“ Green Bioprocess Engineering” กระแสพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ Thailand LAB 2014

23 Jul 2014
ไทยเป็นประเทศศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียนที่ เล็งเห็นความสำคัญและศักยภาพของเทคโนโลยีชีวภาพในการพัฒนาประเทศ จะเห็นได้ว่าในอดีต ได้จัดตั้งศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพไปใช้ประโยชน์ในทุกๆด้านของประเทศ
“ Green Bioprocess Engineering” กระแสพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ Thailand LAB 2014

นอกจากไบโอเทคแล้ว ในส่วนของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังมีการจัดตั้งสำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพนำมาใช้ปรับปรุงและขยายพันธุ์พืช

สำหรับสถาบันการศึกษาภาครัฐ ต่างสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นต้น ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพมีการนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน

เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร

การพัฒนาพันธุ์พืชให้ต้านทานศัตรูพืช โรคพืช การเพิ่มความทนทานของพืชต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ความแห้งแล้ง และอุทกภัย การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้ากว่าปกติเพื่อลดความเสียหายในระหว่างการขนส่ง การเพิ่มผลผลิตพืชโดยไม่ต้องขยายพื้นที่

เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อสุขภาพ

การผลิตวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค และมีการใช้กว่า 10 ล้านโดสต่อปี ทั่วโลก ในปัจจุบัน การผลิตฮอร์โมนอินซูลินเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน การผลิตฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต เพื่อแก้ปัญหาภาวะเตี้ยแคระผิดปกติ การผลิตยาปฏิชีวนะเช่น เพนิซิลลิน การพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อที่สำคัญ เช่น ชุดตรวจวินิจฉัยโรคเอดส์ ชุดตรวจวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบ

เทคโนโลยีชีวภาพเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร

การแปรรูปอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ เช่น การหมัก การดองพืชผักผลไม้ การผลิตนมเปรี้ยว การผลิตแหนม ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว การใช้จุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เช่น การผลิตเบียร์ ไวน์ ไวน์ผลไม้ เหล้า สาโท อุ กระแช่ การนำจุลินทรีย์มาผลิตเอนไซม์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร การผลิตกรดอินทรีย์ต่างๆ ที่จำเป็นในอุตสาหกรรมอาหาร การพัฒนาพืชอาหารสายพันธุ์ใหม่ให้มีวิตามิน แร่ธาตุ และคุณค่าทางโภชนาการที่มากกว่าพืชอาหารปกติ

ความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพต่อการพัฒนาประเทศ ต่อชีวิตนี้เอง ทำให้นักวิทยาศาสตร์ ได้วิจัยชิ้นงานใหม่ให้สอดรับต่อการพัฒนาสูงเชิงพาณิชย์มากขึ้น และมีการแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยีในระดับนานาชาติอย่างกว้างขวาง และงานยิ่งใหญ่ที่เป็นตัวเชื่อมโยงการพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ คืองาน Thailand LAB ที่จัดขึ้นประจำในทุกๆปี

Thailand LAB 2014ศูนย์แลกความรู้เทคโนโลยีชีวภาพ

รศ.ดร.เพ็ญจิตร ศรีนพคุณ นายกสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ถือเป็นครั้งที่2 ที่ทางสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนงาน Thailand LAB 2014 ที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการส่งเสริมวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ โดยทางสมาคม ฯ ได้ร่วมมือกับ Asian Federation of Biotechnology (AFOB) จัดงาน TSB International Forum 2014 ขึ้นเป็นครั้งที่2 เพื่อเป็นเวทีสำหรับนักศึกษาปริญญาโท เอกของไทยและในกลุ่มประเทศอาเซียน+3 ในการนำเสนองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจน สร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้ง 13 ประเทศในเอเชีย จึงขอเรียนเชิญให้ท่านผู้สนใจมาชมเทคโนโลยีด้านเครื่องมือแล็บ และร่วมงานวิชาการทั้งของสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย และสมาคมอื่นๆ ที่เข้าร่วมในครั้งนี้ และร่วมพูดคุยหรือหาหุ้นส่วนทางธุรกิจได้ในงาน Thailand LAB 2014

สำหรับการร่วมงาน Thailand LAB 2014 ปีนี้นั้น ทางสมาคม ฯ ได้ร่วมมือกับ Asian Federation of Biotechnology (AFOB) ได้จัด TSB International Forum ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “ Green Bioprocess Engineering”ซึ่งเป็นหัวข้อที่สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มุ่งให้ความสำคัญงานวิจัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและนำไปสู่พัฒนาเชิงพาณิชย์ ในการประชุมจะมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จนำไปใช้เชิงพาณิชย์ จากนานาประเทศจำนวนกว่า 20คนใน 10 ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น อินเดีย จีน ใต้หวัน เกาหลี เช่น Prof.Dr. Jian Jiang Zhong (AFOB general secretary),Prof.Dr. Yoon-Moo Koo, (AFOB Korea),Prof.Dr. Prof. Feng-Wu Bai (AFOB China),Prof.Dr. Virendra S. Bisaria (AFOB, India),Prof.Dr. Yu-Kaung Chang (AFOB, Taiwan) เข้ามาให้ความรู้ และเปลี่ยนความความคิดเห็น ด้านขบวนการใหม่ๆในการผลิตนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ อาทิ งานวิจัยขบวนการชีวภาพผลิตปุ๋ยชีวภาพของอินเดีย, การวิจัยผลิตเบียร์จากใต้หวัน ,การวิจัยพัฒนาพันธ์ไม้จากญี่ปุ่น, Lab การเผาผลาญอาหาร ของ จุลินทรีย์ ,วิศวกรรม การถ่ายโอน อิเล็กตรอน แบคทีเรีย สำหรับการเก็บเกี่ยว พลังงาน ที่มีประสิทธิภาพและ biosensing จากญี่ปุ่นเป็นต้น

ทั้งนี้ การประชุมจะเริ่มตั้งแต่ วันที่ 17-19 กันยายน 2557 ในงาน Thailand LAB 2014 ณ EH101-102 ศูนย์นิทรรศการ และการประชุม ไบเทค บางนา กรุงเทพ สอบถามรายละเอียดการลงทะเบียน ที่ Email:[email protected]สอบถามรายละเอียด งาน TSB International Forum 2014 ได้ที่คุณดวงพร ลากะสงค์ ที่โทรศัพท์ +66 81 584 2969 หรือ +66 2 644 8150 ต่อ 81859 โทรสาร +66 2 644 8079 อีเมล์ [email protected] และ สามารถลงทะเบียนชมงาน Thailand LAB 2014 ล่วงหน้าได้ที่ www.thailandlab.com หรือ Email:[email protected] หรือสอบถามข้อมูลได้ ที VNU Exhibitions Asia Pacific Co., Ltd. Tel: +662-670-0900 Ext. 201-209 Fax: +662-670-0908

Facebook page:www.facebook.com/ThailandLab Twitter: twitter.com/ThailandLab Youtube Channel:www.youtube.com/ThailandLabThailand LAB 2014: Explore the Infinite Dimensions of LAB InnovationTrade : 17 – 19 September 2014 (10.00-17.00 hrs.)Venue : EH101-102, BITEC, Bangkok, Thailand

“ Green Bioprocess Engineering” กระแสพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ Thailand LAB 2014 “ Green Bioprocess Engineering” กระแสพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ Thailand LAB 2014