“ที่ผ่านมาผู้ที่อยู่ในวิชาชีพบริหารทรัพย์สินได้พยายามผลักดันเรื่องนี้มานานแล้ว แต่ยังไม่บรรลุผลเพราะไม่มีใครสนใจเรื่องนี้มากนัก สวนทางกับความเจริญเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งหมู่บ้านจัดสรร อาคารชุด ศูนย์การค้า รวมทั้งอาคารสูงเกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องมีนักบริหารที่มีความรู้เข้ามาบริหารและจัดการ จึงเห็นด้วยที่ภาครัฐเข้ามาทำหน้าที่ควบคุมและออกใบอนุญาตให้กับผู้ที่จะเข้ามาทำอาชีพนี้ เพราะในประเทศที่เจริญแล้วมีกฎหมายออกมาควบคุม และกำหนดบทบาทธุรกิจบริหารทรัพย์สินกันหมดแล้ว” นายธนันทร์เอกกล่าวและเปิดเผยเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีพ.ร.บ.บริหารทรัพย์สินออกมาบังคับใช้ แต่มีบริษัทที่ให้บริการดังกล่าวจำนวนมากมุ่งทำงานภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายอาคารชุดและกฎหมายบ้านจัดสรร รวมทั้งเข้าใจความต้องการของลูกค้าและผู้ที่อยู่อาศัยในโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่างๆ ในขณะเดียวกันในวงการนี้ยังมีนักบริหารชุมชนจำนวนมากที่ไม่มีมาตรฐานในการทำงาน ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาก็คือลูกค้าไม่ได้รับข้อมูลและองค์ความรู้ที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ ทำให้ไม่ได้รับบริการที่สามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในโครงการได้ เนื่องจากไม่มีการกำหนดกรอบควบคุมผู้ที่อยู่ในอาชีพ และเชื่อว่าหลังจากที่มีการควบคุมและมีการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้กับนักบริหารทรัพย์สิน ต่อไปลูกค้าจะเลือกใช้บริการเฉพาะบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมาย เนื่องจากมั่นใจเรื่องคุณภาพของบุคลากรที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน
“ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ มั่นใจว่ากฎหมายดังกล่าวจะทำให้ผู้บริโภคได้รับบริการจากนักบริหารชุมชนที่มีคุณภาพ เนื่องจากขั้นตอนการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทุกคนจะต้องผ่านการฝึกอบรมและสอบวิชาบริหารทรัพย์สิน เพื่อให้มีความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้รับการบริการที่คุ้มค่า ในขณะเดียวกันจะเป็นการสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้กับบริษัทที่ให้บริการบริหารทรัพย์สิน เนื่องจากจะได้รับการยอมรับจากประชาชนหรือผู้อยู่อาศัยในชุมชนมากขึ้น” นายธนันทร์เอกให้ความเห็นและเปิดเผยเพิ่มเติมว่ากระบวนการดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติ เนื่องจากต่างชาติที่ต้องการเข้ามาทำธุรกิจนี้จะต้องได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันมิให้บริษัทคนไทยเสียดุลทางธุรกิจ นอกจากนี้แล้วยังเป็นกฎที่บังคับให้บริษัทที่ด้อยคุณภาพค่อย ๆ หายจากธุรกิจนี้ไป เนื่องจากผู้บริโภคจะเลือกใช้บริการกับบริษัทที่เป็นมืออาชีพเท่านั้น
ทั้งนี้ IRM ได้ให้ความสำคัญกับการอบรมพนักงานให้มีความรู้ตามหลักสูตรบริหารทรัพย์สินอยู่แล้ว แต่จากนี้ไปจะต้องมีความเข้มข้นมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมในการส่งบุคลากรไปสอบใบอนุญาต เช่น ผู้จัดการที่ไม่ได้จบวิศวกรจะต้องผ่านการฝึกอบรมความรู้พื้นฐานของงานด้านวิศวกรรม ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งต้องศึกษาและเรียนรู้งานในหน้าที่อื่น ๆ ทั้งด้านบัญชี-การเงิน และเชื่อว่าการอบรมอย่างต่อเนื่องจะทำให้พนักงาน IRM สอบเพื่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ไม่ยากนัก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
บริษัท พีอาร์ บูม จำกัด
คุณอภิญญา
Email: [email protected]
บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM)
โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 www.irm.co.th
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit