นายจอห์น โชเนนเบอร์เกอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสถาบันทองแดงยุโรป(European Copper Institute)กล่าวว่า “อาเซียนเป็นหนึ่งในตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก เมื่อดูจากตัวเลข GDP ที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 5 ต่อปีตามที่ระบุโดยสำนักงานพลังงานสากลการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนี้ก่อให้เกิดความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้พลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานและการเติบโตระยะยาวอย่างยั่งยืนทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน”
ความสำเร็จของการนำเอาความคิดริเริ่มในการสร้างมาตรฐานจากโครงการASEAN SHINEไปปฏิบัติใช้ จะช่วยให้ภูมิภาคอาเซียนมีส่วนแบ่งการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพทางการใช้พลังงานในระดับสูงเพิ่มมากขึ้น นายแอททิล่า ยีไตร อัครราชทูตที่ปรึกษาและรองหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรป กล่าวว่า “การรับรู้และการนำเอาหลักปฏิบัติเพื่อประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้นในหมู่ผู้ผลิตและผู้บริโภคเป็นการเปิดประตูสู่โอกาสที่ไร้ข้อจำกัด การกำหนดมาตรฐานเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและช่วยให้ภูมิภาคอาเซียนสามารถดึงดูดแบรนด์จากนักลงทุนยุโรปและประเทศอื่นๆ ให้เข้ามาลงทุน”
ความสอดคล้องกับเป้าหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ASEAN SHINE เป็นโครงการที่มีระยะเวลา 4 ปีได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป(EU) และบริหารจัดการโดย ICASEAโดยสหภาพยุโรปได้สนับสนุนเงินทุนจำนวน 1,749,000 ยูโร หรือประมาณ 72 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80 ของงบประมาณทั้งหมดในโครงการนี้ โครงการ ASEAN SHINE มีความสอดคล้องกับเป้าหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในการปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เข้าสู่ชุมชนการค้า เกิดการค้าเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิก และสร้างรากฐานอันแข็งแกร่งในการถ่ายโอนความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพทางพลังงานที่ผ่านมา มาตรฐานที่กำกับประสิทธิภาพทางด้านพลังงานของเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นนั้นแตกต่างกันในแต่ละประเทศในอาเซียน โดยมาตรฐานต่างๆ นั้นเป็นสิ่งสำคัญในการชี้แนวทางให้แก่การจัดการโซ่อุปทานไปจนถึงการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AECมุ่งมั่นให้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเกิดขึ้นอย่างมีพลวัตและสามารถแข่งขันกับตลาดอื่นๆ ได้ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ความมั่นใจในคุณภาพ การรับรองและการตรวจวัดที่เชื่อถือได้ ถือเป็นกุญแจสำคัญในการส่งเสริมประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และการสร้างมาตรฐานหนึ่งเดียวนี้จะกลายเป็นตัวแปรเสริมในการช่วยยกประสิทธิภาพด้านพลังงานให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ทั่วทั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมูลค่าตลาดคาดเพิ่มขึ้น 4.55% ต่อปีดร. ฮาร์ดีฟแฮร์ริส สิตูเมิง ผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์พลังงานอาเซียน(ASEAN Centre for Energy) กล่าวว่า “จากการศึกษาพบว่า ความสำเร็จในการทำมาตรฐานประสิทธิภาพด้านพลังงานทั่วทั้งภูมิภาคให้เป็นหนึ่งเดียว จะส่งผลเชิงบวกในการกระตุ้นการค้าระหว่างภูมิภาคได้มากถึงร้อยละ 4.55”“การทดสอบและการติดฉลากมาตรฐานเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาและสามารถใช้ได้กับหลากหลายประเทศ ทั้งยังช่วยในเรื่องใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผลสำหรับกลุ่มผู้ผลิตในทางกลับกัน ผู้บริโภคเองก็จะได้รับประโยชน์จากการทำมาตรฐานให้เป็นหนึ่งเดียวนี้เนื่องจากไม่ต้องสับสนกับฉลากมาตรฐานที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศในภูมิภาคอีกต่อไป” ดร.ฮาร์ดีฟกล่าวเสริมเช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่ตระหนักถึงศักยภาพจากการสร้างมาตรฐานให้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าขายในภูมิภาค โดยผู้ผลิตจะเข้าถึงตลาดได้กว้างขวางมากขึ้นอันเนื่องมาจากการประเมินมาตรฐานด้านพลังงานนั้นจะไม่เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดทางการค้าอีกต่อไปช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานถึง 716.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีจากการวิจัยทางการตลาดพบว่าการสร้างมาตรฐานหนึ่งเดียวด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียนนี้ จะสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้อย่างมหาศาลดร. ทวารัฐ สูตะบุตร รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน (ประเทศไทย) กล่าวว่า “การนำมาตรฐานเดียวกันมาใช้ในประเทศภูมิภาคอาเซียนคาดว่าจะช่วยประหยัดการใช้พลังงานต่อปีได้ถึง 5,373 กิกะวัตต์ ชั่วโมง คิดเป็นเงินมูลค่า 21,500 ล้านบาท หรือ 716.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯซึ่งเป็นมูลค่าที่สามารถช่วยคลายปัญหาต่างๆ ด้านพลังงานในตลาดที่กำลังเติบโตอย่างประเทศไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซียได้”“การประสานมาตรฐานด้านพลังงานเป็นหนึ่งเดียวนี้จะนำไปสู่การประหยัดอย่างมหาศาลและช่วยลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สำหรับสหภาพยุโรปนั้น เครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพทางพลังงานอยู่ในอัตราส่วน 3.2 หรือมากกว่านั้น จะถือว่ามีประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงานมากที่สุด ยิ่งอัตราส่วนมากขึ้นเท่าใด อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็จะน้อยลงเท่านั้น เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายที่น้อยลงในการใช้งานอุปกรณ์ระยะยาวด้วย” ดร. ทวารัฐ กล่าวเสริม
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit