กรุงเทพฯ--23 ก.ย.--วีโร่ พับลิค รีเลชั่นส์
เอปิคอร์ ซอฟต์แวร์ คอร์ปอเรชั่น (Epicor Software Corporation) ผู้นำโซลูชั่นส์ซอฟต์แวร์ธุรกิจระดับโลกในอุตสาหกรรมการผลิต จัดจำหน่าย ค้าปลีกและการบริการ ประกาศว่าบริษัท Gelita ผู้ผลิตโปรตีนคอลลาเจนชั้นนำระดับโลกได้เลือกใช้ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (enterprise resource planning - ERP) ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ของเอปิคอร์ ในการบริหารจัดการธุรกิจแบบบูรณาการซึ่งสามารถตอบสนองต่อกระบวนการผลิต การเงิน และรายงานที่ซับซ้อนอย่างมีประสิทธิภาพ
การประกาศในครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของเอปิคอร์ ซึ่งบริษัทฯ เชื่อมั่นว่าจะเห็นการเติบโตในลักษณะเดียวกันในตลาดประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาค นอกเหนือจากประเทศอินโดนีเซียและเวียดนาม เอปิคอร์ดำเนินธุรกิจในเอเชียมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1990 (พ.ศ. 2533) และเปิดสาขาในประเทศไทยเมื่อปีพ.ศ. 2551 โดยมีอัตราการเติบโตในอุตสาหกรรมการผลิตของภูมิภาคนี้มาอย่างต่อเนื่อง
เอปิคอร์คาดหวังว่าผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมอาหารและเภสัชกรรมจะได้รับประโยชน์จากการเลือกใช้ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (enterprise resource planning - ERP) ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพและความแข็งแกร่งเพื่อการเติบโตในตลาดเอเชียต่อไป
Gelita ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2418 ปัจจุบันมีผลประกอบการทั่วโลกราว 940 ดอลลาร์ออสเตรเลียและมีพนักงานราว 2,500 คน Gelita เป็นบริษัทผู้ชั้นนำของโลกในการผลิตโปรตีนคอลลาเจนสำหรับอาหาร สุขภาพและโภชนาการ รวมถึงอุตสาหกรรมเภสัชกรรมและการใช้งานด้านเทคนิคอีกหลายรูปแบบ โดยก่อนที่จะเลือกใช้โซลูชั่นส์อีอาร์พีของเอปิคอร์ Gelita เคยใช้ระบบอื่นๆ ที่แตกต่างกันสามแบบ ซึ่งทำให้กระบวนการผลิตของบริษัทมีความยุ่งยาก
การเลือกใช้โซลูชั่นส์ของเอปิคอร์ในโรงงานที่ออสเตรเลียจะเป็นพื้นฐานในการขยายเครือข่ายกระบวนการผลิตของโรงงาน Gelita ในประเทศจีน “เราได้เริ่มใช้โซลูชั่นส์ดังกล่าวในโรงงานสามแห่งของเราในประเทศจีน โดยพิจารณาจากประสบการณ์ที่เราได้รับในออสเตรเลียเป็นพื้นฐานสำคัญ และเรายังวางแผนใช้งานเอปิคอร์ที่ โรงงานในนิวซีแลนด์ภายในปี พ.ศ.2557 ด้วย” เบนส์ ไมอา ผู้จัดการโครงการของ Gelita ออสเตรเลียกล่าว
“โครงการนี้เป็นโครงการระดับโลก เรามีการประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ที่สำนักงานใหญ่ของเราในเยอรมนี ซึ่งมีหลายบริษัทนำเสนอโซลูชั่นส์ของพวกเขา ทีมงานในออสเตรเลียมองว่า เอปิคอร์มีศักยภาพมาก เพราะเอปิคอร์นำเสนอโซลูชั่นส์ที่โดดเด่นมากที่สุด สามารถตอบสนองกระบวนการผลิตอันซับซ้อนและตอบโจทย์ด้านความยืดหยุ่นรองรับการใช้งานได้สูง ซึ่งตรงต่อความต้องการหลักของเรา” ไมอา กล่าว
“เราไม่มีการผลิตแบบแยกส่วน เพราะเราใช้กระบวนการผลิตแบบเดียว เรามีการดำเนินธุรกิจที่ซับซ้อนซึ่งจำเป็นต้องมีระบบที่มีความยืดหยุ่นสูงในการรองรับธุรกิจของเรา ซึ่งระบบที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่ค่อยสอดคล้องกับลักษณะของเรา เราจึงต้องมองหาโซลูชั่นส์ที่สามารถยืดหยุ่นและเติบโตไปพร้อมกับเราได้” ไมอา กล่าวเพิ่มเติม
ระบบอีอาร์พีของเอปิคอร์ได้ขยายโซลูชั่นส์ในการบริหารจัดการ Blending Workbench เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการผลิตที่ทาง Gelita ต้องการ ซึ่งไมอาชี้ว่ามีความสำคัญต่อองค์กรอย่างมาก “เราจำเป็นต้องผสมผสานสินค้าคงคลังของเราให้สอดคล้องกับความคาดหวังด้านคุณภาพของลูกค้า เราต้องควบคุมอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เครื่องมือเช่น Blending Workbench ทำให้เราสามารถดำเนินงานได้อย่างชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้เรายังใช้สัญลักษณ์บาร์โค้ดซึ่งช่วยให้เราสามารถยกระดับรูปแบบการผลิตได้มหาศาล” ไมอา กล่าว
ล่าสุดบริษัทวิจัย การ์ทเนอร์ รายงานผลวิจัยชิ้นล่าสุดเกี่ยวกับระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรว่า “การใช้งานอีอาร์พีส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการปรับแต่งแบบเฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตาม การปรับแต่งที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มมูลค่าของการลงทุนในระบบอีอาร์พีได้อย่างมาก เพราะสามารถเสริมกระบวนการผลิตที่มีความแตกต่างกันได้ดียิ่งขึ้น”*
พาโบล ซิลเบอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Gelita ออสเตรเลีย กล่าวยกย่องทีมพนักงานและการเป็นพันธมิตรกับเอปิคอร์ว่า “ผมขอกล่าวชื่นชมอย่างจริงใจกับการทำงานที่ยอดเยี่ยมของรูเบนส์และทีมที่ดูแลโครงการจากเอปิคอร์ เราผ่านการริเริ่มใช้กระบวนการทำงานรูปแบบใหม่ๆ มาหลายครั้ง แต่สำหรับในสัปดาห์นี้ เราแทบไม่รู้ตัวเลยว่าเราได้เริ่มใช้ระบบปฏิบัติงานใหม่แล้ว การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่น ทีมที่ดูแลโครงการเอปิคอร์ทำงานได้ยอดเยี่ยมอย่างมาก”
“อีอาร์พีเจนเนอเรชั่นใหม่จากเอปิคอร์นี้ เป็นโซลูชั่นที่มีความยืดหยุ่นและคล่องแคล่วสูง อุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ และเราตระหนักดีถึงเป้าหมายการเป็น ‘ครัวโลก’ ของไทย ขณะเดียวกัน ไทยยังมีอุตสาหกรรมเภสัชกรรมที่เข้มแข็ง ปัจจุบันการแข่งขันด้านการส่งออกทวีความรุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องลงทุนในด้านเทคโนโลยี ดังนั้นโซลูชั่นส์ที่ตอบสนองด้านการผลิตอย่าง Blending Workbench จะช่วยยกระดับผลผลิตของอุตสาหกรรมไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกมากขึ้น” เคร็ก ชาร์ลตัน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปของ เอปิคอร์ เอเชียแปซิฟิก กล่าว
*ที่มา: การ์ทเนอร์ “การปรับแต่งอีอาร์พี – สิ่งที่ไม่ควรหลีกเลี่ยง” (Manage ERP Customizations, Don’t Avoid Them) โดยคริสเตียน เฮสเตอร์มันน์
-กผ-
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit