เนื่องด้วยความขัดแย้งทางการเมืองโดยไม่มีหน่วยงานกลางใดจัดทำประชาพิจารณ์ความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศโดยมีความเป็นกลางและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เพื่อร่วมหาทางออกของประเทศ โดยอ้างอิงจากเสียงของประชาชน ทางเอ็นไวโรเซล (ประเทศไทย) จึงได้จัดทำประชาพิจารณ์เรื่องทางออกของประเทศไทย โดยสุ่มตัวอย่าง 1000 คน ในประชากรชาย หญิง ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยวิธีสุ่มจากหมายเลขโทรศัพท์ของประชาชนทุกภาคทั่วประเทศโดยไม่จำกัดความคิดเห็นจากฝ่ายใดเพียงฝ่ายหนึ่ง ซึ่งการสุ่มตัวอย่างมีการกระจายตามสัดส่วนประชากรโดยหลักการทางสถิติ ด้วยความมั่นใจ 95% ความผิดพลาดจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3%
ช่วงเวลาของการทำวิจัย คือ วันที่ 1-4 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยกระจายกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนประชากรทุกภาค ได้แก่ กรุงเทพ 14%, กลางและตะวันออก 20%, อีสาน 34%, เหนือ 18%, ใต้ 14% และกระจายกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนรายได้ ค่อนข้างสูง (upper) 18%, ปานกลาง (middle) 38% และ ค่อนข้างน้อย lower 44%
ผลการวิจัย สำหรับทิศทางที่อยากให้รัฐบาลดำเนินการกับสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น พบว่า
63% ต้องการปฏิรูปประเทศ โดยมีรายละเอียดย่อยดังนี้
27% มองว่ารัฐบาลควรคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบรายละเอียด (เสียงส่วนใหญ่มาจากคนกรุงเทพ และคนใต้)
23% อยากให้รัฐบาลลาออก (โดย11%ให้รัฐบาลลาออกไปแล้วและยังมีกฎหมายห้ามรัฐบาลชุดนี้กลับมาลงเล่นการเมืองอีกต่อไป)
13% มองว่ารัฐบาลควรยุบสภา
24% อยากให้ประนีนอมและตกลงเจรจากันก่อน เห็นได้ชัดในภาคอีสาน
14% คาดหวังว่ารัฐบาลควรอยู่ต่อจนครบวาระ เห็นได้ชัดในภาคเหนือ
ส่วนความคิดเห็นเรื่องทางออกของประเทศไทย ณ ตอนนี้ที่จะทำให้ประเทศไทยกลับมาสู่สถานการณ์ปกติได้ ผลปรากฏว่า
42% เห็นว่าการเลือกตั้งไม่ใช่ทางออก โดยมีรายละเอียดย่อยดังนี้
22% เห็นสมควรว่าประเทศไทยควรได้รับพระราชทานนายกรัฐมนตรีจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ประเทศดำเนินการต่อไปได้ โดยมีรายละเอียดย่อยดังนี้ (11% อยากให้มีการคืนอำนาจสู่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวชั่วคราว จนกว่าการปฏิรูปประเทศจะเป็นที่เรียบร้อย 11% ใช้มาตรา 7 โดยเฉพาะ คนกรุงเทพ และใต้)
10% ให้มีการปฏิรูปประเทศโดยการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว
5% ล้มล้างระบอบทักษิณให้หมดไป
4% ให้มีการจัดตั้งสภาประชาชนตามคำแนะนำของกลุ่มคณะกรรมการประชาชน
41% เห็นว่าสมควรเลือกตั้งใหม่ โดยมีรายละเอียดย่อยดังนี้
26% อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยเฉพาะชาวอีสาน
15% มีข้อแม้ว่าการเลือกตั้งใหม่ ควรงดสิทธิ์การลงสมัครเลือกตั้งของทั้งสองพรรคที่เป็นทั้งรัฐบาลและแกนนำประชาชนนี้ด้วย
18% มองว่ารัฐบาลควรบริหารประเทศต่อไปจนครบวาระ โดยเฉพาะคนเหนือ
นอกจากนี้ ความคิดเห็นต่อข้อเรียกร้องจากกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เกี่ยวกับระบอบทักษิณให้ออกจากประเทศไทย
63% เห็นด้วยกับ กปปส. โดยส่วนใหญ่เป็นชาวกรุงเทพ และชาวใต้ ผู้มีรายได้ระดับปานกลางถึงสูง
37% ไม่เห็นด้วย ส่วนใหญ่เป็นชาวเหนือ และอีสานผู้มีรายได้น้อย และสุดท้าย ผู้บริหารคนต่อไปใน
ความคิดเห็นของประชาชน
33% เห็นว่า ผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปควรได้รับพระราขทานการแต่งตั้งมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
9% เป็นนักธุรกิจที่มีประวัติใสสะอาด มีความสามารถและไม่ได้ลงเล่นการเมืองมาก่อน
3% คุณทักษิณ โดยชาวเหนือและอีสาน
นอกนั้นเป็นเสียงที่กระจัดกระจายโดยเสนอรายชื่อจากบุคคลที่เคยเป็นนายกรัฐมนตรี เช่น นายอานันต์ ปัญญารชุน, นักวิชาการด้านการเมืองการปกครอง เป็นต้น
ไม่ว่ารูปแบบทางการเมืองในปัจจุบัน หรืออนาคตจะเป็นเช่นไร แต่รูปแบบการทำประชาพิจารณ์ เพื่อหยั่งความคิดเห็นของประชาชน และเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของประชาชนนั้น อาจเป็นอีกหนึ่งในโมเดลการปฏิรูปการเมืองเพื่อช่วยตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงจุด และเติมเต็มให้การบริหารประเทศเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit