ประเทศไทยยืนอยู่ท่ามกลาง
ความขัดแย้งมาร่วม 10 ปี หลาก
งานวิจัย หลายเวทีปฏิรูปหยิบยกปัญหาความเหลื่อมล้ำว่าเป็น
หัวใจหลักของความขัดแย้งหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา
สถาบันอนาคตไทยศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญของความเหลื่อมล้ำนี้จึงเป็นที่มาของผลการศึกษาชิ้นล่าสุดเรื่อง “8ข้อเท็จจริงความเหลื่อมล้ำในไทย” ซึ่งมีข้อค้นพบที่น่าสนใจหลายประการ เช่นความเหลื่อมล้ำของไทยที่อยู่ในระดับสูงและไม่ดีขึ้นเลยจากเมื่อสามทศวรรษที่แล้ว รายได้ของครอบครัวยากจนนั้นไล่ตามรายได้ของครอบครัวร่ำรวยไม่ทัน ทำให้ช่องว่างรายได้ของครอบครัวที่รวยที่สุด 10% และครอบครัวที่จนที่สุด 10% ในปัจจุบันสูงถึง 21 เท่า จากที่เคยต่างกัน 20 เท่าจากเมื่อ 25 ปีที่แล้วความเหลื่อมล้ำที่แท้จริงจะต้องสูงกว่าที่รายงาน
ทั่วไปอย่างต่ำ 25% เพราะข้อมูลรายได้ที่นำมาใช้รายงานกันทั่วไปยังไม่ครบ หายไปเกือบ 1 ล้านล้านบาทข้อมูลรายได้ครัวเรือนจากการสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ซึ่งสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาตินั้นน้อยกว่ารายได้ครัวเรือนที่สภาพัฒน์ประมาณการไว้ใน GDP ถึง 0.9 ล้านล้านบาทหรือหายไปราว 12%ของข้อมูลที่สำรวจได้ส่วนที่หายไปคือรายได้ของครอบครัวคนที่มีฐานะเห็นได้จากการที่ข้อมูลจากการสำรวจที่ไม่ได้สะท้อนฐานะการเงินที่แท้จริงของครอบครัวที่ร่ำรวยจากการเปรียบเทียบกับข้อมูลจากแหล่งอื่นเช่นข้อมูลจากนิตยสาร Forbes ที่ทำการรวบรวมมูลค่าสินทรัพย์จากแหล่งต่างๆ ของ 50 มหาเศรษฐีไทย หรือวารสารการเงินการธนาคารที่มีการรายงานเรื่อง “500 เศรษฐีหุ้น” ซึ่งจะทำให้ความแตกต่างของรายได้เฉลี่ยของครอบครัวที่รวยที่สุด 20% และครอบครัวที่จนที่สุด20% นี้เพิ่มขึ้นจาก 11 เท่า เป็น 14 เท่า หรือราว 25%
นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น อันดับความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งของไทยอยู่อันดับท้ายๆ ของโลกประเทศไทยอยู่อันดับ 162 จาก 174 ประเทศ อันดับใกล้เคียงกับประเทศเวเนซูเอลา และอินโดนีเซียกลุ่มใหญ่สุดของครอบครัวที่จนที่สุดไม่ใช่ชาวนาหรือเกษตรกรอย่างที่เราเคยเข้าใจ แต่เป็นครอบครัวคนชรา ผู้แทนไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนในแง่ฐานะความเป็นอยู่ เพราะทรัพย์สินของครอบครัวสส.โดยเฉลี่ยมีมูลค่ามากกว่าอีก 99.999% ของครอบครัวไทย นี่อาจจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ปัญหาความเหลื่อมล้ำยังแก้ไม่สำเร็จเสียที
ดร.เศรษฐพุฒิ ประธานกรรมการบริหาร สถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ผลจากรายงาน เราก็จะเห็นว่าความเหลื่อมล้ำในไทยนั้นสูง อยู่กับเรามานาน และมีหลายมิติ แต่ที่สำคัญที่สุดที่ต้องมุ่งเน้นแก้ ก็คือความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส เพราะมันเป็นต้นตอที่สำคัญที่จะทำให้คนรู้สึกไม่เท่าเทียม และจะนำไปสู่ความไม่สงบ ความขัดแย้งได้”
เปรียบเสมือนกับการวิ่งแข่ง ผลแพ้ชนะนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้ตามกติกาว่าคนที่วิ่งเร็วที่สุด และเข้าเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าโอกาสของแต่ละคนไม่เท่ากัน ก็เหมือนกับจุดเริ่มต้นของแต่ละคนไม่เท่ากัน และยิ่งถ้าโอกาสของคนเหลื่อมล้ำมากขึ้นเรื่อยๆกลายเป็นว่าบางคนอาจจะไม่มีโอกาสได้ลงแข่งเลยด้วยซ้ำ “ถ้ากติกาการแข่งขันยุติธรรม ให้โอกาสทุกคนได้ลงแข่ง และเริ่มต้นจากจุดที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ไม่เท่ากันที่ปลายทางก็เหมือนกับการแข่งขันที่มีคนแพ้คนชนะก็เป็นเรื่องที่คนจะยอมรับได้”ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวทิ้งท้าย