แขนหุ่นยนต์รุ่น UR5 และ UR10 รุ่นใหม่นี้ มาพร้อมฟีเจอร์ใหม่มากมาย และยังคงรักษารูปแบบการใช้งานที่ง่ายและสะดวก แขนหุ่นยนต์แบบ 6 ข้อต่อสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 5-10 กิโลกรัมเหมือนรุ่นเดิม แต่ภายในแขนหุ่นยนต์นี้ได้ซ่อนคอนโทรลเลอร์ใหม่ๆ ไว้มากมาย
“ยูนิเวอร์แซล โรบอตส์ เป็นผู้ผลิตแขนหุ่นยนต์น้ำหนักเบารายเดียวที่มีประสบการณ์ยาวนานครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรม ในการพัฒนาขั้นที่ 3 นี้ แผนกพัฒนาและวิจัยของเราทุ่มเทอย่างหนักเพื่อค้นคว้าวิจัย โดยอาศัยข้อมูลฟีดแบ็กจากผู้ใช้งาน” เอนริโก้ คร็อก ไอเวอร์เซ่น ซีอีโอของยูนิเวอร์แซล โรบอตส์ กล่าวนวัตกรรมใหม่ประกอบด้วย
True Absolute Encoder
นวัตกรรมหลักของหุ่นยนต์รุ่นใหม่นี้ คือ True Absolute Encoder ซึ่งพัฒนาให้แขนหุ่นยนต์พร้อมทำงานได้เร็วขึ้นเมื่อเปิดใช้งาน สามารถกำหนดจุดโพซิชั่นทันทีหลังเปิดเครื่อง กำจัดการจ้อกกิ้งระหว่างขั้นตอนการเตรียมการเปิดใช้งานแขนหุ่นยนต์ ด้วยความสามารถดังกล่าวนี้ จึงทำให้ UR5 และ UR 10 เป็นแขนหุ่นยนต์ที่สามารถเปิดใช้งานได้โดยอัตโนมัติโดยไม่ใช้แบตเตอรี่“นวัตกรรม True Absolute Encoder ทำให้แขนหุ่นยนต์ของเราสามารถทำงานเข้ากันกับเครื่องจักรอื่นๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น การเปิดใช้ง่ายเร็วและง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก เหสมะสำหรับทุกแอพพลิเคชั่น” เอสเบน เอช ออสเตอร์การ์ด ซีทีโอของยูนิเวอร์แซล โรบอตส์ กล่าว
Patented: Adjustable Safety System
ในการพัฒนาขั้น 3 นี้ การตั้งค่าความปลอดภัยของหุ่นยนต์น้ำหนักเบา สามารถปรับแต่งค่าได้ตามความต้องการใช้งาน แขนหุ่นยนต์สามารถทำงานในโหมดปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยได้พร้อมกันถึง 2 โหมด คือโหมดทั่วไป และโหมดย่อ โดยมีสวิตช์เพื่อควบคุมการตั้งค่าขณะปฏิบัติงานด้วย ระบบความปลอดภัยใหม่ซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตรเรียบร้อย สามารถมอนิเตอร์การทำงานของฟังก์ชั่นความปลอดภัยทั้ง 8 ฟังก์ชั่นได้ ได้แก่ ตำแหน่งข้อต่อและความเร็ว ตำแหน่ง TCP การปรับทิศทาง ความเร็ว ความแรง โมเมนตัม และความสามารถของหุ่นยนต์ การตั้งค่านี้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยจะต้องใส่รหัสผ่านเพื่อดำเนินการ ฟังก์ชั่นเพื่อความปลอดภัยนี้ผ่านมาตรฐาน PLd และได้รับการรับรองจาก TÜV
“แนวคิดด้านความปลอดภัยของเราซึ่งได้รับสิทธิบัตรใหม่นี้ เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากแขนหุ่นยนต์รุ่นก่อน หุ่นยนต์ UR5 และ UR10 รุ่นใหม่นี้ สามารถทำงานได้ในโหลดที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีคนงานเดินเข้าไปยังส่วนการทำงานของหุ่นยนต์ หุ่นยนต์จะเปลี่ยนไปทำงานในโหมดย่อ และจะกลับมาทำงานด้วยความเร็วเต็มพิกัดเมื่อคนงานเดินออกนอกบริเวณไปแล้ว หรือกรณีที่หุ่นยนต์สามารถทำงานด้วยความเร็วสูงสุดในเครื่อง CNC และเปลี่ยนเป็นโหมดย่อเมื่อทำงานนอกเครื่อง CNC เป็นต้น” เอสเบน เอช ออสเตอร์การ์ด ซีทีโอของยูนิเวอร์แซล โรบอตส์ กล่าว
TÜV Certification of UR safety 3.0
ระบบความปลอดภัย UR Safety 3.0 ของหุ่นยนต์รุ่นใหม่นี้ ได้รับการรับรองจาก TÜV Nord และผ่านการทดสอบมาตรฐานอุตสาหกรรม EN ISO 13849:2008 PL d และ EN ISO 10218-1:2011, Clause 5.4.3
นวัตกรรมอื่นๆ
เพิ่มอุปกรณ์อินพุตเอาต์พุตแบบดิจิตอลอีก 16 ชิ้น ซึ่งสามารถตั้งค่าใช้งานได้ง่ายผ่านสัญญาณดิจิตอลหรือสัญญาณความปลอดภัยก็ได้ กล่องควบคุมการทำงานได้รับการออกแบบใหม่ นอกจากนี้ตัวคอลโทรเลอร์ยังได้รับการปรับปรุงใหม่เช่นกัน
เน้นความคล่องตัวและใช้งานง่าย
แขนหุ่นยนต์รุ่น UR5 และ UR 10 เป็นหุ่นยนต์ 6 ข้อต่อที่คุ้มค่าการลงทุน และเหมาะกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ด้วยน้ำหนักที่เบาและการสั่งการที่สะดวกง่ายดายผ่านจอสัมผัส ผู้ใช้งานจึงสามารถสั่งการให้ทำงานตามแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องมีขั้นตอนการฝึกอบรมที่ยุ่งยากซับซ้อน หรือใช้ความรู้ทางเทคนิคเชิงลึกแต่อย่างใด
“แขนหุ่นยนต์ที่มีความคล่องตัวของยูนิเวอร์แซล โรบอตส์ ทำให้เราสามารถขยายกลุ่มเป้าหมายได้กว้าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในเครื่อง CNC ในบริษัทที่มีพนักงานขนาด 10 คน หรือใช้ในขั้นตอนการติดกาวในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น เห็นได้ชัดว่า ทุกคนจะได้รับประโยชน์จากหุ่นยนต์ เพราะหุ่นยนต์สามารถทำงานอันตรายแทนมนุษย์ได้” เอนริโก้ คร็อก ไอเวอร์เซ่น ซีอีโอของยูนิเวอร์แซล โรบอตส์ กล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit