ศ.ศ.ป. เชิดชูทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี2557

13 Apr 2014
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. มุ่งหวังที่จะรักษางานหัตถกรรมของไทยให้คงอยู่ต่อไป จึงได้จัดกิจกรรม “เชิดชูทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้คัดเลือก “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” จำนวน 11 ท่าน ผู้สืบสายเลือดโดยตรง จากครูช่าง และครูศิลป์ของแผ่นดินที่ได้รับการยกย่องจาก ศ.ศ.ป.หรือเป็นทายาทของผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมใน 9 สาขา คือ สาขาเครื่องไม้ เครื่องจักสาน เครื่องดิน เครื่องทอ เครื่องรัก เครื่องโลหะ เครื่องหนัง เครื่องกระดาษ และเครื่องเงิน ซึ่งปัจจุบันยังคงดำรงกิจการ หรือประกอบการงานศิลปหัตถกรรมอย่างต่อเนื่อง ดังนี้1.นางสาววัฒนา แก้วดวงใหญ่ ช่างทำหัวโขน ทายาทปรมาจารย์ด้านทำหัวโขนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์2.นายมนัทพงค์ เซ่งฮวด ช่างจักสานกระจูดรุ่นใหม่แห่งเมืองพัทลุง เจ้าของแบรนด์ หัตถกรรมกระจูดวรรณี3.นางสาวนภารัตน์ ทองเสภี ช่างจักสานย่านลิเภานครศรีธรรมราช4.นายณัฐพล นันทะสุธา ช่างทอผ้าขิดไหม หนองบัวลำภู5.นางคำเตียง เทียมทะนงค์ ช่างทอผ้าไหมมัดหมี่ นาโพธิ์6.นางอุบลรัตน์ ชาพา ช่างทอผ้าแพรวา กาฬสินธุ์7.นายวชิระ นกอักษร ช่างถมเมืองนครศรีธรรมราช8.นายมนตรี ภูมิภักดิ์ ช่างทองแหวนกลไลปริศนา9.นายปิยะณัฐ รุ่งสีทอง ช่างทองโบราณแห่งอำเภอพานทอง10.นางสรัญญา สายศิริ ช่างเขียนลายเครื่องเบญจรงค์11.นายวิริยะ สุสุทธิ ช่างแทงหยวกสกุลช่างเพชรบุรี
ศ.ศ.ป. เชิดชูทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ภูมิใจที่มีส่วนร่วมในการสืบสานงานหัตถกรรมพื้นบ้านของไทย โดยสนับสนุนให้เกิดการสืบสาน เฟ้นหา พร้อมทั้งส่งเสริมทายาทครูช่างที่สืบทอดผลงานจากบรรพบุรุษให้คงอยู่สืบไป ด้วยการพัฒนาและต่อยอดงานศิลปหัตถกรรมไทยให้เป็นที่ยอมรับ มีความร่วมสมัยน่าสนใจด้วยดีไซน์ รูปแบบที่สร้างสรรค์ เข้าถึงกลุ่มคนที่มีความชอบและวัยที่แตกต่าง จนส่งผลให้ผลงานศิลปหัตถกรรมไทยเข้าสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ สร้างรายได้ สร้างแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มช่างฝีมือให้มีอาชีพ เลี้ยงครอบครัว และมีกำลังใจในการสืบสานงานศิลป์อันเป็นมรดกตกทอดอันล้ำค่าสืบไป