รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อไปว่า การคัดเลือกศิลปินแห่งชาติที่ผ่านมาถือว่ามีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับประชากรของประเทศ จึงอยากจะให้มีการปรับเกณฑ์การพิจารณาให้มีศิลปินเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความสามารถ มีการสร้างสรรค์ผลงานเชิงศิลปะ และเพื่อที่จะให้ศิลปินในสาขาต่างๆมากขึ้นด้วย โดยกระทรวงวัฒนธรรมจะผลักดันการกำหนดหลักเกณฑ์รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้ได้รับการเรียนรู้การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่อยกระดับให้เทียบกับประเทศตะวันตก ที่มีการปลูกฝังให้เข้าถึงงานศิลปะตั้งแต่อายุยังน้อย ทั้งนี้ ศิลปินแห่งชาติ จะเข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งตรงกับวันศิลปินแห่งชาติ และยในวันดังกล่าวจะมีงานเลี้ยงแสดงความยินดีแก่ศิลปินแห่งชาติ พร้อมทั้งจัดกิจกรรมการแสดงและนิทรรศการศิลปินแห่งชาติ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติจะได้รับประโยชน์ตอบแทนจากกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรม ได้แก่ เงินตอบแทนรายเดือนตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่เดือนละ 20,000 บาท สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัวตามระเบียบราชการ แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี เงินช่วยเหลือประสบสาธารณภัยเท่าที่เสียหายจริง ไม่เกิน 50,000 บาทต่อครั้ง ค่าของเยี่ยมในยามเจ็บป่วยหรือในโอกาสสำคัญเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 3,000 บาทต่อครั้ง เงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมบำเพ็ญกุศลศพ 20,000 บาท ค่าเครื่องเคารพศพตามประเพณีที่เหมาะสมเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 3,000 บาท เงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 150,000 บาท
ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติมาเมื่อปี พ.ศ.2557 และประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อ พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) มีศิลปินได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติแล้ว รวมทั้งสิ้น 246 คน เสียชีวิตไปแล้ว 101 คน ยังมีชีวิตอยู่ 145 คน
นางนิตยา รากแก่น (การแสดงพื้นบ้าน-หมอลำ)
นางรำไพพรรณ สุรรณสาร ศรีโสภา สาขาวรรณศิลป์
นายเจริญ มาลาโรจน์ สาขาวรรณศิลป์
นายวินทร์ เลี้ยววาริณ สาขาวรรณศิลป์
นายเฉลิม ม่วงแพรศรี (ดนตรีไทย)
นายช่วง มูลพินิจ (จิตรกรรม)
นายธีรพล นิยม (สถาปัตยกรรม)
นายบุญฉลอง ภักดีวิจิตร (ผู้กำกับ-ผู้สร้างภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
นายยืนยง โอภากุล (ดนตรีไทยสากล)