แอร์บัสบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินชั้นนำของโลก และองค์กรแนวหน้าด้านวิศวศึกษาสภาคณบดีคณะวิศวกรรมโลก (Global Engineering Deans Council: GEDC) ได้ประชาสัมพันธ์เปิดตัวให้มีการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลความหลากหลายในการศึกษาด้านวิศวกรรม “ไดเวอร์ซิตี้ อวอร์ด” ครั้งที่สอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตระหนักถึงคุณค่าของบุคคลที่ได้ปฏิบัติการเชิงรุกในการนำกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลายมาสู่การศึกษาด้านวิศวกรรมในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นรางวัลของความคิดริเริ่มที่สนับสนุนคนรุ่นใหม่โดยไม่คำนึงถึงประวัติ และภูมิหลังให้ได้รับการศึกษาจนประสบความสำเร็จในด้านวิศวกรรมศาตร์ รางวัลไดเวอร์ซิตี้ อวอร์ด นี้ได้รับการพัฒนาและทุนสนับสนุนจากแอร์บัสในความร่วมมือกับสภาคณบดีคณะวิศวกรรมโลก (GEDC) องค์กรแนวหน้าระหว่างประเทศเพื่อการศึกษาด้านวิศวกรรม
จุดมุ่งหมายในระยะยาวคือการเพิ่มความหลากหลายในกลุ่มชนวิศวกรทั่วโลก เพื่อว่าจำนวนของกลุ่มคนที่หลากหลายที่เป็นวิศวกรจะเทียบเท่ากับจำนวนของกลุ่มคนที่หลากหลายทั้งหมดในสังคม ซึ่งคนเหล่านี้ได้ถูกยอมรับว่าคือผู้ขับเคลื่อนในการสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาในอนาคต นอกจากนี้ยังให้แน่ใจว่านักศึกษาจำนวนมากขึ้นมีโอกาสที่จะได้รับประสบการณ์และประโยชน์จากการทำงานกับทีมงานที่มีความหลากหลายในระหว่างการศึกษาของพวกเขา และสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาเข้าร่วมอาชีพการทำงานที่น่าตื่นเต้นที่เปิดโอกาสอยู่ทั่วโลก
“แอร์บัสได้ถูกสร้างขึ้นบนความหลากหลาย เราเริ่มต้นกับประเทศต่างๆที่หลากหลายและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ปัจจุบันเรามีการจ้างงานวิศวกรจากกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลาย” ชาร์ลส์ แชมเปี้ยน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายวิศวกรรมของแอร์บัสกล่าว “และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์คือกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลายนี้เป็นเสมือนทรัพย์สิน ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมความคิดที่เราจำเป็นต้องใช้ในการพัฒนาอนาคตในด้านการบิน เราต้องการที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ในด้านวิศวกรรม และเรากำลังทำงานร่วมกับโรงเรียนด้านวิศวกรรมทั่วโลกเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในระยะยาว”
เมื่อเดือนตุลาคมที่มาผ่าน รางวัลความหลากหลายในการศึกษาด้านวิศวกรรม (ไดเวอร์ซิตี้ อวอร์ด) อย่างเป็นทางการได้มอบให้กับ อานา ลาซาริน จากมหาวิทยาลัยวิชิต้า สเตท ประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับผลงานโปรแกรมต่อเนื่องของเธอในการคัดเลือกสรรหาและคงรักษาไว้ ซึ่งทำให้จำนวนนักศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความหลากหลายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งผลงานของเธอทำให้จำนวนของนักศึกษากลุ่มนี้มีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 91 ในช่วงตลอดระยะ 5 ปีที่ผ่านมา อานา ซาลิน ยังได้รับเลือกจากกลุ่มผู้สมัครและได้รับเงินสนับสนุนการดำเนินงานของเธอเป็นจำนวนเงิน 10,000 เหรียญดอลล่าห์สหรัฐจากแอร์บัส
“ความต้องการทางด้านวิศวกรทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้น เป็นการแสดงให้เห็นว่าเราต้องทำให้คนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถเข้ามาในวงการอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นด้วย” จอห์น เบย์นอน คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ หมาวิทยาลัยแอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย และประธานบริหารสภาคณบดีคณะวิศวกรรมโลก (GEDC) กล่าว “ผู้เข้ารอบสุดท้ายของรางวัลความหลากหลายในการศึกษาด้านวิศวกรรมครั้งที่หนึ่งนั้นได้รับการยอมรับถึงความมุ่งมั่นอันโดดเด่นของพวกเขาในแง่ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ทำให้เกิดความแตกต่างที่แท้จริงในการดึงดูดกลุ่มของนักเรียนที่มีความหลากหลายมากขึ้นให้เข้ามาศึกษา และสำเร็จการศึกษาทางด้านวิศวกรรม เราเฝ้ารอที่จะได้ยินเสียงตอบรับจากผู้สมัครเข้าชิงรางวัลที่เปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจมากขึ้นในปีนี้
การเสนอชื่อสำหรับรางวัลความหลากหลายในการศึกษาด้านวิศวกรรมครั้งที่สองนั้น จะสิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายน พร้อมประกาศรายชื่อในงานการประชุมการศึกษาทางด้านวิศวกรรมโลก (เวิลด์ เอ็นจิเนียริ่ง เอ็ดดูเคชั่น ฟอรั่ม) ที่จัดขึ้นที่ดูไบในเดือนธันวาคม 2557 รางวัลดังกล่าวเป็นการเปิดกว้างให้แก่การทำงานแบบปัจเจกบุคคล หรือวิทยาลัยหรือคณะวิศวกรรม ที่แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมที่นำความหลากหลายในหมู่นักเรียนและ/ หรือผู้จบการศึกษาวิศวกรรมให้มากขึ้น
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit