“การเปิดให้บริการ SBL นับเป็นการขยายขอบเขตการให้บริการ SBL แก่ลูกค้าสถาบัน จากเดิมที่ ASP มีให้บริการเฉพาะลูกค้ารายย่อย ซึ่งครอบคลุมหุ้นในดัชนี SET100 ปัจจุบันเพิ่มหน่วยลงทุน ETF และหุ้นในตะกร้า ETF เช่น หุ้นขนาดเล็กที่อยู่ใน ETF อ้างอิงกลุ่มพลังงาน (ENY) กลุ่มธนาคาร (EBANK) กลุ่มอาหาร (EFOOD) กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (EICT) และกลุ่มพาณิชย์ (ECOMM) นอกเหนือจากหุ้นในดัชนี SET50 และหุ้นในดัชนี SET100 โดยลูกค้าสามารถยืมเพื่อนำไปขายชอร์ตเมื่อคาดการณ์ว่าราคาหลักทรัพย์จะปรับตัวลง หรือบริหารความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดผันผวน รวมถึงการซื้อขายเชิงกลยุทธ์ เช่น การทำ Arbitrage และ Pair Trade อีกด้านหนึ่งลูกค้าบุคคลธรรมดาที่มีหลักทรัพย์อยู่ก็สามารถนำหลักทรัพย์มาให้ยืม และรับผลตอบแทนคืนในรูปแบบของเงินค่าธรรมเนียม ในอนาคตอันใกล้บริการ SBL จะช่วยกระจายฐานรายได้ของบริษัทให้มีความแข็งแกร่งและสมดุล เพื่อเสริมรายได้นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่อาจได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์” คุณนฤมล กล่าว
ลูกค้า SBL สามารถมั่นใจในเรื่องของความเสี่ยงจากคู่สัญญาได้ เนื่องจาก ASP มีบทบาทเป็นคู่สัญญาโดยตรง (Principal) ให้กับทั้งผู้ยืมและผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ และรับความเสี่ยงจากคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ประกอบกับ ระบบงานคอมพิวเตอร์ที่ ASP ได้พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับรองรับธุรกรรม SBL นั้น มีความสามารถในการบริหารหลักทรัพย์และหลักประกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความยืดหยุ่นสูงสามารถรองรับความต้องการของประเภทผู้ใช้บริการได้หลากหลาย และทำให้การดำเนินธุรกรรม SBL เป็นไปได้อย่างสะดวก ถูกต้อง รวดเร็ว และลดปัญหาในเรื่องการเก็บข้อมูลและจัดส่งเอกสาร
ASP มุ่งหวังให้ธุรกรรม SBL ขยายตัวเพิ่มขึ้นในประเทศไทย นอกเหนือจากประโยชน์ของธุรกรรม SBL ในแง่ของการใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนแล้ว ธุรกรรม SBL ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์ และเป็นพื้นฐานสำหรับตราสารทางการเงินอีกมากมาย ASP ขอเชิญชวนนักลงทุนสถาบันที่สนใจบริการ SBL ทั้งในฐานะผู้ยืมและผู้ให้ยืม สามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายตราสารอนุพันธ์ บล. เอเชีย พลัส
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit