อุเทนถวาย ร่วมรำลึกอนุสรณ์สถาน วันปิยมหาราช ที่มาของนามอุเทนถวาย ครบ๑๐๐ปี

24 Oct 2013

กรุงเทพฯ--24 ต.ค.--คณะพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินอุเทนถวาย

เนื่องในวาระ ครบรอบ ๑๐๐ปี ที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๖ ทรงพระราชทานนามสะพานแห่งหนึ่ง ซึ่งพระองค์ทรงตั้งพระทัย ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ พระราชบิดา ทรงเสด็จสวรรคตในวันที่ ๒๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ ร่วมกับข้าราชบริพานกรมสรรพากรที่ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างสะพานแห่งนี้ ในที่ดินส่วนพระองค์ ดูแลผ่านพระคลังข้างที่ บนถนนพญาไท ข้ามคลองสวนหลวงต่อมาจึงถูกเรียกว่าคลองอุเทนถวายตามชื่อสะพาน เพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศล อนุสรณ์สถานถาวรวัตถุ ไว้อาลัยถวายแด่พระปิยมหาราช สะพานนี้ใช้เวลาก่อสร้าง ๓ ปี จึงแล้วเสร็จ ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดสะพาน ในวันที่ ๑๗ ตุลาคม พุทธศักราช๒๔๕๖ และทรงพระราชทานนามว่า สะพานอุเทนถวาย หมายความว่า ข้าราชการกรมสรรพากร(ตราสัญลักษณ์พระมหากษัตริย์นามว่าพระอุเทนธิราชทรงดีดพิณ)ได้จัดสร้างถวายแด่พระปิยมหาราช

๑๐ปีต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๖๖ ล้นเกล้ารัชกาลที่๖ มีพระราชประสงค์สานต่อพระราชปณิธานของพระราชบิดาจึงทรงจัดตั้งโรงเรียนช่างสายวิชาชีพก่อสร้างซึ่งขณะนั้นการก่อสร้างกำลังตกอยู่ในมือชาวต่างประเทศมากขึ้นทุกที ประสงค์ให้การก่อสร้างได้อยู่ในมือชาวสยามต่อไป จึงได้ทรงแต่งตั้ง สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย พระอนุชา ทรงเป็นที่ปรึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๒ และทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๕ พระองค์ได้นำผลกำไรจากการค้าของโรงเรียนเพาะช่างถนนตรีเพชร เตรียมไปสร้างโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง ทรงตัดสินพระทัยเลือกสถานที่ก่อสร้าง บนพื้นที่กว่า๑,๒๐๐ไร่ ของพระองค์เอง ณ เชิงสะพานอุเทนถวาย ทรงเขียนแบบและวางศิลาฤกษ์ด้วยพระองค์เอง แต่กลับสิ้นพระชนน์เสียก่อน ในปีนั้นเอง ล้นเกล้ารัชกาลที่๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าๆ พระราชทานเงินการพระราชกุศล จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท ให้สร้าง โรงงานนักเรียนเพาะช่างก่อสร้างให้แล้วเสร็จ เพื่อเป็นโครงการอนุสรณ์สถานรำลึกแห่งพระอนุชาของพระองค์ท่านตลอดกาล โดยมีพระกระแสรับสั่งผ่านกระทรวงศึกษาธิการสมัยนั้น และเริ่มผลิตนักเรียนนายช่างพระราชทานแห่งสยาม เป็นรุ่นแรกเรียกว่า นักเรียนช่างก่อสร้างในพระบรมราชูปถัมภ์ แต่โรงเรียนๆได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่๒๙ ตุลาคม ปี พ.ศ.๒๔๗๕ พร้อมกับผู้เช่าที่ดินรายเดิมได้ทำการ รื้อถอนตัวสะพานอุเทนถวายและถมคลองอุเทนฯในปีนั้นเอง ข้อมูลได้หายสาบสูญไปจากหน้าประวัติศาสตร์สะพานไทย ทำให้ไม่ทราบตำแหน่งเชิงสะพานฯและ ขอบเขตที่ดินที่แท้จริงของโครงการอนุสรณ์สถานโรงเรียนช่างก่อสร้างฯในพระราชดำริได้

ต่อมาได้มีคำสั่งจากมติคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลสมัยปีพ.ศ.๒๕๔๗ ให้ย้ายโรงเรียนช่างก่อสร้างอนุสรณ์สถานแห่งนี้ออกจากพื้นที่ หลังจากดำเนินการมาแล้วกว่า๙๐ปีตั้งแต่พ.ศ.๒๔๖๖-๒๕๕๖ เนื่องจากหมดสัญญาเช่ากับโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ซึ่งได้มีการเช่าที่กับพระคลังข้างที่จำนวน๑,๒๐๐ไร่ เป็นเวลา๑๐ปีตั้งแต่พ.ศ.๒๔๕๙-๒๔๖๙ (ได้เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ.๒๔๘๒เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศพระปิยมหาราช) ส่งผลให้เกิดการประท้วงคัดค้านการย้ายของนักศึกษาหลายครั้ง ราวปีพ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๕๖ คณะครู อาจารย์ ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของวิทยาเขตอุเทนถวาย จึงได้ร่วมกันสืบค้นข้อมูลประวัติโรงเรียนฯของตนเองขึ้นใหม่จนทราบที่มา ตามข้อมูลทีกล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนศิษย์เก่าพลังบริสุทธิ์ได้ร่วมจัดตั้ง คณะพิทักษ์สิทธิ์เพื่อการศึกษา(คพศ.)พ.ศ.๒๕๕๖ มีบทบาทสำคัญเป็นแกนนำหลักในการ ต่อสู้เพื่อทวงกรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทานเพื่อการศึกษากลับคืนมา ดำเนินการประสานงานกับทุกฝ่าย ล่าสุดได้ทำหน้าที่ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองกลางให้ถอนมติ กยพ.เรื่องที่ให้วิทยาเขตอุเทนถวายย้ายออกจากที่ตั้งเดิม

คณะสืบค้นข้อมูล(คณะพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินอุเทนถวาย)ร่วมกับคพศ. ได้พบเอกสารแผนที่และรูปถ่ายที่ยืนยัน ตำแหน่งเชิงสะพานอุเทนถวายและขอบเขตที่ดินโรงเรียนช่างก่อสร้างฯ ได้อย่างถูกต้อง จุดเริ่มต้นจากเชิงสะพานอุเทนถวายในปัจจุบันตั้งอยู่ มุมตึกของคณะสถาปัตยกรรมจุฬาฯ(คาดว่าเป็นอาคารโรงงานฯพระราชทานของเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯจุดกำเนิดโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย) ส่วนตำแหน่งคลองอุเทนฯนั้น ตัดขวางถนนพญาไทผ่านหน้าคณะสถาปัตยกรรม,คณะวิทยาศาสตร์,คณะศิลปกรรม,คณะอักษรศาสตร์ในรั้วจุฬาฯวิ่งผ่านสระบัวตรงไปบรรจบยังถนนอังรีดูนังต์ ข้อสันนิษฐานของคณะสืบค้นข้อมูล ขอบเขตที่ดินของโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย (ในอดีตนิยมใช้แนวถนนหลักและแนวคลองเป็นตัวกำหนดขอบเขตที่ดิน) เริ่มต้นจากเชิงสะพานอุเทนถวายคือมุมเริ่มต้นเขตที่ดิน ในทิศใต้จรดแนวคลองอุเทนถวาย ทิศเหนือจรดถนนพระรามที่ ๑ ทิศตะวันตกจรดถนนพญาไท ทิศตะวันออกจรดถนนสนามม้า-อังรีดูนังต์ พื้นที่โครงการโรงเรียนช่างก่อสร้างฯพระราชดำริกำหนดไว้เบื้องต้น ประมาณกว่า ๒๐๐ไร่ ในปีพ.ศ.๒๔๖๖-๒๔๘๒ แต่ในระยะแรกแนวเขตทิศเหนืออาจเริ่มจากตำแหน่งวิทยาเขตอุเทนถวายปัจจุบันก่อน ส่วนแนวเขตด้านอื่นยังคงเดิม ฉะนั้นข้อสมมุติฐานดังกล่าวจึงได้รวมที่ดินของสถานศึกษาอื่นฯ ที่ตั้งอยู่ระหว่างเชิงสะพานอุเทนถวาย และตำแหน่งโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ได้แก่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา(พ.ศ.๒๔๘๐), โรงเรียนสาธิต มศว.ปทุมวัน(พ.ศ.๒๔๙๖), คณะสถาปัตยกรรม ,คณะวิทยาศาสตร์,คณะศิลปกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.๒๔๘๒) ซึ่งล้วนเกิดขึ้นและจัดสรรแบ่งแยกย่อยผืนที่ดินบริเวณนี้ในภายหลังทั้งสิ้น

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และ โรงเรียนสาธิต มศว.ปทุมวัน ต่างมีหลักสูตรการเรียนการสอนคล้ายคลึงกับโรงเรียนเตรียมนักเรียนเพาะช่างก่อสร้างมัธยมวิสามัญศึกษาสายวิชาชีพช่างก่อสร้างของอุเทนถวายในสมัยเริ่มต้นเป็นอย่างมากจนมิอาจแยกหลักสูตรออก (ก่อนเปลี่ยนหลักสูตรเป็นอาชีวศึกษาในปีพ.ศ.๒๕๑๘ ) คาดว่าจะเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง อุเทนฯกับจุฬาฯ ข้อสังเกตจาก สีประจำโรงเรียน คือ สีน้ำเงิน-ชมพู ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาฯ นักเรียนของโรงเรียนที่อยู่ในขอบเขตของโครงการพระราชดำริและศึกษาจบจากพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์ เหมาะกับการเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้อย่างยิ่ง ล้วนแต่มีคุณภาพเป็นทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าของประเทศชาติ นับได้ว่าเป็น “นักเรียนพระราชทาน” ตามพระราชประสงค์ของล้นเกล้ารัชกาลที่๖ อย่างแท้จริง

เนื่องในวาระ ครบรอบ ๑๐๐ปี นามพระราชทาน “อุเทนถวาย” ร่วมรำลึกอนุสรณ์สถาน วันปิยมหาราช ชาวอุเทนถวายต่าง ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๖ ทรงพระราชทานโรงเรียนเพาะช่างก่อสร้างแห่งแรกของสยามแก่พสกนิกร พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยพระราชทานให้ลูกหลานคนไทยได้มีวิชาความรู้ด้านวิชาชีพทุกสาขาสมดั่งคำพระราชทานว่า “เพาะช่าง” เพื่อสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว ได้ดำเนินตามพระประสงค์ของพระองค์ สืบทอดเป็นมรดกแก่ปวงชนชาวไทยต่อไปตลอดกาล

-กผ-

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit