นายแพทย์พิชัย โชตินพรัตน์ภัทร กรรมการผู้จัดการ ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. อุดรธานี เปิดเผยว่า ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที.อุดรธานีนี้ ถือเป็นการขยายสาขาแรกในประเทศไทย จากเดิมที่เราเน้นขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่าง พม่าและเวียดนามก่อน โดยศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ศูนย์ก่อตั้ง อยู่ที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์ที่มีอัตราความสำเร็จของผู้ที่มาใช้บริการของศูนย์ฯ อยู่ที่ 48% หากเทียบในระดับสากลที่อยู่ในระดับ 38-40%
ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. อุดรธานี เปิดเพื่อตอบรับความต้องการของลูกค้าให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย หรือความพร้อมของทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ โดยภายหลังจากการศึกษาอัตราภาวะสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีบุตรยากในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจัดได้ว่าฐานลูกค้ากลุ่มนี้ได้ให้การตอบรับเป็นอย่างดีเยี่ยม ทำให้เชื่อมั่นในศักยภาพหลายๆด้าน ว่าการเปิดบ้านแห่งใหม่หลังนี้จะเป็นการขยายและรองรับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากในจังหวัดอุดรธานีเอง โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอย่างประเทศลาว ซึ่งถือเป็นการช่วยลดการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรม และเป็นการลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับเด็กที่เกิดมาอันจะส่งผลในระดับประเทศต่อไป
“อุดรธานีเป็นจังหวัดที่มี GDP ค่อนข้างสูง และมีอาณาเขตใกล้กับเพื่อนบ้าน อย่างน้อยถือว่าเป็นศูนย์กลางหลักของแถวอีสานตอนบนด้วย ในแง่เศรษฐกิจหรือการค้า เพราะฉะนั้นในเรื่องกำลังการจับจ่ายใช้สอยมีสูง ซึ่งถ้าเรามาเปิดในจุดตรงนี้ก็ยังมีถิ่นฐานลูกค้าเยอะพอสมควร ประกอบกับทำเลที่ตั้งติดกับเพื่อนบ้าน ซึ่งทำให้การไปมาง่ายและตอบสนองโจทย์ของลูกค้าในละแวกนี้ได้ดี ส่วน GDP ลาวก็โตขึ้นเรื่อยๆ โดยสัดส่วนผู้มาใช้บริการในขณะนี้ 2 ใน 3 เป็นประชากรที่มาจากประเทศลาว ดังนั้น การเปิดหน้าบ้านหรือเปิดศูนย์ให้บริการที่อุดรธานีจึงเป็นการลดความยุ่งยากในการเดินทาง เพราะขั้นตอนจริงๆในการรักษา ใช้ระยะเวลาหลายเดือน เราเลยเลือกมีงานบริการบางส่วนทำในอุดรธานี โดยเราหวังว่าเราจะมีส่วนช่วยในการลดอัตราประชากรที่มีความเสี่ยงในโรคทางพันธุกรรมมากขึ้น เพราะประชากรในจ.อุดรธานีเอง และแถบประเทศเพื่อนบ้านเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีภาวะการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมที่สูงขึ้น อาทิ โรคธาลัสซีเมีย” นายแพทย์พิชัย กล่าว
นายแพทย์พิชัย ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า เจตนารมย์ของทางศูนย์เราคือ ต้องการลดอัตราการเกิดของประชากรที่มีโรคทางการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยเฉพาะเทคโนโลยีการคัดกรองตัวอ่อน (PGD-PCR) ให้ปลอดโรคทางพันธุกรรมก่อนการตั้งครรภ์ อาทิ โรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ค่อนข้างใหญ่มากในเอเชีย ร่วมด้วยเทคนิค CGH เทคนิคที่สามารถตรวจจับโครโมโซมได้ครบทุกคู่ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแท้งซ้ำซาก หรือดาวน์ซินโดรม ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าเด็กที่เกิดมาจะมีความสมบูรณ์และปราศจากโรคอย่างแน่นอน
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit