สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2557 สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5 – 4.5) ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ร้อยละ 5.1 โดยมีปัจจัยหลักจากการลงทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐที่อาจมีความล่าช้ากว่าที่คาด โดยเฉพาะการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ต้องมีการทำประชาพิจารณ์ตามคำสั่งของศาลปกครอง และการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่อยู่ระหว่างรอผลวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ การประกาศยุบสภาของรัฐบาลยังคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐให้เกิดความล่าช้าได้ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะยังคงได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการ นอกจากนี้ สถานการณ์การจ้างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีและภาวะทางการเงินที่ผ่อนคลายจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำจะช่วยสนับสนุนให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนสามารถขยายตัวได้ ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2557 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.9 – 2.9) ตามอุปสงค์ภาคเอกชนที่ดีขึ้น”
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “หากปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองยืดเยื้อออกไปจะส่งผลกระทบทางลบต่อการท่องเที่ยวของไทย ผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามายังประเทศไทยที่คาดว่าอาจลดลงถึง 3 แสนคน และอาจส่งผลให้การเบิกจ่ายโครงการลงทุนของภาครัฐมีความล่าช้าออกไปอีก ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 – 4.0) นอกจากนี้ ในการประมาณการเศรษฐกิจยังต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยง อาทิ การดำเนินนโยบายทางการเงินของประเทศพัฒนาแล้วที่อาจส่งผลกระทบต่อความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนของไทย ภัยธรรมชาติและโรคระบาด อีกทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางสาขาอุตสาหกรรม”
ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจปี 2556 และ 2557 (ณ เดือนธันวาคม 2556)
2555
2556 f (ณ ธันวาคม 2556)
2557 f (ณ ธันวาคม 2556)
เฉลี่ย
เฉลี่ย
ช่วง
สมมติฐานหลัก
สมมติฐานภายนอก
1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 14 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละต่อปี)
3.3
3.3
3.8
3.3 - 4.3
2) ราคาน้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรล)
109.1
105.0
105.0
100.0 - 110.0
3) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี)
0.6
-0.3
0.5
0.0 - 1.0
4) ราคาสินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี)
1.6
-2.2
0.0
-0.5 ถึง 0.5
สมมติฐานด้านนโยบาย
5) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ)
31.1
30.7
31.2
30.2 - 32.2
6) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ สิ้นปี (ร้อยละต่อปี)
2.75
2.25
2.25
1.75 - 2.75
7) รายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณ (ล้านล้านบาท)
2.89
3.03
3.24
3.23 - 3.25
ผลการประมาณการ
1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละต่อปี)
6.5
2.8
4.0
3.5 - 4.5
2) อัตราการขยายตัวของการบริโภครวม (ร้อยละต่อปี)
6.8 6.7 7.5
1.3 0.4 5.6
2.7 2.8 2.1
2.2 – 3.2 2.3 - 3.3 1.6 - 2.6
3) อัตราการขยายตัวของการลงทุนรวม (ร้อยละต่อปี)
13.2 14.4 8.9
-1.1 -0.3 -4.1
8.3 7.0 13.2
7.8 - 8.8 6.0 - 8.0 6.1 - 14.2
4) อัตราการขยายตัวปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี)
3.1
4.1
7.0
6.0 - 8.0
5) อัตราการขยายตัวปริมาณนำเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี)
6.2
2.9
4.4
3.4 - 5.4
6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) - สินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) - สินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี)
6.0 3.1 8.8
5.2 -0.6 -0.2
8.9 6.5 5.0
7.9 – 8.9 4.5 - 8.5 3.0 – 7.0
7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) - ร้อยละของ GDP
-1.5 -0.4
-6.2 -1.6
4.4 1.0
3.4 - 5.4 0.7 - 1.3
8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละต่อปี)
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละต่อปี)
3.0 2.1
2.2 1.0
2.4 1.2
1.9 - 2.9 0.7 - 1.7
9) อัตราการว่างงาน (ร้อยละของกำลังแรงงานรวม)
0.7
0.7
0.7
0.6 – 0.8
สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการการคลัง
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3273
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit