นางสาวศศิธร กู้พัฒนากุล ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาดองค์กรบริษัทไทยซัมซุงอิเลคโทรนิคส์จำกัด เปิดเผยว่า “หลังจากที่โครงการซัมซุงสร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต Samsung Smart Learning Centerซึ่งเป็นแนวคิดห้องเรียนแห่งอนาคต เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับเด็กและเยาวชนไทยทั่วประเทศได้เริ่มต้นเมื่อปลายปีที่แล้ว ตั้งแต่การส่งมอบนวัตกรรมศูนย์การเรียนรู้แห่งอนาคต Samsung Smart Learning Centerการจุดประกายความคิดผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักเรียน คุณครู และผู้บริหาร รวมทั้งการสร้างพลังการเรียนรู้ ผ่านการทำโครงการในเรียน (In-school Project) ตามความสนใจของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ วันนี้โครงการซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคตได้เดินทางมาจนถึงช่วงท้ายของโครงการในปีแรกแล้ว ซัมซุงรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับทั้ง 10 โรงเรียนนำร่องพร้อมด้วยชุมชนจัดกิจกรรมวันแห่งการค้นพบหรือDiscovery Dayเพื่อเป็นเวทีแสดงผลงานการค้นพบของเด็กนักเรียนในโครงการที่ร่วมกันวางแผน พัฒนาและผลิตออกมาในรูปแบบของสื่อสารคดีสั้นกว่า 60 เรื่อง โดยเนื้อหาของการค้นพบจากเด็กนักเรียน มีความหลากหลายตั้งแต่เรื่องใกล้ตัว เช่น อาหาร อาชีพท้องถิ่น ปัญหาในชุมชนไปจนถึงวัฒนธรรม ศิลปะประจำท้องถิ่น ซึ่งคนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ และได้รับประโยชน์จากโครงการที่เด็กนักเรียนได้สร้างสรรค์ขึ้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงการพัฒนา ความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งความก้าวหน้าของเด็กๆ”
สำหรับโรงเรียนต้นแบบจำนวน 10 แห่งที่ซัมซุงได้ดำเนินโครงการนำร่องในการสร้างศูนย์การเรียนรู้แห่งอนาคต Samsung Smart Learning Center ในปีแรก ได้แก่ โรงเรียนบ้านเข็กน้อย จ.เพชรบูรณ์, โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จ.ลพบุรี, โรงเรียนภูกระดึงวิทยาคม จ.เลย, โรงเรียนพรหมานุสรณ์ จ.เพชรบุรี, โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย จ.ขอนแก่น,โรงเรียนอนุบาลบ้านบางละมุง จ.ชลบุรี, โรงเรียนวัดทุ่งหลวง จ.สุราษฎร์ธานี, โรงเรียนเทิงวิทยาคม จ.เชียงราย,โรงเรียนขลุงรัชดาภิเษก จ.จันทบุรี และโรงเรียนคลองบ้านพร้าว จ.ปทุมธานี
อ.กัณจณา อักษรดิษฐ์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการสำหรับนักเรียนโรงเรียนโรงเรียนเทิงวิทยาคมจ.เชียงรายกล่าวว่า “โครงการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาชุมชนจากฝีมือเด็กนักเรียนโรงเรียนเทิงวิทยาคมจ.เชียงราย ที่ได้เข้าร่วมโครงการซัมซุงสร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต 5ใน 6โครงการนั้นล้วนเกี่ยวข้องกับแม่น้ำอิง ด้วยสภาพปัจจุบันที่ชุมชนที่อาศัยในลุ่มแม่น้ำอิงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดปัญหาด้านการจัดการทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนในชุมชนในเรื่องขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค แหล่งอาหาร รายได้ ส่งผลให้เศรษฐกิจของคนในชุมชนแย่ลง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนด้วย ดังนั้นในปี 2548 จึงได้มีการจัดตั้งชมรมขึ้นโดยนักเรียนโรงเรียนเทิงวิทยาคม ภายใต้ชื่อ “เยาวชนคนรักษ์แม่น้ำอิง” เพื่อสังเกตปัญหา ตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น และแก้ปัญหาร่วมกัน แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินการของชมรมยังขาดการเก็บข้อมูลและองค์ความรู้ในเชิงวิจัยที่สามารถขยายผลความรู้ให้กับชุมชนได้ซึ่งหลังจากที่โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการซัมซุงสร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคตเด็กๆ จึงได้เรียนรู้แนวทางการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน(Problem-based Learning)อีกทั้งยังได้รับมอบนวัตกรรมศูนย์การเรียนรู้แห่งอนาคตSamsung Smart Learning Centerซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญที่เติมเต็มให้การดำเนินการของชมรมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพราะเด็กๆ มีอุปกรณ์สำหรับเก็บและสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมถึงได้รับองค์ความรู้ที่ถูกต้องนักเรียนจึงสามารถถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ที่ได้รับระหว่างพัฒนาโครงการมาเผยแพร่ให้กับชุมชนได้รับรู้ได้อย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนดังนั้นคนในชุมชนจึงสามารถนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนต่อไป”
สารวัตรกำนันศุภกร กอผจญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 ตำบลสันทรายงามกล่าวว่า “ปัจจุบันได้เกิดปัญหาวิกฤติสถานการณ์น้ำในแม่น้ำอิงซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนรวมทั้งระบบนิเวศน์พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำปัญหาเกิดขึ้นจากการใช้น้ำในการเพาะปลูกในหน้าแล้งการบุกรุกพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวจนทำให้เกิดการพังทลายของตลิ่งสารเคมีจากการเกษตรการทำฝายขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำอิงทำให้เกิดน้ำแห้งในฤดูแล้งและกั้นช่องทางการอพยพของพันธุ์ปลาและการลักลอบหาปลาแบบผิดวิธีอย่างไรก็ตามคนในชุมชนก็ได้พยายามร่วมกันทำกิจกรรมที่สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้สถานการณ์และปัญหาเพื่อหาทางออกและความร่วมมือ อันนำไปสู่การรณรงค์เผยแพร่การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้คนในท้องถิ่นและสาธารณชนได้รับรู้สถานการณ์แม่น้ำอิงและเกิดการตระหนักและคิดทบทวนการจัดการทรัพยากรในลุ่มน้ำอิงตลอดเวลาที่ผ่านมา ดังนั้นเราจึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่เด็กๆ ในท้องถิ่นซึ่งเป็นอนาคตของชุมชนให้ความสำคัญเกี่ยวกับแม่น้ำอิง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงผู้คนตั้งแต่สมัยโบราณ เราเชื่อว่าโครงการที่เด็กๆ ทำขึ้นมานั้นจะมีส่วนช่วยในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรและรับรู้ปัญหาสถานการณ์วิกฤติแม่น้ำอิงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน”
ด.ช. รณชัย คำปิน1 ในนักเรียนแกนนำโครงการซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคตโรงเรียนเทิงวิทยาคมจ.เชียงรายกล่าวว่า “หลังได้ร่วมเวิร์คช็อปกับโครงการซัมซุงสร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต เราทุกคนได้รับมอบหมายให้สร้างสรรค์โครงการเพื่อพัฒนาชุมชนที่อาศัยอยู่ เราได้นำเอากระบวนการเรียนรู้ที่เรียกว่าProblem-based Learningหรือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานซึ่งพวกเราได้ลองลงมือปฏิบัติเองสร้างความรู้ที่เกิดจากความเข้าใจของตนเองและได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้นและหลังจากที่พวกเราได้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงนำมาวิเคราะห์และพัฒนาแนวทางแก้ไขด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีและได้นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับโครงการโดยเริ่มจากการลงสำรวจพื้นที่สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของแม่น้ำอิง สัมภาษณ์คนในชุมชน ซึ่งทำให้เราพบว่าคนในชุมชนล้วนใช้ประโยชน์จากแม่น้ำอิง ไม่ว่าจะเป็น เพื่อการอุปโภค บริโภค การหารายได้จากการเกษตรและประมง การพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำอิง และปัญหาที่พบคือคนในชุมชนขาดความสนใจในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูแม่น้ำอิง ดังนั้นเราจึงได้ทำโครงการเกี่ยวกับแม่น้ำอิง ได้แก่1. การใช้น้ำในแม่น้ำอิง 2. ความหลากหลายของพันธุ์ปลาในแม่น้ำอิง 3. ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำอิง 4. ผลกระทบจากผู้ที่ใช้น้ำในแม่น้ำอิง 5. รายได้สุทธิจากแม่น้ำอิง และ6.กลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อนำผลิตผลของโครงการไปเผยแพร่ความรู้ให้กับคนในชุมชนต่อไป”
น.ส.จุฬารัตน์ อินต๊ะสินอีก1นักเรียนแกนนำโครงการซัมซุงสร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคตโรงเรียนเทิงวิทยาคมจ.เชียงรายกล่าวว่า “ผลงานสื่อสารคดีสั้นเพื่อเผยแพร่โครงการเกี่ยวกับแม่น้ำอิงที่ เราสร้างสรรค์ขึ้นสำเร็จลุล่วงได้เพราะเราได้ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมศูนย์การเรียนรู้แห่งอนาคตอย่างเต็มที่ หลังจากที่เราพบปัญหา เราได้ทำการสืบค้นข้อมูลและได้เก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการที่ทำ เรามีความเชื่อและมั่นใจว่าผลงานโครงการที่เราสร้างสรรค์ขึ้นจะสามารถช่วยให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญในการร่วมกันอนุรักษ์แม่น้ำอิงให้คงอยู่ต่อไป เพื่อลูกหลานได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำอิงในอนาคต สำหรับนวัตกรรมศูนย์การเรียนรู้แห่งอนาคตที่โรงเรียนของเรานั้น นักเรียนจะสลับผลัดเวรกันเพื่อเป็นผู้จัดการรับผิดชอบดำเนินงานและบริหารงานต่างๆในนวัตกรรมศูนย์การเรียนรู้ฯเพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ ได้รับการจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยมีการทำทะเบียนบันทึกรายการยืม/คืนอุปกรณ์ประจำวัน เพื่อตรวจเช็คว่าอุปกรณ์อยู่ครบถ้วนหรือไม่ และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมถึงการชาร์ตแบตเตอรี่อุปกรณ์สำหรับพร้อมใช้อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการมาใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในศูนย์การเรียนรู้ฯได้รับความสะดวกในการใช้งาน”
“หลังความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนต้นแบบทั้ง 10แห่งที่เข้าร่วมโครงการซัมซุงสร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคตในปีแรก โดยกว่า 60 โครงการที่นักเรียนได้สร้างสรรค์ขึ้น แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาและความก้าวหน้าของเด็กๆ ที่ได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับจาการเรียนรู้ด้วยตนเองไปต่อยอดเพื่อพัฒนาชุมชนและในปี 2557ซัมซุงจะสานต่อโครงการให้เข้าถึงอนาคตของชาติให้ครอบคลุมทุกๆ จังหวัดทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนโรงเรียนต้นแบบภายใต้โครงการอีก 15โรงเรียนเพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริมการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่21ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยทั้ง 10โรงเรียนนำร่องจะทำหน้าที่เป็นแม่ข่ายการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้กับโรงเรียนข้างเคียง และอีก 15โรงเรียนที่จะเข้าร่วมอีกภายในปีนี้ ซึ่งทางซัมซุงจะเปิดรับเอกสารจากโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการในเดือนกุมภาพันธ์นี้”นางสาวศศิธรกล่าวทิ้งทาย
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์http://www.samsungslc.orgหรือhttps://www.facebook.com/ samsungslc
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit