้างเป็น 1,500-1,600 คันต่อวัน” มร.ฮิโรชิ มานิวะ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูเซ็น โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
มร.มานิวะ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อบรรลุเป้าหมายในการเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจสีเขียว ยูเซ็น โลจิสติกส์ยังได้จัดให้มีโครงการ “คาร์บอนสมดุล” โดยทำงานใน 2 ด้านได้แก่ ด้านการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นทั่วทั้งธุรกิจและตลอดกระบวนการดำเนินธุรกิจ ครอบคลุมทั้งในเรื่องการผลิตสินค้าและบริการ โดยบริษัทได้เริ่มแผนการจัดการระบบขนส่ง แบบประหยัดพลังงานที่มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเปลี่ยนรถบรรทุก ที่ใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งบริษัทใช้งานอยู่จำนวน 50% ไปเป็นรถบรรทุกที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวี ปรับปรุงประสิทธิภาพของซัพพลายเชนเพื่อป้องกันการสูญเสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็น ซึ่งจะนำไปสู่การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ พร้อมไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจซึ่งจะส่งผลดีต่อลูกค้า นอกจากนั้นแวร์เฮ้าส์เราได้ปรับเปลี่ยนเป็นหลอด LED และหลังคาใสเพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน และมีโครงการที่จะเปลี่ยนหลังคาเป็นโซลาร์ เซลล์ในอนาคตส่วนอีกด้านหนึ่งคือการเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งกับพนักงานของบริษัทและกับประชาชนทั่วไปผ่านการปลูกป่าทดแทน และลดการเกิดขยะ
“การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญซึ่ง ยูเซ็น โลจิสติกส์ ทั้งในฐานะองค์กรระดับโลก และในฐานะองค์กรเอกชนในประเทศไทย เราเล็งเห็นความสำคัญ ของการต้องเข้ามาจัดการกับปัญหานี้อย่างจริงจังเพื่อลูกหลานของเราในอนาคตข้างหน้า” มร.มานิวะ กล่าวเพิ่มเติม
“การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญมาเป็นเวลาเกือบ 1 ทศวรรษแล้ว โดยเฉพาะในกระบวนการปฏิบัติงานของเรา ซึ่งเราได้ตรวจวัดและควบคุมปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงของโลก ส่งเสริมการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้ความรู้และผลักดันให้พนักงานมีความตระหนักรู้ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ตลอดจนการจัดการป่าไม้และระบบนิเวศ อย่างยั่งยืนเพื่อขจัด ก๊าซเรือนกระจกออกไปจากชั้นบรรยากาศ”
จากความผันผวนและความท้าทายทางการเมืองและเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา มร.มินาวะ กล่าวว่า “ปี 2557 จะเป็นปีแห่งความเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยพบกับความผันผวนในหลายด้านนับตั้งแต่ปี 2552 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา นับจากที่เคยเติบโต แบบก้าวกระโดด สู่ยุคเศรษฐกิจถดถอย เรามองว่านับแต่นี้เศรษฐกิจของประเทศไทย จะขยายตัว ด้วยอัตราคงที่ประมาณ 4-5% ในแต่ละปีหากไม่มีเหตุการณ์ใดๆ มากระทบอีกโดยจุดแข็งของเราคือคุณภาพการให้บริการ ราคาที่คุ้มค่าแก่ลูกค้าและความปลอดภัยของสินค้าและการเดินทาง”
“เราใช้โอกาสนี้ในการตรวจสอบตนเอง ซึ่งหากเราจะฟันฝ่าสภาวะการแข่งขันสูงของตลาดได้สำเร็จ เราจะต้องใช้กลยุทธ์สร้างสรรค์ที่ต้องการความร่วมมือจากทั้งผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับต้นของบริษัท ที่จะเข้ามาร่วมทำงานด้วยแผนกลยุทธ์ที่เราให้ชื่อว่า “เน็กซ์ อินโนเวชั่น” รวบรวมไอเดียต่าง ๆ เกี่ยวกับการสร้างความสำเร็จในงานทั้งด้านการเพิ่มยอดขายและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยให้พนักงานตั้งแต่ระดับล่างจนถึงระดับสูงได้มีส่วนร่วม ส่วนการปรับทัศนคติ “เปลี่ยนความคิด” (Change Your Mind attitude) นั้นพนักงานทุกคนจะต้องนำไปปฏิบัติ โดยพนักงานทุกคน ไม่ใช่แค่ทีมขาย แต่ต้องรวมถึงพนักงานบริหารส่วนบริหารจัดการอื่น ๆ ต้องรู้จักคิดวางแผนอย่างมีกลยุทธ์ ทั้งนี้ เราจะมีการแต่งตั้งทีมบริหารมืออาชีพเข้ามาเพิ่มเติมด้วย”
“และเมื่อเราปรับมาใช้ทัศนคติแบบ “เปลี่ยนความคิด” นั่นหมายความว่าเราทุกคนต้องมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ของธุรกิจและในแง่ของการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ดังนั้นการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของเราเองนั้นจึงไม่เป็นแค่การจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการนำเรื่องจริยธรรมในการทำงาน การใช้ทรัพยากรต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจน ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานของเรากับผู้คนในสังคมอีกด้วย ในอนาคตเรามีแผนที่จะติดตั้ง แผ่นรับพลังงานแสงอาทิตย์ที่โกดังของเราทั่วประเทศ ทั้งนี้ เรายังรอความชัดเจนของนโยบายของรัฐ เกี่ยวกับการสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกนี้ด้วย” มร.มินาวะ กล่าวสรุป
โครงการคาร์บอนสมดุล เป็นโครงการปลูกป่าทดแทนระยะเวลา 20 ปีที่เริ่มต้นขึ้น เพื่อช่วยปรับสมดุล ของสภาวะอากาศที่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ โดยปีนี้เป็นปีที่ 8 ของการทำ กิจกรรมปลูกป่าทดแทน จัดขึ้นในวันที่ 2 สิงหาคม 2557 โดยบริษัทได้เลือกปลูกป่าที่อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม 80 ไร่ ใช้กล้าไม้เบญจพรรณ 16,000 ต้นประกอบด้วย ไม้ประดูป่า มะค่าโมง กันเกรา ยางนา พะยูง มะฮอกกานี ตะเคียนทอง สำโรง กฤษณา และไม้เเดง ได้รับความร่วมมือจาก สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ เขต 9 ชลบุรี สังกัดกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น โรงเรียนในพื้นที่ และพนักงานบริษัทเอ็นวายเค กรุ๊ป (ประเทศไทย) กว่า 350 คน
นับจากปี 2550 บริษัทฯ ได้ทำการปลูกป่าทดแทนไปแล้วมากกว่า 605 ไร่ โดยแบ่งเป็นในช่วงปี 2550-2553 ที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นจำนวน 325 ไร่ ปี 2544-2546 ที่จังหวัดชลบุรีรวม 200 ไร่ และในปี 2557 นี้ บริษัท ยูเซ็น โลจิสติกส์ วางเป้าหมายไว้ที่ 80 ไร่ ซึ่งภายใต้การจัดทำโครงการนี้ ยูเซ็น โลจิสติกส์ จะเข้าไปดูแลทั้งในเรื่องของการปลูกป่าทดแทน การดูแลต้นไม้ที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ และการป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่าด้วย นอกจากนั้นเรายังมีโครงการอื่นๆที่เราทำมาโดยตลอดทั้งการบริจาคโลหิตและมอบทุนการศึกษา
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit