อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน องค์กรธุรกิจส่วนมากยังไม่สามารถ “ก้าวทัน” เทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านั้นได้ แม้ว่าจะจัดหาอุปกรณ์และออกแบบเน็ตเวิร์กใหม่สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ให้ตอบสนองความต้องการใช้งานคลาวด์และเวอร์ช่วลไลเซชั่นก็ตาม โดยมากแล้ว องค์กรธุรกิจจะเลือกใช้เว็นเดอร์เพียงเจ้าเดียวเพื่อเลี่ยงปัญหาด้านการทำงานร่วมกันและการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ในเน็ตเวิร์กเดิม แม้ว่าจริงๆ แล้ว จะมีเว็นเดอร์เจ้าอื่นที่ดีกว่าก็ตาม
จากรายงานวิจัยของบริษัทการ์ทเนอร์ ระบุว่าในปี 2016 การทำงานกว่า 82% ของเซิร์ฟเวอร์จะปรับเปลี่ยนเป็นระบบเวอร์ช่วล บริษัทควอลคอมม์ยังคาดการณ์อีกว่ายอดขายสมาร์ทโฟนทั่วโลกจะพุ่งสูงถึง 5 พันล้านเครื่องในปีเดียวกันนั่นเอง การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของข้อมูลทำให้เกิดความต้องการพัฒนาเน็ตเวิร์กอย่างเร่งด่วน โดยจะต้องเป็นโครงสร้างพื้นฐานเน็ตเวิร์กมาตรฐานเปิด เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กรธุรกิจสามารถคัดสรรเทคโนโลยีที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด มาใช้ในดาต้าเซ็นเตอร์ของตน
หัวใจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเน็ตเวิร์กครั้งนี้ คือการขับเคลื่อนเทคโนโลยีมาตรฐานเปิดสำหรับเน็ตเวิร์กที่ประกอบขึ้นจากเว็นเดอร์หลากหลายเจ้า จากรายงานเรื่อง “Debunking the Myth of the Single Vendor Network” ของการ์ทเนอร์ ระบุว่าต้นทุนการเป็นเจ้าของ (Total Cost of Ownership - TCO) จะลดลงอย่างน้อย 15-25% ในช่วงห้าปีแรกของการปรับสู่ระบบเว็นเดอร์หลายเจ้า นอกจากนี้ ยังลดความซับซ้อน ลดค่าใช้จ่าย และยังช่วยเร่งการพัฒนานวัตกรรมเน็ตเวิร์ก ซึ่งเป็นผลจากการแข่งขันทางธุรกิจของเหล่าเว็นเดอร์นั่งเอง
ความสำคัญของมาตรฐานเปิดสำหรับเน็ตเวิร์ก
เทรนด์ใหญ่สุดของการเปิดโลกเน็ตเวิร์กกิ้ง คือ เอสดีเอ็น
เป็นที่ทราบกันดีว่าคุณประโยชน์ของเอสดีเอ็นมีมากมาย ทั้งความเร็ว ความคล่องตัว การบริหารจัดการแบบองค์รวม และต้นทุนการเป็นเจ้าของที่ต่ำ การใช้เอสดีเอ็นกับเน็ตเวิร์กมาตรฐานเปิดที่มีโปรโตคอลพร้อมรองรับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ จะทำให้องค์กรได้รับประโยชน์จากเอสดีเอ็นมากยิ่งขึ้น งานของซอฟต์แวร์จะไม่ผูกติดหรือขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มของฮาร์ดแวร์อีกต่อไป และยังสามารถควบคุมงานได้จากส่วนกลางและทำงานครอบคลุมทั่วทั้งเน็ตเวิร์กได้ตามต้องการอีกด้วย
สถาบัน Open Networking Foundation หรือ ONF คือหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบดูแลมาตรฐานเน็ตเวิร์กแบบเปิด การนำเอสดีเอ็นไปใช้ และการพัฒนาโปรโตคอล OpenFlow ซึ่งเป็นมาตรฐานการติดต่อสื่อสารอันแรกและอันเดียวที่เป็นกลางสำหรับเว็นเดอร์ทุกราย
สถาปัตยกรรมแบบเปิดที่ใช้โปรโตคอลอย่าง OpenFlow จะเป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรมเน็ตเวิร์กกิ้ง ดังเช่นมาตรฐาน x86 สำหรับการประมวลผลที่เคยพลิกตลาดเซิร์ฟเวอร์ให้กลายเป็นสนามรบด้วยการประชันฟีเจอร์ใหม่ๆ โปรโตคอล OpenFlow จะสร้างระบบใหม่ที่องค์กรธุรกิจสามารถจัดซื้อสวิตช์และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างหลากหลายมากขึ้นจากเว็นเดอร์หลายๆ เจ้า ไม่เสียเวลาและเงินลงทุนในการบูรณาการระบบ และมุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถหลักของเน็ตเวิร์กเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงทีนอกจาก OpenFlow แล้ว ยังมีกลุ่มเน็ตเวิร์กกิ้งแบบเปิดอื่นๆ อีก ได้แก่ OpenDaylight (มาตรฐานสำหรับเอสดีเอ็นคอนโทรลเลอร์) และ OpenStack (การใช้งานคลาวด์) ซึ่งทั้งหมดนี้คือสุดยอดนวัตกรรมสำหรับเน็ตเวิร์กกิ้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างแน่นอนเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต
องค์กรธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมเน็ตเวิร์กแบบเดิม เป็นเน็ตเวิร์กที่ใช้ซอฟต์แวร์เป็นศูนย์กลางในการทำงาน ควรพิจารณาประเด็นเทคโนโลยีสำหรับอนาคตด้วย เพื่อป้องกันปัญหาการต้องยึดติดกับเว็นเดอร์เพียงรายเดียวตลอดไป
สำหรับเว็นเดอร์เอง ก็จำเป็นต้องผันตัวเองออกจากการเป็นเจ้าของเน็ตเวิร์กแต่เพียงเจ้าเดียว เน็ตเวิร์กกิ้งแบบเปิดจะสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยี กระตุ้นการสร้างระบบอีโคซิสเต็มสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ และช่วยเร่งการก้าวกระโดดของนวัตกรรม ทำให้มีโซลูชั่นที่หลากหลายในตลาดเน็ตเวิร์กกิ้ง
บริษัท โบรเคด เป็นผู้บุกเบิกตลาดเอสดีเอ็นและเอ็นเอฟวี และยังเป็นผู้สนับสนุนมาตรฐานเน็ตเวิร์กแบบเปิดมายาวนาน เห็นได้ชัดจากโซลูชั่นต่างๆ ที่รองรับมาตรฐานเปิด นอกจากนี้ โบรเคดยังได้พิสูจน์แล้วว่า เทคโนโลยีและเฟรมเวิร์กแบบเปิดจะทำให้ลูกค้าได้รับผลประโยชน์ครบถ้วนจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต “การเปิด” คือหัวใจหลักของกลยุทธ์ธุรกิจของโบรเคด และเป็นรากฐานที่จะทำให้องค์กรธุรกิจได้ “เลือก” อย่างที่ต้องการจริงๆ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit