กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงาน “ลำไยไทยหลากคุณค่า ปี 2556”

11 Sep 2013

กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสกรณ์

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงาน “ลำไยไทยหลากคุณค่า ปี 2556” เพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การบริโภคลำไยที่มีคุณภาพมาตรฐาน หวังช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิตลำไยคุณภาพจาก ภาคเหนือ และภาคตะวันออก

นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ลำไย ปี 2556 ในพื้นที่แหล่งผลิตที่สำคัญใน 8 จังหวัดภาคเหนือ มีปริมาณผลผลิตรวมประมาณ 447,108 ตัน คือ จังหวัดเชียงใหม่ 266,937 ตัน เชียงราย 56,370 ตัน ลำพูน 192,067 ตัน ลำปาง 5,605 ตัน พะเยา 26,685 ตัน แพร่ 2,670 ตัน น่าน 14,890 ตัน และตาก 13,369 ตัน ลดลงจากปี 2555 (473,686 ตัน) ร้อยละ 5.61 ขณะนี้ลำไยในฤดู (เดือนกรกฎาคม – ตุลาคม) ออกสู่ตลาดมากกว่า 90% แล้วผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ปี 2555 เท่ากับ 900 – 1,100 กิโลกรัม ต้นทุนการผลิตลำไย 1 ไร่ปี 2555 เท่ากับ 8,362.07 บาท

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ตระหนักถึงความสำคัญของลำไย ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรอีกชนิดหนึ่งที่มีความอ่อนไหวด้านราคาสูง จำเป็นต้องเร่งระบายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตให้เร็วที่สุด รวมทั้งกระจายปริมาณผลผลิตให้เข้าสู่ธุรกิจการแปรรูปลำไย ทั้งแปรรูปเป็นลำไยอบแห้งทั้งเปลือกและลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง เพื่อรักษาระดับราคาลำไยไม่ให้ตกต่ำ

จึงได้มองหมายกรมส่งเสริมการเกษตร จัดงาน “ลำไยไทยหลากคุณค่า ปี 2556” ระหว่างวันที่ 20 – 22 กันยายน 2556 ณ MCC Hall ชั้น 4 เดอะมอลล์บางกะปิ โดยงานนี้มีลำไยสลและผลิต๓ณฑ์ลำไยแปรรูปจากภาคเหนือมาเยือนกรุงเทพให้พี่น้องชาวกรุงได้เลือก ช้อป ชม ชิม อย่างจุใจ โดยไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงแหลงผลิตและภายในงานมีจุดเด่น คือ ร้านค้าจำหน่ายผลไม่สด ปริมาณไม่น้อยกว่า 15 ตัน ในราคายุติธรรม กิจกรรมสาธิตการทำอาหารคาวหวานจากลำไยทุกวัน ๆ ละ 2 รอบ การแข่งขันกินลำไย ทุกวัน ๆ ละ 2 รอบ ตลอดทั้ง 3 วัน ทั้งนี้ จึงขอเชิญชวนและประชาสัมพันธ์ให้ทุกท่านได้เลือกซื้อผลไม่สดจากสวนคุณภาพดีในราคายุติธรรม

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการลำไยตลอดฤดูกาลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการนโยบายและมาตรการ ได้มีมติเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2556 เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาลำไยปี 2556 ในวงเงิน 169.1315 ล้านบาท ใน 3 มาตรการหลัก คือ มาตรการกระจายลำไยออกนอกแหล่งผลิต มาตรการส่งเสริมการแปรรูป และมาตรการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการบริโภคลำไย โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่กรกฎาคม – ตุลาคม 2556

ขณะนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการจัดการผลผลิตลำไยให้สอดคล้องและตรงตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภคในประเทศ ติดตามสถานการณ์ลำไยอย่างใกล้ชิด รวมทั้งบริหารจัดการดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ ตามที่ คชก. อนุมัติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นายยุคลกล่าว -กภ-