สจล. เร่งปั้นแรงงานโลจิสติกส์ พร้อมชี้ ปี 58 ประชาคมอาเซียน ต้องการแรงงาน กว่า 500,000 อัตรา

20 Aug 2013

กรุงเทพฯ--20 ส.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ชี้ปี 58 ประชาคมอาเซียนขาดแรงงานทางด้านโลจิสติกส์ กว่า 500,000 อัตรา พร้อมเร่งเดินหน้าพัฒนาบุคลากรผ่านหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (หลักสูตรนานาชาติ) ซึ่งเป็นหลักสูตรในระดับปริญญาโทภาคภาษาอังกฤษ โดยหลักสูตรดังกล่าวเป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถการจัดการในด้านโลจิสติกส์และด้านโซ่อุปทาน เพื่อให้ตอบโจทย์การพัฒนาบุคลากรรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีการขยายตัวขึ้นจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ได้อย่างสมบูรณ์แบบทั้งนี้ประเทศไทยมีต้นทุนด้านโลจิสติกส์มีมูลค่าเฉลี่ยปี 2555 ประมาณ 14.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) หรือ 1,711.6 พันล้านบาทซึ่งสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านใน AEC ดังนั้นไทยจึงต้องเน้นพัฒนาการบริหารจัดการโดยรวมให้มีต้นทุนต่ำลง ผ่านการจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งมีผลทำให้การจัดการด้านโซ่อุปทานเข้ามามีบทบาทสำคัญในธุรกิจมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนโดยรวมให้ต่ำลง ดังนั้นการบริหารจัดการทั้งด้านโลจิสติกส์และด้านโซ่อุปทานจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยจากข้อมูลปี 2554 พบว่า ประเทศไทยมีบุคลากรผู้ปฏิบัติงานทางด้านโลจิสติกส์เพียงจำนวน 1.4 ล้านคน และมีสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของบุคลากร เพียง 0.1 % ต่อปี ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมในประเทศกลุ่มอาเซียนมีสัดส่วนการขยายตัว เฉลี่ย 10-15% ต่อปี

สำหรับผู้สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หมายเลขโทรศัพท์0-2329-8261หรือ http://www.ic.kmitl.ac.th/logistics

รศ.ดร. อานันทวัฒน์ คุณากร คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกล่าวว่าในปี 2558 เมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยสมบูรณ์แล้ว ย่อมส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของทุกๆประเทศในกลุ่มอาเซียน ทำให้การค้า บริการ และขนาดของตลาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นระบบขับเคลื่อนเศรษฐกิจในทุกๆภาคส่วน อาทิ ระบบสารสนเทศ ระบบการผลิต ระบบเทคโนโลยี ฯลฯ จำเป็นต้องมีการปรับตัวไปตามขนาดของเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้นด้วย โดยระบบขับเคลื่อนเศรษฐกิจหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก คือ ระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการค้าระหว่างประเทศ และเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจได้ ทั้งนี้ปัญหาสำคัญของการพัฒนาระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ คือการขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ โดยข้อมูลปริมาณบุคลากรด้านโลจิสติกส์ของไทยในภาคการผลิตปี 2554 พบว่า มีบุคลากรผู้ปฏิบัติงานทางด้านนี้เพียง 1.4 ล้านคนเท่านั้น และมีสัดส่วนการเพิ่มขึ้น เพียง 0.1% ต่อปี ทำให้ไม่สามารถรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้าของอาเซียนที่มีอัตราการเติบโตกว่า 10-15% ดังนั้นสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) จึงได้มุ่งพัฒนาบุคลากรทางด้านหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน(Logistics and Supply Chain)ในระดับปริญญาโทภาคภาษาอังกฤษ เพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานอาเซียน รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นได้ โดยหากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดขึ้น

อย่างสมบูรณ์แล้ว ความต้องการบุคลากรในด้านนี้ในอาเซียนจะยิ่งเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 500,000 คน และในประเทศไทยมีความต้องการเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวน 160,000 คนต่อปี

รศ.ดร. อานันทวัฒน์กล่าวต่อว่าหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (หลักสูตรนานาชาติ)ของวิทยาลัยนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นการบูรณาการด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์และการบริหารจัดการด้านโซ่อุปทาน เข้าไว้ด้วยกัน เนื่องจากในปัจจุบันภายใต้สถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรง การบริหารจัดการทางด้านโลจิสติกส์อย่างเดียวนั้น ไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ไทยยังคงมีต้นทุนด้านนี้สูงกว่า ถึงแม้ว่าจะมีแนวโน้มลดลง ในแต่ละปีเฉลี่ย 1-2 % ก็ตาม โดยต้นทุนการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของไทยมีมูลค่าเฉลี่ยปี 2555 ประมาณ 14.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP)หรือ 1,711.6 พันล้านบาท ทั้งนี้ประเทศที่มีค่าขนส่งต่ำสุดในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ มีต้นทุนโลจิสติกส์เพียง 7% ของ GDP ของประเทศ รองลงมาได้แก่ มาเลเซียที่ 13% เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพียงอย่างเดียวจึงไม่สามารถตอบโจทย์การลดต้นทุนการจัดการได้ทั้งหมด ทำให้การจัดการโซ่อุปทานเข้ามามีบทบาทสำคัญในระบบขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากขึ้น เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้นทุนต่ำสุดและกำไรสูงสุดได้

ด้าน ผศ.ดร.ชีวาลัย เตมียสถิต ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (หลักสูตรนานาชาติ)วิทยาลัยนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (หลักสูตรนานาชาติ)เป็นหลักสูตรระดับปริญญาโทที่เน้นการบุคลากรคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในด้านนี้โดยตรงมุ่งการเรียนทั้งด้านการจัดการโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานควบคู่ไปด้วยกันอาทิ วิธีการสำหรับการวิเคราะห์การบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเชิงปริมาณ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และคำนวณการลดต้นทุนรวมถึงการแสวงหากำไรสูงสุดได้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการดำเนินธุรกิจ การบริหารจัดการโครงการ การบริหารจัดการนวัตกรรมเทคโนโลยี การจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า ระบบประกันคุณภาพสินค้า การจัดการขนส่งทางบกระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการจัดการที่สำคัญต่อการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนที่จะใช้วิธีการขนส่งทางถนนมากกว่าวิธีอื่นๆ การจัดการขนส่งทางน้ำและทางอากาศ การพัฒนาโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน ฯลฯ

หลักสูตรดังกล่าวไม่ได้เน้นให้ผู้เรียนเข้าใจเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ให้เข้าใจถึงภาพรวมของการจัดการทั้งระบบโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำอุตสาหกรรม อาทิ การหาแหล่งวัตถุดิบ การจัดการกับวัตถุดิบ และการขนส่งวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน จนกระทั่งปลายทางอุตสาหกรรมคือ ผู้บริโภค โดยจะต้องคำนึงถึงคุณภาพสินค้าเมื่อถึงมือผู้บริโภค วิธีการกระจายสินค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากที่สุด เพื่อให้สามารถบริหารจัดการสินค้าได้อย่างถูกสถานที่และถูกเวลาอีกทั้งวิทยาลัยนานาชาติมีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะทางด้านภาษา รวมถึงทางวิทยาลัยได้มีการรับนักศึกษาต่างชาติเข้าร่วมเรียนในหลักสูตรนี้ด้วย ทำให้นักศึกษาเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมระหว่างกัน เพื่อให้ตอบโจทย์การพัฒนาบุคลากรรองรับการเปิด AEC ได้อย่างสมบูรณ์แบบผศ.ดร.ชีวาลัยกล่าวสรุป

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หมายเลขโทรศัพท์0-2329-8261หรือ http://www.ic.kmitl.ac.th/logistics/

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชนติดต่อ

ณภัทรกาญจนะจัย / เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ -

JC&CO PUBLIC RELATIONS - / [email protected]

กุลยา ล้อศิริ / เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์-

JC&CO PUBLIC RELATIONS - / [email protected]

-นท-

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net