นายสาคร ชนะไพฑูรย์ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (ขวา) และ นายมะสะฮิโร โอฮาระ รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่ง
มหาวิทยาลัยฮอกไกโด (ซ้าย) ร่วมเปิด
นิทรรศการ “เทคโนโลยีเลียนแบบ
ธรรมชาติ (Biomimetics)”
งานวิจัยระดับแนวหน้าของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการศึกษาสรีรวิทยาและกลไกของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ เพื่อนำมาพัฒนาเป็นเทคโนโลยีด้านต่างๆ ทั้งนี้ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติและพิพิธภัณฑ์แห่งมหาวิทยาลัยฮอกไกโด ได้ลงนามในข้อตกลงระหว่างพิพิธภัณฑ์เมื่อปี 2555 ในการวิจัยและแลกเปลี่ยนผลการวิจัย ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนนิทรรศการร่วมกันหลายครั้ง อาทิ นิทรรศการสาหร่ายของพิพิธภัณฑ์แห่งมหาวิทยาลัยฮอกไกโด ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปีที่แล้ว และ
อพวช. ได้จัดนิทรรศการจระเข้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งมหาวิทยาลัยฮอกไกโด อีกด้วย
Biomemitics คือ “เทคโนโลยีเลียนแบบธรรมชาติ” เป็นการศึกษาสรีรวิทยาและกลไกของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ เพื่อนำมาพัฒนาเป็นเทคโนโลยี อาทิ
- ด้วงกว่างญี่ปุ่น สามารถสร้างเขาและปีกได้ในอุณหภูมิปกติ ไม่ต้องใช้พลังงานใดๆ ซึ่งอาจสามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้านพลังงานได้
- แมลงทับสกุล สามารถตรวจจับรังสีอินฟราเรดจากความร้อนจากไฟไหม้ป่าได้ถึง 50 กิโลเมตร ทำให้รอดพ้นจากการถูกไฟไหม้
- ชุดว่ายน้ำที่เลียนแบบเมือกบนผิวปลาทูน่าเพื่อลดแรงเสียดทานเมื่อว่ายน้ำ
- ร่มและเสื้อกันฝนที่เลียนแบบการไม่ดูดซับน้ำของใบบัว
- แถบยึดติด (Velcro) ที่เลียนแบบตีนตุ๊กแกที่สามารถยึดเกาะวัตถุได้ดีขึ้น
พบกับ นิทรรศการเทคโนโลยีเลียนแบบธรรมชาติ (Biomimetics) ได้ที่โซนต่างประเทศ มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2557 เข้าชมงานฟรี โดยมีรถประจำทางรับส่งจากเซ็นทรัลแอร์พอร์ต และโลตัสคำเที่ยง มาถึงศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ เวลา 09:00 – 20:00 น. ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 28 สิงหาคม นี้เท่านั้น