อีริคสันชี้ 10 แนวโน้มฮ็อตของพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2557

23 Dec 2013
- อีริคสันคอนซูเมอร์แล็บ เปิดเผยถึงสิบแนวโน้มสำคัญของพฤติกรรมผู้บริโภคแห่งปี พ.ศ. 2557 และอนาคต
อีริคสันชี้ 10 แนวโน้มฮ็อตของพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2557
  • แอ็พกำลังเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันในสังคมของเราในวงกว้าง เช่น ร่างกายของเราได้กลายเป็นรหัสผ่าน (password) รูปแบบใหม่ และจะมีสร้างเครื่องวัดเซนเซอร์ตามสถานที่มากขึ้น
  • การรับสื่อวีดีโอที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น นั้นเพื่อนๆของเราจะผู้มีอิทธิพลต่อการเลือกรับชมสื่อของเราอีกด้วย

ขณะที่ปี พ.ศ. 2556 กำลังจะสิ้นสุดลง อีริคสันคอนซูเมอร์แล็บ ได้เปิดเผยถึงสิบแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่โดดเด่นที่สุด ในปี พ.ศ. 2557 และอนาคต โดยเป็นเวลามากกว่า 15 ปี ที่อีริคสันคอนซูเมอร์แล็บ ได้ทำการวิจัย สำรวจคุณค่า พฤติกรรม และแนวทางการใช้งาน ที่ผู้บริโภคมีต่อผลิตภัณฑ์และบริการด้านไอซีที โดยงานวิจัยทั่วโลกของเรา อาศัยการสัมภาษณ์ผู้คนในแต่ละปี เป็นจำนวนมากกว่า 100,000 คน ในกว่า 40 ประเทศ และ 15 เมืองใหญ่

นาย ไมเคิล บียอน หัวหน้าฝ่ายวิจัยของอีริคสันคอนซูเมอร์แล็บ กล่าวว่า “แนวโน้มที่สำคัญที่สุดที่เราสังเกตเห็น คือ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในแอ็พและบริการที่ครอบคลุมในหลายอุตสาหกรรมและหลายภาคส่วนของสังคม ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวันของเราได้”

1. แอ็พกำลังเปลี่ยนสังคมของเรา –การเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของสมาร์ทโฟนทั่วโลก ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีที่เราสื่อสารและใช้อินเตอร์เน็ทอย่างสิ้นเชิง ในปัจจุบัน เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่มีการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อประโยชน์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และมีคนจำนวนมากที่กำลังแสวงหาแอ็พเพื่อใช้ในหลายภาคส่วนหรือรูปแบบต่างๆของการใช้ชีวิตในสังคม ตั้งแต่การจับจ่ายซื้อของและสถานรับเลี้ยงเด็ก ไปจนถึงการสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ และการคมนาคม แอ็พกลายเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าชนิดของมือถือที่คุณใช้เสียอีก

2. ร่างกายของเราได้กลายเป็นรหัสผ่าน (password) รูปแบบใหม่ – เวบ์ไซต์ต่างๆเริ่มขอรหัสผ่าน (password) ที่ยาวขึ้น ประกอบไปด้วยตัวเลข ตัวอักษร และสัญญลักษณ์อื่น จนทำให้เราแทบจะจำไม่ได้ และด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดความสนใจในการใช้เทคโนโลยีด้านชีวภาพเข้ามาทดแทน เช่น จากงานวิจัยของเรา พบว่า 52 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน ต้องการใช้ลายนิ้วมือมากกว่ารหัสผ่าน และ 48 เปอร์เซ็นต์ มีความสนใจที่จะใช้การแสกนดวงตา เพื่อปลดล็อคหน้าจอ โดยรวมแล้วกว่า 74 เปอร์เซ็นต์ มีความเชื่อว่า สมาร์ทโฟนที่มีเทคโนโลยีด้านชีวภาพจะกลายเป็นกระแสหลักในปี พ.ศ. 2557 และอนาคต

3. การวัดค่าต่างๆของร่างกาย – ความดันโลหิต อัตรการเต้นของหัวใจ จำนวนก้าว เป็นเพียงตัวอย่างการเริ่มต้นของสิ่งที่พวกเราต้องการวัดค่าจากตัวเราเองเท่านั้นโดยใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือ และอิงจากข้อมูลที่เราสร้างขึ้นเอง คุณเพียงแค่เริ่มใช้แอ็พเพื่อบันทึกกิจกรรมที่ทำ อันจะช่วยให้เข้าใจตนเองดีขึ้น และจะมีการพัฒนาแอ็พใหม่ๆที่สามารถวัดค่าในกิจกรรมต่างๆอีกมาก โดยประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน ใช้โทรศัพท์ในการบันทึกข้อมูลกิจกรรมการเคลื่อนไหวของพวกเขา และ กว่า 56 เปอร์เซ็นต์ต้องการวัดความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจของพวกเขาโดยการใช้แหวนที่สวมใส่อีกด้วย

4. ความคาดหวังว่าจะมีอินเตอร์เน็ทในทุกที่ (internet everywhere) ประสบการณ์ในการใช้งานอินเตอร์เน็ท ยังไม่สามารถเทียบเท่าบริการโทรในรูปแบบวอยซ์ (voice service) ฉละที่น่าสนใจก็คือ ผู้ใช้สมาร์ทโฟนต่างตระหนักแล้วว่า จำนวนแท่งวัดความแรงของสัญญาณบนหน้าจอโทรศัพท์ นั้นไม่อาจเป็นเครื่องชี้วัดว่าจะได้รับบริการดาต้าหรืออินเตอร์เน็ทที่ดีได้ เนื่องจากแท่งวัดในลักษณะดังกล่าว อาจดีเพียงพอสำหรับบริการวอยซ์ แต่อาจไม่ดีพอสำหรับบริการอินเตอร์เน็ท จากการสำรวจของเราพบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อประสบการณ์ในการใช้อินเตอร์เน็ทบนรถไฟใต้ดินต่ำที่สุด

5. สมาร์ทโฟนช่วยลดความแตกต่างทางดิจิตอล – การเข้าถึงอินเตอร์เน็ทในระดับโลก ถือว่ายังไม่เพียงพอและทั่วถึง ทำให้เกิดความแตกต่างในการเข้าถึงบริการดิจิตอล หรือที่เรียกว่า “the digital divide” การมีสมาร์ทโฟนราคาย่อมเยาในตลาด ย่อมหมายถึงการที่ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพงในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ทอีกต่อไป ผู้ใช้โดยรวม 51 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก รู้สึกว่า โทรศัพท์มือถือคือการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุด และสำหรับคนจำนวนมาก มันได้กลายเป็นเครื่องมือหลักในการเข้าสู่อินเตอร์เน็ท

6. ประโยชน์ของบริการออนไลน์นั้นมีมากกว่าความเสี่ยงในการใช้งาน – จากการที่อินเตอร์เน็ทได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องก็กำลังแสดงผลให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดย 56 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ททุกวัน มีความกังวลในเรื่องความเป็นส่วนตัว (privacy issues) อย่างไรก็ตาม มีเพียง 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่กล่าวว่าจะใช้อินเตอร์เน็ทน้อยลง ผู้บริโภคมักเลือกที่จะใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ เช่น เพิ่มความระมัดระวังในการให้ข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น เป็นต้น

7. วีดีโอออนดีมานด์ – ถึงแม้ว่าจะมีสื่อวีดีโอให้เลือกมากขึ้น แต่เรามีแนวโน้มที่จะเลือกด้วยตัวเองน้อยลง โดยในความเป็นจริงแล้วนั้น เพื่อนของเรานั้นมีผลอย่างยิ่งต่อการเลือกรับชมสื่อวีดีโอต่างๆของเรา โดยที่เราพบว่า 38 เปอร์เซ็นต์ของผู้ให้สัมภาษณ์ กล่าวว่า พวกเขาชมวีดีโอคลิปที่เพื่อนแนะนำอย่างน้อยหลายครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนั้น เพื่อนของเรายังมีผลต่อการเลือกอ่านบล็อคและการเลือกฟังเพลงอีกด้วย

8. ต้องการความชัดเจนในการใช้ดาต้า – ผู้บริโภคโดยรวมกว่า 48 เปอร์เซ็นต์ เลือกใช้แอ็พเพื่อเข้าใจลักษณะการใช้ดาต้าของตนให้ดียิ่งขึ้น ในขณะที่ 41 เปอร์เซ็นต์ต้องการเพียงจะทราบว่าพวกเขาใช้ดาต้าไปเท่าไหร่ โดย 33 เปอร์เซ็นต์ ต้องการความมั่นใจว่าพวกเขาได้รับบิลหรือถูกคิดเงินอย่างถูกต้อง และ 31 เปอร์เซ็นต์ ไม่ต้องการใช้ดาต้าเกินค่าที่จำกัดไว้โดยผู้ให้บริการเครือข่าย งานวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นอีกว่า ผู้ใช้สมาร์ทโฟนนิยมใช้แอ็พเพื่อวัดความเร็วของสัญญาณเชื่อมต่อเป็นประจำอีกด้วย

9. เครื่องวัดเซ็นเซอร์ในสถานที่ต่างๆ – จากการที่บริการอินเตอร์เน็ตแบบอินเตอร์แอ็คทีฟ (interactive internet)ได้กลายเป็นเรื่องธรรมดา ผู้บริโภคเริ่มคาดหวังเพิ่มขึ้นว่า สภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ต่างๆของพวกเขาก็ควรจะได้รับการตรวจสอบด้ว โดยเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเชื่อว่า ภายในปี พ.ศ. 2559 เซ็นเซอร์จะถูกนำมาใช้ในเกือบทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่บริการด้านสาธารณสุขและการคมนาคมขนส่งสาธารณะ ไปสู่รถยนต์ บ้าน และสถานที่ทำงานของพวกเรา

10. ความสามารถในการ เล่น หยุด และเล่นต่อ ในที่อื่นๆได้ – จากการสำรวจพบว่า 19 เปอร์เซ็นต์ของการใช้บริการสตรีมมิ่ง เกิดขึ้นบนมือถือหรือแท็บเล็ต ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม โดยมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนสถานที่รับชมโทรทัศน์ไปมา ให้เข้ากับชีวิตประจำวันของตน เช่น พวกเขาอาจเริ่มต้นรับชมสื่อที่บ้าน หยุดไว้ แล้วดูต่อในขณะที่กำลังเดินทางไปทำงาน เมื่อมีการเปลี่ยนสถานที่ในลักษณะนี้ จึงมักมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้รับชมด้วย

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit