การเดินทางเยือนสปป.ลาวครั้งนี้ เพื่อเชิญชวนนักธุรกิจ ผู้ประกอบการ จาก สปป.ลาว เข้าร่วมงาน Thailand LAB 2014 ใหญ่สุดในอาเซียน จัดแสดงสินค้า และประชุมนานาชาติ ด้านเทคโนโลยี เครื่องมือและห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4 ที่ ไบเทค บางนา 17-19 กันยายน ที่ EH101-102 ไบเทค บางนา เวลา 10.00น.-17.00น.
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People’s Democratic Republic/Lao PDR) หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า ประเทศ “สปป.ลาว” ตั้งอยู่ใจกลางภูมิภาคอาเซียน มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย สปป.ลาวมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 รองจาก อินโดนีเซีย พม่า ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย เมืองหลวงของประเทศคือ เวียงจันทน์ และเงินตราของลาวคือ กีบ (Kip) โดยธนาคารแห่งประเทศ สปป.ลาวเป็นผู้รับผิดชอบพิมพ์เงินตราออกใช้ สปป.ลาว มีเวลามาตรฐานของลาวเร็วกว่ามาตรฐานกรีนิช ประเทศอังกฤษ 7 ชั่วโมง ซึ่งเท่ากับประเทศไทย
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ระหว่างละติจูด 14 – 23 องศาเหนือ และลองติจูด 100 - 108 องศาตะวันออกมีพื้นที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร (ส่วนที่เป็นน้ำ : 6,000 ตร.กม. พื้นดิน: 230,800 ตร.กม.) หรือ 148 ล้านไร่ หรือ 91,429 ตารางไมล์ อาณาเขตทิศทางเหนือติดกับประเทศจีน มีชายแดน 505 ตารางกิโลเมตร ทิศใต้ติดประเทศกัมพูชา มีชายแดนร่วม 535 ตารางกิโลเมตร ทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม มีชายแดนร่วมกันยาว 2,069 กิโลเมตร ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับพม่า มีชายแดนร่วมกันยาว 236 กิโลเมตร และทิศตะวันตกติดกับไทย มีชายแดนร่วมกันยาว 1,835 กิโลเมตรไม่มีพื้นที่ติดทะเล (Land Lock) ประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมดเป็นภูเขาและที่ราบสูง พื้นที่ร้อยละ 30 ที่เหลือเป็นพื้นราบซึ่งอยู่ตอนกลางและทิศตะวันตกของประเทศ
ประชากรลาวประมาณร้อยละ 75 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 16-17 นับถือผี (Animism) ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมตามแต่ละท้องถิ่นที่เหลือเป็นคริสต์ มุสลิม และอื่นๆ จำนวนประชากรในสปป.ลาว มีทั้งสิ้น 6,834,942 คน เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตรของประเทศแล้ว สปป. ลาวนับว่าเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นเฉลี่ย 27 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อย อย่างไรก็ตามประชากรในประเทศมีขนาดหนาแน่นในบางพื้นที่ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่กระจุกตัวในเขตที่ราบโดยเฉพาะที่ราบลุ่มแม่น้ำมากกว่าเขตที่สูงและภูเขา ซึ่งอยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์ร้อยละ 31
สปป.ลาวมีการปกครองในระบบพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวคือ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว (Lao People’s Revolutionary Party : LPRP) และมีสภาเดียวคือ สภาแห่งชาติ ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติและตุลาการ ดูแลอนุมัติงบประมาณ การออกและแก้ไขกฎหมาย ตลอดจนพระราชบัญญัติต่างๆ รวมทั้งกำกับดูแลการทำงานของรัฐบาล มีประธานประเทศ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค LPRP เป็นผู้นำประเทศ มีอำนาจในการกำหนดนโยบายและควบคุมการบริหารประเทศทั้งหมด และนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่หัวหน้าคณะรัฐบาล โดยทั้ง 3 ตำแหน่งมีวาระการดำรงตำแหน่งครั้งละ 5 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ของ สปป. ลาว เป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยมีเป้าหมาย ที่จะเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศและมุ่งขจัดความยากจนของประชาชน ซึ่งจัดทำขึ้นทุก 5 ปี เริ่มใช้แผนพัฒนาฉบับแรก ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา ปัจจุบันรัฐบาลแห่งชาติ สปป.ลาว อยู่ระหว่างการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 6 (National Socio-Economic Development Plan 2549-53) โดยให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดถือปฏิบัติตามนโยบายและเป้าหมายการพัฒนาประเทศ
ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของลาวมีพัฒนาการดีขึ้นนับจากเริ่มปรับเปลี่ยนระบบจากสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจตลาดเสรีเมื่อปี 2529 ตามนโยบายจิตนาการใหม่ (New Economic Mechanism: NEM) ทำให้รายได้เฉลี่ยตัวหัวของประชากรลาว ในปี พ..ศ. 2529 เพิ่มขึ้นจาก 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 713 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2550
สปป.ลาว มีมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศ ในปี 2550 ทั้งหมด 1,136.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 57.89 โดยประเทศจีนเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนมากที่สุดถึง 496.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.23 จากปีที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้เมื่อดูมูลค่าการลงทุนสะสมตั้งแต่ปี 2545 – 2550 ประเทศไทยมีมูลค่าการลงทุนใน สปป.ลาว สูงที่สุด รองลงมาได้แก่ประเทศจีน โดยมีมูลค่าถึง 1,358.8
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit