เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ประจำปี 2557 ขอต้อนรับนักเรียนนักศึกษากว่า 100 ทีมสู่มะนิลา

06 Feb 2014
นักเรียนนักศึกษาจำนวน 11 ทีมจากประเทศไทยพร้อมแล้วสำหรับการแข่งขัน

นักเรียนนักศึกษาจากทั่วทั้งเอเชียและตะวันออกกลางรวมถึงประเทศไทยเดินทางมาถึงกรุงมะนิลาแล้วในวันนี้ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันสุดยอดรถยนต์ประหยัดพลังงาน ที่เป็นการวิ่งบนท้องถนนจริงกลางกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ นักเรียนนักศึกษาเหล่านี้ได้ออกแบบและสร้างสรรค์รถยนต์เหล่านี้ขึ้นมาเพื่อร่วมการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ครั้งที่ 5 ประจำปีนี้

ปีนี้เป็ฯปีแรกที่จัดการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนขึ้นที่กรุงมะนิลา โดยการแข่งขันครั้งก่อนนี้หน้าจัดขึ้นที่สนามเซปังอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย การแข่งขันรถบนสภาพถนนจริงที่อยู่ใจกลางเมืองแบบนี้ ในเพื่อเป็นการทดสอบศักยภาพในการประหยัดพลังงานในสถานการณ์จริง ความเร็วมิได้เป็นเครื่องการันตีความสำเร็จ หากแต่ผู้ที่ขับเคลื่อนได้เป็นระยะทางที่ไกลสุดด้วยเชื้อเพลิงเพียงลิตรเดียวต่างหากที่จะกลายเป็นผู้ชนะ

นักเรียนนักศึกษา 15 ทีมจากสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นประเทศเจ้าบ้านเข้าร่วมในการแข่งขันในปีนี้ และเป็นการร่วมแข่งขันกับนักเรียนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย วิทยาลัยและสถาบันเทคนิคจากประเทศอื่น ๆอีก15 ประเทศ รวมถึงประเทศอียิปต์ซึ่งมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้เป็นครั้งแรกจำนวน 3 ทีม

ตัวแทนจากประเทศไทยประกอบด้วย 11 ทีมจาก 9 สถาบันการศึกษาซึ่งรวมถึงทีมที่เคยได้รับชัยชนะมาแล้วสามทีมได้แก่ ทีมจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต (ได้รับชัยชนะสองครั้งในปี 2554 และ 2555 และเป็นผู้ครอบครองสถิติ) และทีมจากโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ ช่างกล ขส. ทบ. (ได้รับชัยชนะสามครั้งในปี 2553-2555) รวมถึงทีมจากวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง (ได้รับชัยชนะเมื่อปี 2555) ทั้งหมดเข้าร่วมในการแข่งขันโดยมีเป้าหมายร่วมกันคือการสร้างสถิติใหม่สำหรับปี 2557

ทีมนักเรียนนักศึกษาอาจเข้าร่วมการแข่งขันในประเภทยานยนต์ต้นแบบ (Prototype) หรือยานยนต์ประเภทใช้งานได้จริง (Urban Concept) ประเภทยานยนต์ต้นแบบจะพิจารณาถึงการออกแบบยานยนต์สำหรับอนาคตซึ่งมีลักษณะทันสมัยโดยให้ความสำคัญกับการใช้เชื้อเพลิงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยอาศัยองค์ประกอบการออกแบบที่แปลกใหม่ เช่น การลดแรงต้าน ส่วนยานยนต์ประเภทใช้งานได้จริงจะให้ความสำคัญกับการประหยัดเชื้อเพลิงซึ่ง “ปลอดภัยกว่าบนท้องถนน” โดยมีเป้าหมายในการตอบสนองต่อความต้องการในชีวิตจริงของผู้ขับขี่ ยานยนต์เหล่านี้ต้องมีลักษณะใกล้เคียงกับรถยนต์ที่วิ่งได้ไกลกว่าซึ่งพบเห็นบนท้องถนนในปัจจุบัน สำหรับการแข่งขันในปีนี้มียานยนต์เข้าร่วมในการแข่งขันมากกว่า 100 คัน ประกอบด้วยรถประเภทต้นและประเภทใช้งานได้จริง

“ในฐานะที่เข้าร่วมการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนเป็นครั้งแรก ทีมจากวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์รู้สึกเป็นเกียรติ ตื่นเต้นและภูมิใจที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันที่ได้รับการยอมรับนี้” สมเกียรติ ร่มโพธิ์ ผู้จัดการทีมจากวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ กล่าว

สำหรับทั้งประเภทต้นแบบและประเภทใช้งานได้จริง ทีมต่างๆอาจส่งยานยนต์เข้าแข่งขันโดยใช้พลังงานประเภทต่างๆดังนี้ เบนซิน ดีเซล เบนซินทางเลือก (เอทานอล 100) ดีเซลทางเลือก (จีทีแอลของเชลล์หรือดีเซลชีวภาพ) แบตเตอรี่ไฟฟ้าและเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ผลการแข่งขันสำหรับยานยนต์ขับเคลื่อนโดยกำลังไฟฟ้าจะวัดเป็นกิโลเมตรต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมงและวัดเป็นกิโลเมตรต่อลิตรสำหรับพลังงานประเภทอื่น นักเรียนนักศึกษามีอิสระในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางเทคนิคและการออกแบบโดยมีเงื่อนไขว่ายานยนต์ทุกคันที่เข้าร่วมในการแข่งขันต้องอยู่ภายใต้กฎความปลอดภัยที่กำหนด

การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ประจำปี 2557 ประกอบด้วยรางวัลในสนาม 24 รางวัลโดยมีรางวัลเป็นเงิน 2,000 ดอลลาร์และ 1,000 ดอลลาร์ สำหรับผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศทั้งในประเภทต้นแบบและประเภทใช้งานได้จริง นอกจากนี้ทีมต่างๆยังมีโอกาสเข้าแข่งขันสำหรับรางวัลนอกสนามอีกหกรางวัลซึ่งรางวัลเหล่านี้ได้แก่ รางวัลการสื่อสาร รางวัลการออกแบบยานยนต์ รางวัลนวัตกรรมด้านเทคนิค รางวัลความปลอดภัย รางวัลความพยายามและมุ่งมั่นในการแข่งขันและรางวัลการหล่อลื่นเชลล์ เฮลิกส์ซึ่งรางวัลการหล่อลื่นเชลล์ เฮลิกส์นี้เป็นรางวัลนอกสนามแข่งขันที่ให้แก่ทีมที่แสดงให้เห็นถึงการใช้หลักการด้านวิศวกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับการหล่อลื่นเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ของตน

พิธีเปิดการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย จะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ณ ลูเนต้า ปาร์ค ส่วนพิธีปิดการแข่งขันและมอบรางวัลจะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่ห้องเฟียสต้าพาวิลเลี่ยน โรงแรมมะนิลา

นอกจากการแข่งขันในสนามแล้ว ผู้ชมจะมีโอกาสเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการด้านพลังงานของเชลล์ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจและให้ความรู้ที่เผยให้เห็นถึงอนาคตด้านพลังงาน เทคโนโลยีและการขนส่ง การจัดแสดงและกิจกรรมเสวนาเพื่อเป็นการท้าทายให้ผู้ชมเกิดความคิดที่หลากหลายเกี่ยวกับอนาคตของพลังงานและความต้องการทรัพยากรของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น

การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนประกอบด้วยหุ้นส่วนองค์กรธุรกิจระดับโลกสี่แห่ง ได้แก่

ฮิวเล็ต แพคการ์ด: หุ้นส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศระดับโลกอย่างเป็นทางการ

มิชลิน: หุ้นส่วนสนามฝึกซ้อมและผู้ผลิตยางรถยนต์ระดับโลกอย่างเป็นทางการ

เครือลินเด้: หุ้นส่วนสนามฝึกซ้อมระดับโลกอย่างเป็นทางการ

สถาบันวิจัยเซ้าท์เวสต์: หุ้นส่วนสนามฝึกซ้อมระดับโลกอย่างเป็นทางการ

การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ประจำปี 2557 จัดขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศฟิลิปปินส์ กระทรวงการท่องเที่ยวและเมืองมะนิลา หุ้นส่วนภาคเอกชนประกอบด้วยยูนิลีเวอร์ประเทศฟิลิปปินส์ โซเลน โคคา-โคล่า โกลบ เลโก้และฮุนได

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนจากทั่วโลกรวมถึงกฎระเบียบอย่างเป็นทางการ ข้อแนะนำสำหรับการลงทะเบียนและรายละเอียดเกี่ยวกับรางวัลในการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนได้ที่เว็บไซต์ www.shell.com/ecomarathon

รายชื่อทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

ลำดับที่

ประเทศ/เขตปกครอง

จำนวนทีม

1

บรูไนดารุสซาลาม

5

2

จีน

3

3

อียิปต์

2

4

อินเดีย

13

5

อินโดนีเซีย

18

6

เลบานอน

2

7

มาเลเซีย

16

8

ปากีสถาน

8

9

ฟิลิปปินส์

15

10

กาต้าร์

3

11

สิงคโปร์

4

12

เกาหลีใต้

2

13

ไทย

11

14

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

2

15

เวียดนาม

5

รวม

109