การปรับเปลี่ยนนี้ถูกนำเสนอไว้ในการคาดการณ์ 10 อันดับแนวโน้มที่สำคัญปี 2557 โดย ไอดีซี ประเทศไทย โดยไอดีซีได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบที่สำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนทางธุรกิจและเทคโนโลยีของประเทศไทยในปี 2557
นายไมเคิล อาราเน็ตตา ผู้จัดการประจำ ไอดีซี ประเทศไทย กล่าวว่า งบลงทุนด้านไอซีที คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 7.2 ในปี 2557 ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่าตลาดกำลังที่จะชะลอตัวลง นายไมเคิล ยังระบุว่า “ภาวะตึงเครียดทางการเมืองเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตอย่างแน่นอน โดยที่ภาคเอกชนต่างๆ กำลังรอดูแนวทางว่าปัญหาในปัจจุบันจะได้รับการแก้ไขอย่างไร รวมถึงโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐฯ นั้นเกิดการชะลอแผนงาน อาทิเช่น โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย โครงการอินเตอร์เน็ตไวร์ไฟฟรี และโครงการสมาร์ทซิตี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นเสริมอีก เช่น ภาวะหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้น ความเชื่อมั่นต่อการบริโภคที่ลดลงของภาคธุรกิจและประชาชน และการเติบโตของเทคโนโลยีแบบลบล้าง ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนนโยบายด้านไอทีของธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทย นายไมเคิลได้เน้นย้ำว่า “ภาวะการชะลอตัวที่เกิดขึ้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากเพียงแค่ความวุ่นวายทางการเมืองเท่านั้น”
ไอดีซี ยังระบุว่า ตลาดไอทีซี ในประเทศจำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนอย่างเร่งด่วนในการเข้าสู่ตลาดโครงการลงทุนด้านไอที ของบรรดาองค์กรธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งว่า มีการลงทุนด้านไอทีเป็นอย่างมากจากกลุ่มธุรกิจหลายประเภทที่ยังคงมีการดำเนินกิจการอย่างเป็นปกติราบรื่น อาทิเช่น กลุ่มอุตสาหกรรม ภาคสถาบันการเงิน กลุ่มโทรคมนาคมและ กลุ่มโลจิสติกส์ นายไมเคิลยังกล่าวเสริมว่า “การทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่กำลังได้รับการผลักดันให้เกิดผล และสิ่งนี้จะนำมาซึ่งโอกาสในการขยายตัวของภาพรวมธุรกิจไอซีทีของประเทศไทย”
ไอดีซี ประเทศไทยได้คาดการณ์ 10 อันดับแนวโน้มที่สำคัญปี 2557 ดังนี้
1. อัตราการเติบโตของการใช้จ่ายด้านไอทีในปี 2557 จะอยู่ที่ร้อยละ 7.2 แต่จะมีปัจจัยบวกอยู่ในช่วงครึ่งปีหลังของปี
2. การปรับเปลี่ยนเพื่อสิ่งใหม่ของกลุ่มธุรกิจต่างๆ ต่อการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) จะทำให้ไทยเป็นสนามทดลองสำหรับเทคโนโลยีแบบลบล้างแบบใหม่ๆ ของภูมิภาคอาเซียน
3. เพื่อเข้าถึงผู้ใช้งานประเภทเลือกใช้อุปกรณ์ตามความชื่นชอบของตนเอง (CYOD), บริษัทต่างๆ ในประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาแผนงานด้าน mobility ขึ้นมารองรับการใช้งานดังกล่าว
4. ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหม่ๆ จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในตลาด FTTx (การต่ออินเตอร์เน็ตแบบนำสายใยแก้วนำแสง ส่งตรงถึงบ้านของลูกค้า)
5. กระแสดิจิตอลทีวียังคงแรง แต่ความคืบหน้ายังต่ำกว่าเป้าในปี 2557
6. บรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์ของญี่ปุ่นจะทำให้ประเทศไทยเข้าถึงทุกสิ่งอย่างผ่านอินเตอร์เน็ต
7. ร้อยละ 40 ของการใช้จ่ายด้านไอทีในสหภาพพม่าจะมีแหล่งกำเนิดหรือจัดหามาจากประเทศไทย
8. แท็บเล็ตจะเป็นอุปกรณ์ที่ครองตลาดคอนซูมเมอร์ในปี 2557
9. ใน 5 หัวเมืองหลักของแต่ละภูมิภาคของไทยจะมีอัตราการเติบโตการใช้จ่ายด้านไอที โตขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ส่งผลให้กรุงเทพฯและปริมณฑล ถูกลดความบทบาทการเป็นศูนย์กลางของการใช้จ่ายด้านไอที
10. การเติบโตอย่างมากของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือกำลังทำให้ประเทศไทยเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิตอล
แม้ว่าจะประสบปัญหาความตึงเครียดด้านการเมือง แต่ประเทศไทยกำลังเป็นตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานที่ประสบผลสำเร็จของการนำเทคโนโลยีแบบลบล้างมาใช้อย่างเช่น บิ๊กดาต้า และ คลาวด์คอมพิวติ้ง สิ่งนี้จะทำให้ประเทศไทยค่อนข้างพร้อม พอที่จะก้าวเข้าสู่แพลทฟอร์มขั้นที่สามของไอทีในอีก 3 ปีข้างหน้า
นายไมเคิล สรุปว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดในปี 2557 ก็คือการลงทุนด้านไอซีที ไม่ว่าอะไรก็ตามจำเป็นต้องให้ได้มาซึ่งผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นโดยเร็ว จากหลายตัวอย่างในการทดลองใช้บิ๊กดาต้าของบริษัทต่างๆ นั้น บริษัทจำเป็นจะต้องแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการด้านข้อมูลเชิงลึกและเน้นการทำตลาดกับลูกค้า รวมถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้ของบริษัทจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ โครงการบิ๊กดาต้าต่างๆ จำเป็นต้องถูกผลักดันให้เกิดความต้องการใช้งานจากภายในองกรค์ ไม่ใช่ถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยภายนอก ที่อยู่เหนือการควบคุมของบริษัทสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ไมเคิล อาราเน็ตตาผู้จัดการประจำ ไอดีซี ประเทศไทยโทร: +66 2 645 2370 ต่อ [email protected]ศศิธร แซ่เอี้ยวเจ้าหน้าที่การตลาดอาวุโสโทร. +66 2 645 2370 ต่อ [email protected]
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit