การนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น การใช้น้ำยางพาราและพืชให้สี มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอผ้าบาติก ด้วยการใช้น้ำยางพารามาพัฒนาลวดลายและใช้เป็นสารเหลวเขียนลวดลายผ้าบาติก ทดแทนการใช้เทียนและพาราฟิน ลดปริมาณนำเข้าอุปกรณ์ที่มีราคาแพง เพราะการใช้เทียนเขียนภาพร้อนเมื่อเทียนหยดจะทำให้ผ้าเสียหาย จึงได้ทดลองให้เปลี่ยนมาเป็นการเขียนภาพแบบเย็น และยังใช้พืชให้สีในพื้นที่ เช่น ดอกต้อยติ่ง ชงโค มาใช้ย้อมผ้าให้เป็นสีธรรมชาติเพิ่มความสวยงาม การนำเส้นใยจากบัวหลวง สัปปะรด มาปั่นด้ายในภาคอุตสาหกรรม รองรับความต้องการของตลาด จากเดิมเป็นการถักในภาคครัวเรือน ตลอดจนการผลักดันให้สินค้าชุมชนออกสู่ตลาดอาเซียน ตลาดโลก โดยผ่านการรับรองจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหรกรรม (มอก.) มาตรฐาน ISO เป็นต้น
เมื่อนำความรู้ไปช่วยชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้ช่วยสร้างมูลค่าเพิ้่มอย่างหลากหลาย เช่น ชุดทานข้าวมุสลิม ราคา 300 บาท เพื่อพัฒนาออกแบบทันสมัย การแต่งเติม การใช้ผ้าพลิ้วไหว เมื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ จำหน่ายได้ราคาสูงถึง 2,500 บาท จึงพยายามผลักดันให้ชุมชนมุสลิมได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มรายได้ เนื่องจากตลาดยังมีแนวโน้มเติบโตสูง หลังจากการส่งออกในปี 56 มีจำนวน 7,585 ล้านดอลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 โดยตลาดสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น ยังเป็นส่งออกสำคัญ
ปัจจุบันประชากรมุสลิมทั่วโลกมีจำนวน 2.08 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 28.26 ของจำนวนประชากร มูลค่าตลาดเครื่องแต่งกายมุสลิมรวม 96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อาเซียนมีประชากรมุสลิมกว่า 264 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 43.22 ของประชากรในอาเซียน มูลค่าเครื่องแต่งกายมุสลิม 15.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับประเทศไทยมีมุสลิมรวม 6.62 ล้านคน มูลค่าเครื่องแต่งกาย 390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดตะวันออกกลาง เป็นกลุ่มประเทศที่มีกำลังซื้อสูง ตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สัดส่วนส่งออกจากไทยร้อยละ 56 ของตะวันออกกลางทั้งหมด ซาอุดีอาระเบียร้อยละ 21 จึงเป็นกลุ่มประเทศน่าส่งเสริมออกไปบุกตลาดยังต่างประเทศ.
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit