Ericsson Consumer Lab ชี้บริการโทรศัพท์และวีดีโอผ่านทางอินเทอร์เนตมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วมาก

13 May 2013

กรุงเทพฯ--13 พ.ค.--อีริคสัน

จากผลการวิจัยล่าสุดของ Ericsson Consumer Lab (อีริคสันคอนซูเมอร์แล็บ) พบว่า ณ ขณะนี้ การบริการโทรศัพท์และวีดีโอผ่านทางอินเทอร์เนตมีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและกลายเป็นทางเลือกหนึ่งที่สำคัญในการติดต่อสื่อสาร

อีริคสันคอนซูเมอร์แล็บได้ทำการศึกษาในเรื่องนี้ เพราะต้องการทำความเข้าในพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคต่อการใช้บริการอินเทอร์เนตโทรศัพท์ที่แตกต่างกัน ชึ่งผลปรากฏว่ารูปแบบการสื่อสารเช่น Skype, Viber และ Google Talk กำลังกลายเป็นช่องทางการสื่อสารใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมและบริการนี้ยังจะส่งผลกระทบต่อการสื่อสารหลักนั้นก็คือการใช้บริการโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์มือถืออีกด้วย

สมาร์ทโฟน (Smartphones) นั้นเปรียบเสมือนเป็นตัวแปรที่สร้างการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการสื่อสารให้ฉีกกฎไปจากแต่เดิม และทีสำคัญมันช่วยให้ผู้บริโภคนั้นสามารถกำหนดและเลือกช่องทางในการสื่อสารตามแต่ละสถานการณ์และในแต่ละวันตามความต้องการของพวกเขาได้อย่างสะดวกอีกด้วย

ข้อสรุปจากรายงานการวิจัยนี้ พบว่า

  • รูปแบบของการสื่อสารกำลังจะเปลี่ยนทิศทางไป โดยก่อนปี 2007 รูปแบบในการติดต่อสื่อสารไม่มีช่องทางอื่นใดให้เลือกมากนัก ยกเว้น การพูดคุยทางโทรศัพท์และการส่งข้อความ SMS แต่ทว่าในทุกวันนี้ผู้บริโภคมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารที่หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งการแข่งขันในด้านของการบริการโทรคมนาคมก็มีความเข้มข้นมากขึ้น ดังนั้นจึงทำให้ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะกำหนดและเลือกการบริการการติดต่อสื่อสารแล้วแต่ตามวัตถุประสงค์และบริบทในการสื่อสาร
  • บริการโทรศัพท์และวีดีโอผ่านอินเทอร์เนต (Voice and VDO over internet) มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น และกำลังกลายเป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารในอนาคต โดยอัตราการเติบโตในด้านอัตราของผู้ใช้วีดีโอแชต (VDO Communications)ผ่านทางโทรศัพท์มือถือนั้นเพิ่มขึ้นอย่างน้อยตั้งแต่ 11 เปอร์เซ็นต์ถึง 21 เปอร์เซ็นต์ต่อสัปดาห์ ภายในช่วงปีระหว่าง 2011 - 2012 โดยผู้ใช้นั้นอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 20 - 39 ปี และอาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
  • ราคายังคงเป็นตัวแปรที่สำคัญ แต่ด้วยการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ราคานั้นกลับถูกดึงให้อยู่ในจุดที่ถูกลง รวมทั้งด้วยการบริการวอยซ์หรือการพูดคุยทางโทรศัพท์นั้นกำลังอยู่ในจุดที่อิ่มตัว ไม่สามารถที่จะพัฒนาฟีเจอร์หรือฟังค์ชั่นอะไรมาใหม่ๆมาเทียบเท่ากับการใช้วีดีโอแชต
  • ระหว่างการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมและผู้ให้บริการโทรศัพท์และวีดีโอผ่านอินเทอร์เนต จะพบว่าจำนวนการใช้โทรศัพท์หรือวอยซ์อินเทอร์เนตนั้นมีอัตราเพิ่มที่สูงขึ้น นั่นจึงก่อให้เกิดคำถามที่ตามมาว่า ธุรกิจทางด้านโทรศัพท์หรือวอยซ์อินเทอร์เนตนั้นจะเข้ามาสร้างการเปลี่ยนกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมเมื่อไหร่
  • เมื่อเทียบกัน จะพบว่าบริการวีดีโอที่ถูกพัฒนามาจากกลุ่มผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมยังคงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเมื่อเปรียบเทียบเท่ากับบริการวีดีโอที่พัฒนาขึ้นมาจากกลุ่มที่ให้บริการด้านอินเทอร์เนต เช่น Microsoft ที่มีบริการ Skype หรือ Apple ที่มีโปรแกรม Facetime หรือ Ooovoo

นาย ไมเคิล อีริคสัน บิโจลิงค์ ผู้เชี่ยวชาญของอีริคสันคอนซูเมอร์แล็บและเป็นทำการวิจัยนี้ กล่าวว่า เนื่องด้วยผู้บริโภคมีอัตราการใช้งานการสื่อสารทางอินเทอร์เนตที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมต่างต้องเจอกับความท้าทายในการที่จะคอยสรรหาฟีเจอร์หรือฟังค์ชั่นใหม่ๆ เพื่อสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค เช่น วีดีโอ รวมทั้งยังต้องสร้างความมั่นใจว่ารูปแบบของบริการนั้นสามารถใช้ได้กับทุกๆ อุปกรณ์ รวมทั้งต้องมีการพัฒนาและอัพเดทอยู่เสมออีกด้วย

นายบัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ของอีริคสันประเทศไทย กล่าวเสริมว่าผู้บริโภคมีอำนาจในการเลือกช่องทางในการบริการ และนอกจากนี้รูปแบบของการสื่อสารจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้งาน พฤติกรรมของผู้บริโภค และทีสำคัญเรายังพบว่าในตลาดที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี ICT (Emerging ICT Market) นั้น จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนนั้นค่อนข้างใกล้เคียงกับจำนวนแล็บท็อปอีกด้วย โดยเราเชื่อว่าจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนน่าจะเกินจำนวนผู้ใช้แล็บท็อปภายในสองปีข้างหน้า และถึงตอนนั้นเราก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงและรูปแบบการสื่อสารทางผ่านอินเทอร์เนตผ่านสมาร์ทโฟนที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

เกี่ยวกับการศึกษา

ข้อมูลที่ถูกรวบรวมจาก 7 ประเทศคือ บราซิล, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, เกาหลีใต้, สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา โดยเป็นการศึกษาออนไลน์และการสัมภาษณ์กับ1,500 ผู้ใช้งานอินเทอร์เนตในแต่ละประเทศอีกด้วย

-กผ-

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit