ศ.ศ.ป.สาน “Innovative Craft Award ครั้งที่ 3” คัด 10 สุดยอดผลงานโชว์นวัตศิลป์นานาชาติ 2014

01 Apr 2014
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. จัดโครงการประกวดผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ ครั้งที่ 3 หรือ Innovative Craft Award 2014ภายใต้แนวคิดSimple Luxury “หัตถศิลป์ไทยร่วมสมัย เรียบง่ายแต่ทรงคุณค่า”หวังยกระดับงานหัตถกรรมไทย เปิดเวทีแข่งขัน สร้างโอกาสให้ช่างผู้ผลิตและนักออกแบบ แสดงศักยภาพนำเสนอผลงานเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ๆ ผสมผสานวัสดุและเทคนิคการผลิตจากภูมิปัญญาดั้งเดิมเพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ประกาศผลชนะเลิศในวันนี้ (27 มี.ค.) พร้อมนำ 10 สุดยอดผลงานที่ผ่านการคัดเลือกมาจัดแสดงในงานเทศกาลนวัตศิลป์นานาชาติ 2014 หรือ IICF 2014 ระหว่างวันที่ 27 – 30 มีนาคม 2557 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
ศ.ศ.ป.สาน “Innovative Craft Award ครั้งที่ 3” คัด 10 สุดยอดผลงานโชว์นวัตศิลป์นานาชาติ 2014

นางพิมพาพรรณ ชาญศิลป์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. กล่าวว่า ได้จัดโครงการประกวดผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ได้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็น ครั้งที่ 3 โดยคัดสรรทีมนักออกแบบและชุมชนที่สร้างสรรค์งานที่มีรูปแบบใหม่ๆ มีการใช้เทคนิคและวัสดุจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทยผสมผสานแนวคิดร่วมสมัยสามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งการดำเนินงานจัดการประกวดผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ในครั้งนี้ ศ.ศ.ป. มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางงานหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ และผลักดันผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมของไทยให้ได้รับการยอมรับและสามารถแข่งขันในระดับสากลได้อย่างภาคภูมิ

สำหรับเกณฑ์การประกวดฯ ครั้งนี้ ได้กำหนดในรูปแบบ “ทีม” แต่ละทีมประกอบด้วยนักออกแบบอย่างน้อย 1 คน และช่างฝีมือ 1 คน ภายใต้กลุ่มผลงาน 9 สาขา ประกอบด้วย เครื่องไม้ เครื่องจักสาน เครื่องดิน เครื่องทอ(เครื่องผ้า) เครื่องรัก เครื่องโลหะ เครื่องหนัง เครื่องกระดาษ และเครื่องหินตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเช่น กลุ่มธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร หรือที่พักอาศัย ในรูปแบบประติมากรรม (Sculpture) หรือศิลปะการจัดวาง (Installation Art) ภายใต้หัวข้อ Simple Luxury “หัตถศิลป์ไทยร่วมสมัย เรียบง่ายแต่ทรงคุณค่า”

“ปีนี้มีผู้ที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวดจำนวน 199 ทีมจากทั่วประเทศ ซึ่งมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้คัดเลือกผลงานประกวดให้เหลือ 10 ทีม ได้แก่ ทีม “Talung Lamp” โคมไฟที่พัฒนารูปแบบจากหนังตะลุง พับขึ้นรูปจาก 2 มิติ เป็น 3 มิติมีการประยุกต์ใช้ลวดลายการสร้างสรรค์หนังตะลุงให้ผลิตง่ายขึ้นทีม“Mata Palas”สร้างสรรค์ผลงานดินและไม้ปั้นและกลึง ในรูปแบบจากกรงนกเขาชวา เกิดเป็นผลงานสำหรับตกแต่งบรรยากาศในห้อง สัมผัสความคลาสสิกร่วมสมัย และกลิ่นไอศิลปะมลายูทีม“ฝันถึงสายลม”การออกแบบเก้าอี้ให้มีลักษณะที่ทำให้รู้สึกคล้ายสายลมใช้สำหรับนั่งหรือเอนหลังกึ่งนอนในแบบ Low style โดยใช้รูปแบบงานเครื่องไม้ในการขึ้นรูปทรงและใช้เทคนิคงานเครื่องรักในการตกแต่งผลงานทีม“Chedi Side Table”เป็นการเผยแพร่ภูมิปัญญาได้แก่ การตัดไม้อย่างประณีตและแม่นยำ ช่วยสร้างชิ้นงานโดยไม่มีเศษไม้เหลือ และเพิ่มคุณค่าของชิ้นงานด้วยการ ลงรักปิดทองที่หน้าตัดของไม้

ทีม“เรื่องเล่าจากรังไหม”งานประติมากรรมจากกระดาษไหม ตัดและพับขึ้นรูปเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของวงจรชีวิตกระดาษไหมนี้มีส่วนผสมจากรังไหมที่เหลือใช้จากการผลิต และนำมาทำเป็นกระดาษดังกล่าวทีม “งอบ”โคมไฟไม้ไผ่สานขึ้นรูปศึกษาและพัฒนาจากลวดลายและเทคนิคการจักสานของหมวกชาวล้านนา ต่อยอดภูมิปัญญาเครื่องจักสานท้องถิ่นทีม “Peacock’s Crest”รูปทรงของดอกงดงามคล้ายกับนกยูงรำแพนหาง ส่วนเทคนิคงานหนังตะลุงนั้นเป็นความเรียบง่ายด้วยแผ่นหนังวัวที่อาจจะมีคุณค่าไม่มากนัก แต่ด้วยงานฝีมือตอกหนังของช่างที่ตั้งใจทีม“พัสตรา”การออกแบบที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเครื่องแต่งกายของไทยในอดีต การพับ การทบ การจับจีบ การสร้างลวดลายลงบนผ้าด้วยเทคนิคต่างๆ รวมถึงเทคนิคการอบร่ำผ้าแบบโบราณ มีการใช้กระดาษเยื่อฝ้ายที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ นำมาผลิตด้วยเทคนิคการประดิษฐ์เครื่องนุ่งห่มไทยแบบโบราณ

ทีม“เป็นหนึ่งเดียว”ความเชื่อและความศรัทธาในธรรมชาติ ของชาวภูไทที่แสดงออกทางการย้อมคราม ที่มีการนำเทคนิคการทอ และการย้อมครามที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น โดยใช้ลวดลายพื้นบ้านที่มาจากธรรมชาติ มาใช้ผสมผสานกับเทคนิคการกัดสีสมัยใหม่ เพื่อให้เกิดมิติของสีมากยิ่งขึ้นทีม “โคมไฟดอกบัว”งานฝีมือของช่างย่านวัวลายซึ่งถนัดในงานดุนเงิน ทำลวดลายนูนสูงและฉลุหรือเจาะให้เป็นลวดลายต่างๆ และมีลายของพื้นบ้านวัวลายซึ่งเป็นลวดลายเฉพาะ นำมาผสมผสานกับรูปทรงที่ทันสมัยที่คลี่คลายจากดอกบัวให้มีรูปทรงและลวดลายที่เรียบง่ายแต่ยังคงเหลืออัตลักษณ์ของบ้านวัวลาย”

ซึ่งทีมชนะเลิศ ได้แก่ ทีม“Mata Palas” (มาตา พาลัส) ออกแบบโดยนายเอ็มโซเฟียน เบญจเมธา และช่างผู้ผลิต นายชอบรี ทาทา ผลงานโคมไฟ ที่สร้างสรรค์มาจากดินและไม้ปั้นและกลึงมีรูปแบบจากกรงนกเขาชวา และสัมผัสได้ในกลิ่นไอศิลปะมลายู โดยได้รับเงินรางวัล จำนวน 100,000 บาท พร้อมใบเกียรติบัตรและโล่รางวัล ส่วนทีม “Talung Lamp” (ตะลุง แลมป์) ออกแบบโดย ผศ.เรวัติ สุขสิกาญจน์ และช่างผู้ผลิต นายสันติ เทพจิตร ผลงานโคมไฟที่พัฒนารูปแบบมาจากหนังตะลุง ได้รับรางวัล Popular Vote ได้รับเงินรางวัล จำนวน 30,000 บาท

โดยทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 10 ทีมได้จัดแสดงผลงานภายในงานเทศกาลนวัตศิลป์นานาชาติ (International Innovative Craft Fair 2014) หรือ IICF 2014 ระหว่างวันที่ 27-30 มีนาคม 2557 ณ อาคาร 103 – 104 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา

HTML::image( HTML::image( HTML::image( HTML::image( HTML::image(