อินเทล ประเทศไทย เผยถึงกลยุทธ์การทำตลาด และนวัตกรรมสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโมบายล์สำหรับปี 2014

28 Mar 2014
นายสนธิญา หนูจีนเส้ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด แถลงถึงกลยุทธ์และทิศทางทางการตลาดของอุตสาหกรรมไอทีในประเทศไทยว่า คอมพิวเตอร์ทั้งเดสก์ท้อปและโน้ตบุ๊กรูปแบบใหม่ ๆ จะเป็นแรงผลักให้เกิดกำลังการซื้อ ทั้งจากผู้ที่ซื้อเป็นครั้งแรก(First time buyers) หรือการเปลี่ยนเครื่องใหม่ (PC refresh)สำหรับในประเทศไทย โดยในปีนี้อินเทลจะมีผลิตภัณฑ์ ครบทุกประเภททั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โมบายล์ต่างๆ โดยสมาร์ทโฟนแลแท็เบล็ตที่มีประสิทธิภาพและราคาไม่สูง ซึ่งประสิทธิภาพจะเป็นจุดเด่นของอินเทล ที่ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น ในปีนี้เราจะมีทูอินวันและแท็บเบล็ตที่รองรับทุกระบบปฏิบัติการ ระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการติดตั้งไว้ในเครื่องฟรี รวมทั้งซอฟท์แวร์และแอพพลิเคชั่นที่ผลักดันให้เกิดรูปแบบการใช้งานใหม่ๆ ไฮไลท์ในปีนี้แบ่งออกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้

คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป

รูปลักษณ์ใหม่ที่ดูสวยงามของมินิพีซี และเดสก์ท็อปแบบออลอินวัน (AIOs) เป็นตัวกระตุ้นที่สร้างความตื่นเต้นให้กับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเดสก์ท็อป และอินเทลก็ช่วยให้พีซีมีคความสามารถในการทำงานใหม่ๆ ตามที่ผู้บริโภคและธุรกิจต้องการ ผู้ใช้งานที่ชื่นชอบและติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอเป็นส่วนสำคัญที่สุดของการพัฒนาคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป และ อินเทลกำลังประกาศถึงแนวทางแผนการพัฒนาสำหรับคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปโดยเฉพาะ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2556 แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจเดสก์ท็อปของอินเทลที่ยังมีอยู่ ด้วยยอดขายของเดสก์ท็อปเพิ่มขึ้นร้อยละ 71เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว

ความต้องการที่ขยายตัวในรูปลักษณ์ใหม่ของเดสก์ท็อปได้ขับเคลื่อนให้เกิดการการเติบโตในตลาด และแสดงให้เห็นว่าคนต้องการดีไซน์ที่สร้างสรรค์ ซึ่งสามารถใช้ศักยภาพและฟีเจอร์ของโปรเซสเซอร์จากอินเทลอย่างเต็มรูปแบบ จากการใช้งานของทั้งมินิ/ไทนี่พีซี ในสถานที่ที่คาดไม่ถึง เช่น บนเรือหรือในร้านค้าแผงลอย ไปจนถึงระบบเกม สตรีมบอกซ์* (Steambox*) รูปลักษณ์ที่เล็กและฟอร์มแฟคเตอร์ใหม่สำหรับเด้สก์ท็อป หรือ การใช้พีซีแบบ AIO ที่เคลื่อนย้ายได้สะดวกในห้องครัว ซึ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้ให้ประโยชน์อย่างแท้จริง การต่อยอดจากดีไซน์ใหม่นั้น อินเทลได้ทำงานร่วมกับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์หลายคนเพื่อมอบแอพพลิเคชั่นใหม่ที่เหมาะกับการใช้งานแบบ multi-user, multi-touch (MU/MT) เช่น บอร์ดเกม และแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่เหมาะสำหรับขนาดของเครื่องและความสามารถในการรองรับระบบสัมผัสในพีซีแบบ AIO

ปีนี้อินเทล เตรียมเปิดตัว5th Gen Intel® Core™ processor(อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 5) ซึ่งจะมาพร้อมกับระบบกราฟฟิกIntel® Iris™ Pro(อินเทล ไอริสโปร)ที่จะนำประสบการณ์กราฟฟิกอันน่าตื่นตาตื่นใจมาให้ผู้ใช้งานโดยไม่ต้องใช้การ์ดกราฟฟิกเสริม ทำให้ผู้ใช้งานสามารถตื่นตากับกราฟฟิก 3 มิติขั้นสูง รวมทั้งยังสามารถทำให้ผู้ใช้งานสามารถตัดต่อภาพและวิดีโอขั้นสูงได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถแสดงผลวิดีโอความคมชัดระดับ 4K Ultra HD ได้อย่างเยี่ยมยอด

อุปกรณ์โมบายล์

อุปกรณ์ทูอินวัน (2in1)

อุปกรณ์ทูอินวันคือ นวัตกรรมของคอมพิวเตอร์แบบพกพาแนวใหม่ที่หลีกหนีความจำเจ มีดีไซน์ล้ำยุค มีเทคโนโลยีล่าสุด สามารถเป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์และแท็บเล็ตในเวลาเดียวกัน เป็นลูกเล่นใหม่ที่ทำให้มีความโดเด่นเป็นที่น่าจับตามองคุณสมบัติอันโดดเด่นของอุปกรณ์ทูอินวัน ได้แก่ ประสิทธิภาพในการตอบสนองอย่างรวดเร็วจากระบบสัมผัส การทำงานหลายอย่างพร้อมกันอย่างไม่สะดุด อายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้น การนำเสนอภาพกราฟิกคุณภาพสูง (HD) และระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม ความชาญฉลาดในเรื่องของประสบการณ์การสัมผัส ซึ่งรวมถึงการนำเอาหน้าจอระบบสัมผัสประสิทธิภาพสูงมาใช้ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และการแสดงผลบนหน้าจอเป็นไปอย่างง่ายและสนุกสนานมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้อินเทลได้นำเสนอเทคโนโลยีแนวใหม่ ที่มอบประสบการณ์การใช้งานอย่างเสมือนจริง เป็นธรรมชาติและมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น อย่าง Intel® Edisonหรือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยี Intel® Quark มาพร้อมคุณสมบัติการเชื่อมต่อแบบไร้สายรวมถึงรองรับระบบปฏิบัติการที่หลากหลายIntel®RealSenseหรือ ระบบประสาทสัมผัสเสมือนมนุษย์ที่มาสู่อุปกรณ์ของอินเทลในตระกูลผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ใหม่ จะติดตั้งมากับอุปกรณ์ทูอินวัน, แท็บเล็ต, อัลตร้าบุ๊ก™, โน๊ตบุ๊ก และออลอินวัน จากหลากหลายแบรนด์อย่าง Acer*, ASUS*, Dell*, Fujitsu*, HP*, Lenovo*และNEC* ซึ่งจะเริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปี 2014

แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน...ตัวเล็กแต่ยังมาแรง

ในปี 2014 มีการคาดการณ์ว่าตลาดอุปกรณ์โมบายล์เช่น แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนจะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญโดยอินเทลจะก้าวเข้าไปมีบทบาทให้มากยิ่งขึ้น และอินเทลเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการเติบโตของตลาดแท็บเล็ต ซึ่งเมื่อรวมกับสถาปัตยกรรมระดับไมโครอย่างซิลเวอร์มอนท์ ที่มีการเปิดตัวไปแล้ว จะทำให้ตลาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสถาปัตยกรรมดังกล่าวให้ประสิทธิภาพการประมวลผลสูงกว่ารุ่นที่วางจำหน่ายในปัจจุบันถึงประมาณ 3 เท่า หรือประหยัดพลังงานถึงประมาณ 5 เท่าเมื่อใช้งานในระดับการประมวลที่เท่ากัน2ซึ่งแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน ที่ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังของอินเทล จากหลากหลายแบรนด์ ได้ทยอยเปิดตัวให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสถึงประสิทธิภาพอันทรงพลัง ซึ่งสามารถรองรับทั้งแอนดรอยด์และวินโดวส์ ตอบโจทย์การใช้งานหลากหลายรูปแบบ

ในปีนี้ อินเทลได้เปิดตัว SoCขนาด 64 บิต ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานและการทำงานที่ทรงพลังมากขึ้นกว่าเท่าตัว และจะมีการเปิดตัว อะตอม โปรเซสเซอร์ใหม่ ชื่อรหัส “SoFia” โดยผู้ผลิตหลายรายที่เป็นพันธมิตรกับอินเทลจะทยอยเปิดตัวแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนที่ได้รับการพัฒนาและมาพร้อมกับนวัตกรรมใหม่ การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตอย่างรวดเร็วและไม่สะดุดในยุค Internet of Things เพื่อยกระดับประสบการณ์ในการใช้งานได้อย่างดีเยี่ยม จึงถือเป็นสิ่งที่น่าจับตามองในวงการไอทีโดยในปีนี้จะอุปกรณ์โมบายล์จากหลากหลายแบรนด์รวมทั้ง ASUS*, Acer*, Samsung*, Dell*, Lenovo* และอื่นๆ

Mobile Specialty Retail หรือ MSR

อินเทลได้เข้าสู่ตลาดแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนอย่างเต็มรูปแบบและได้วางกลยุทธ์เพื่อเจาะตลาดแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนอย่างเต็มที่ ผ่านช่องทางของร้านค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อยที่จำหน่ายอุปกรณ์โมบายล์ที่เรียกว่า Mobile Specialist Retail หรือ MSRซึ่งจะเพิ่มความเชื่อมั่นในการซื้ออุปกรณ์โมบายล์ที่ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังของอินเทล และจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายตามมาอีกมากมายในปีนี้

ดาต้า เซ็นเตอร์ และ บิ๊กดาต้า

อินเทล®ซีออน™E7 v2 โปรเซสเซอร์ ช่วยยกระดับการประมวลผลสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่

การเปิดตัวของ อินเทล®ซีออน™E7 v2 โปรเซสเซอร์ เป็นการสนับสนุนให้หลากหลายธุรกิจ ตั้งแต่ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจด้านสุขภาพ การธนาคาร ไปจนถึงธุรกิจการขนส่งและเดินทาง ให้ได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากการแปลงข้อมูลไปสู่ความเข้าใจเชิงลึกที่ปฏิบัติได้ การใช้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์นั้นจะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างๆ สามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลที่ดีขึ้นในทุกระดับ อินเทล®ซีออน™ E7v2 โปรเซสเซอร์นี้มีความสามารถในการวิเคราะห์และประมวลผลที่สูงขึ้น รวมถึงสามารถจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาลและหลากหลายได้ เพื่อทลายขีดจำกัดต่างๆ ของการวิเคราะห์ข้อมูลที่หลายธุรกิจประสบอยู่ก่อนหน้านี้

บิ๊กดาต้า เปิดทางให้นวัตกรรมใหม่ๆได้แจ้งเกิดอินเทลเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่อุปกรณ์จำนวนกว่า 15,000 ล้านเครื่องจะสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าคำถามที่สำคัญคือจะจัดการกับข้อมูลและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรคำถามนี้ทำให้ผู้คนในแวดวงอุตสาหกรรมไอทีหันมาให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์เพื่อหาความเป็นไปได้และการจัดการกับข้อมูลดิบ บิ๊กดาต้าจะช่วยให้บริษัทมีการจัดการกับข้อมูลมหาศาลอย่างชาญฉลาดขึ้น และมีความได้เปรียบทางธุรกิจ ซึ่งหน่วยงานต่างๆของรัฐก็จะเดินไปในทิศทางเดียวกัน

บิ๊กดาต้า และInternet of Things (IoT) นั้น เปิดโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้กับหลายธุรกิจ เพราะองค์กรเหล่านั้นสามารถเติบโตขึ้นได้จากการพัฒนาบริการใหม่ๆ ที่สร้างรายได้ โดยอาศัยข้อมูลที่องค์กรสามารถเรียกดูได้ ยังมีการคาดการณ์ว่าตลาดเทคโนโลยีและด้านการบริการที่เกี่ยวข้องกับบิ๊กดาต้านั้น จะเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 27 ต่อปี และจะเติบโตไปจนถึงปี 2560 โดยจะมีมูลค่าสูงถึง 32,400 ล้านเหรียญสหรัฐ3ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนอัตราการเติบโตนี้คือ ข้อมูลอันมหาศาลที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในอุปกรณ์ต่างๆ (IoT) ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนสูงถึง 3 หมื่นล้านเครื่องในปี 25633ซึ่งจะทำให้การลงทุนเพื่อระบบการวิเคราะห์และประมวลผลขั้นสูงนั้น ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ตัวอย่างเช่น หน่วยงานแผนกไอทีของอินเทลเอง คาดว่าจะสามารถลดต้นทุน และเพิ่มกำไรขั้นต่ำได้ถึงเกือบ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2559 จากการใช้ประโยชน์ของโซลูชั่นการวิเคราะห์ข้อมูล โดยอินเทลจะนำเสนอ 3 ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม อินเทล ซีออน ซึ่งได้รับการพัฒนาจากเทคโนโลยี 22 นาโนเมตร ได้แก่ Intel Xeon processor E3-1200v3 product family (Haswell), Intel Xeon processor E5-2600 v2 product family (Ivy Bridge-EP) และ Intel Xeon processors E7 v2 family ติดต่อ:สายวรุณถิรนันท์รุ่งเรือง วรรณวิมล สินทราพรรณทรบริษัทอินเทลไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทคาร์ลบายร์แอนด์แอสโซซิเอทส์โทรศัพท์: (66 2) 648-6022 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501 e-Mail: [email protected] e-Mail:[email protected]

1. Intel CFO Commentary Q4’2013 at intel.com

2. Based on the geometric mean of a variety of power and performance measurements across various benchmarks. Benchmarks included in this geomean are measurements on browsing benchmarks and workloads including SunSpider* and page load tests on Internet Explorer*, FireFox*, & Chrome*; Dhrystone*; EEMBC* workloads including CoreMark*; Android* workloads including CaffineMark*, AnTutu*, Linpack* and Quadrant* as well as measured estimates on SPECint* rate_base2000 &SPECfp* rate_base2000; on Silvermont preproduction systems compared to Atom processor Z2580. Individual results will vary. SPEC* CPU2000* is a retired benchmark. *Other names and brands may be claimed as the property of others.

3.Source: IDC WW Big Data Technology and Services 2013-2017 Forecast, Doc #244979, Dec 2013