กรุงเทพฯ--15 พ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
- การเปิดตัวโครงการฟื้นฟูเมือง 100 แห่ง เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีแห่งการก่อตั้งมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
- มูลนิธิใช้เงินทุน 1 ร้อยล้านดอลลาร์ เพื่อฟื้นฟูเมืองต่างๆทั่วโลก
มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) ซึ่งมุ่งมั่นด้านการลงทุนเพื่อนวัตกรรมมายาวนานถึง 100 ปี และเป็นองค์กรผู้นำด้านการฟื้นฟูสังคม ประกาศทุ่มทุน 1 ร้อยล้านดอลลาร์ เพื่อฟื้นฟูชุมชนเมืองต่างๆทั่วโลก โครงการฟื้นฟูเมือง 100 แห่งฉลองครบรอบ 100 ปี (100 Resilient Cities Centennial Challenge) ของมูลนิธิ จะคัดเลือกเมืองต่างๆ 100 เมืองทั่วโลก และให้การสนับสนุนด้านเทคนิค รวมถึงทรัพยากรเพื่อใช้ในแผนการพัฒนา และการประยุกต์ใช้แผนเพื่อการฟื้นฟูชุมชนเมือง มูลนิธิจะช่วยเมืองต่างๆบริหารจัดการการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานในวงเงินหลายพันล้านดอลลาร์
เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียด และภาวะผันผวนต่างๆที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ และธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และส่งผลกระทบในวงกว้างมากขึ้น อีกทั้งยังส่งผลทั่วทั้งระบบ และสภาพภูมิศาสตร์ เมืองส่วนใหญ่จึงยังไม่ทันได้เตรียมพร้อมรับมือ ต่อต้าน และฟื้นตัวจากเหตุการณ์ภัยภิบัติต่างๆที่เกิดขึ้น ผู้ที่อ่อนแอจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เหล่านี้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง หรือโรคภัยไข้เจ็บ ผู้คนเหล่านี้ไม่มีความพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว และใช้เวลารักษาเยียวยานานกว่าปกติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และยังก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคมากขึ้น ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการเยียวยาฟื้นฟูจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งนอกจากจะเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติครั้งต่อไปแล้วยังช่วยให้ผู้คนที่อ่อนแอ หรือยากจนทั่วโลกมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอีกด้วย
ดร. จูดิธ โรดิน (Dr. Judith Rodin) ประธานมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ กล่าวว่า “วันนี้เมื่อ 100 ปีก่อน มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ก่อตั้งขึ้นพร้อมภารกิจเพื่อส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนทั่วโลก ปัจจุบัน ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเพิ่มขึ้นตามความสามารถในการเตรียมความพร้อม การต่อต้าน และการสร้างความเข้มแข็งเมื่อต้องเผชิญกับภัยพิบัติ และสถานการณ์ตึงเครียดในโลกยุคใหม่ เมืองใหญ่หลายเมืองที่มีจำนวนประชากรอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ ถือเป็นเมืองเป้าหมายสำหรับภารกิจนี้ ในช่วงเริ่มต้นศตวรรษที่ 2 ของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ เราต้องการฟื้นฟูชุมชนเมือง เราตั้งเป้าว่า โครงการฟื้นฟูเมือง 100 แห่งในโอกาสครบรอบ 100 ปี จะเป็นตัวขับเคลื่อนวิถีปฏิบัติที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูโลกนี้ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น”
มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ เชิญชวนเมืองต่างๆจากทั่วโลกเข้าร่วมเป็น 1 ใน 100 เมืองเข้มแข็งผ่านโครงการฟื้นฟูเมือง 100 แห่งฉลองครบรอบ 100 ปี ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐฯ หรือสถาบันใหญ่ในเมืองนั้นๆ จะต้องแสดงให้เห็นถึงวิธีการดำเนินการ และแผนการเพื่อฟื้นฟูเมืองให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นในระดับชุมชนเมือง และวิธีตอบสนองความต้องการของผู้ที่อ่อนแอ และผู้ยากไร้ในเมืองนั้นๆอย่างละเอียด จะมีการตัดสินผู้ชนะ 3 รอบในอีก 3 ปีข้างหน้า ผู้ชนะเลิศจะประกาศผลในปี 2558
เมืองที่ชนะแต่ละแห่งจะได้รับการสนับสนุนใน 3 รูปแบบ ดังต่อไปนี้:
- ได้รับการสนับสนุนด้านการสร้างแผนฟื้นฟูเมือง พร้อมทั้งความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ และเทคนิค รวมถึงทรัพยากรสำหรับใช้ในการดำเนินงาน มูลนิธิร็อคกี้
- ได้รับสิทธิ์เป็นสมาชิกในเครือข่ายเมืองเข้มแข็ง 100 แห่ง (100 Resilient Cities Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายใหม่ที่มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ก่อตั้งขึ้น เพื่อช่วยสนับสนุนเมืองสมาชิก และแบ่งปันความรู้ และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อชุมชนเข้มแข็ง
- ได้รับการสนับสนุนให้มีการจ้างประธานเจ้าหน้าที่ด้านการฟื้นฟู หรือซีอาร์โอ(Chief Resilience Officer / CRO) การแต่งตั้งตำแหน่งใหม่นี้เป็นความคิดริเริ่มที่จะช่วยสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็ง ตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งมาจากการแต่งตั้งบุคลากรในรัฐบาล มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการประสานงานโดยเฉพาะ ซีอาร์โอยังมีหน้าที่ดูแลการพัฒนากลยุทธ์การฟื้นฟูเมือง และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการเรียนรู้ของซีอาร์โอรายอื่นๆที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเครือข่ายเมืองเข้มแข็ง 100 แห่ง
นาย แอชวิน ดายัล (Ashvin Dayal) ผู้อำนวยการจัดการประจำภูมิภาคเอเชีย มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ซึ่งมีสำนักงานในกรุงเทพฯ กล่าวว่า “ในฐานะองค์กรที่ช่วยสร้างแบบแผนให้กับชุมชนเมือง มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์กำลังสานต่อภารกิจหลักด้วยการนำร่องแนวคิดใหม่เกี่ยวกับเมือง และการอาศัยในชุมชนเมืองเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆในศตวรรษที่ 21 ซึ่งตอนนี้ได้ดำเนินภารกิจไปทั่วภูมิภาคเอเชียแล้ว เราหวังว่าการสนับสนุนเมือง 100 แห่งทั่วโลกจะช่วยกระตุ้นการพัฒนายิ่งขึ้นไปอีก และการช่วยให้เมืองต่างๆมีเงินทุนนับพันล้านดอลลาร์ที่พร้อมใช้ในการพัฒนาโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่า พื้นที่ชุมชนเมืองของเราจะเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสเพิ่มมากขึ้น และเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆในอีก 100 ปีข้างหน้า และปีต่อๆไป”
กว่า 10 ปีมาแล้วที่มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์เป็นผู้นำในด้านการฟื้นฟูทั้งในเขตชนบท และชุมชนเมือง สร้างความเปลี่ยนแปลงในเมืองทั่วภูมิภาคเอเชียผ่านเครือข่ายฟื้นฟูเมืองในภูมิภาคเอเชีย (Asia through its Asian Cities Climate Change Resilience Network) ไปจนถึงสนับสนุนการฟื้นฟูชุมชนชนบทในแอฟริกาด้วยการให้เงินทุนเพื่อการวางแผนการฟื้นฟูผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคนแคทรีน่าในนิวออร์ลีนส์ และไม่นานมานี้ มูลนิธิได้ให้คำแนะนำด้านการรับมือกับเฮอร์ริเคนแซนดี้แก่นายคูโอโม ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก ด้วยการกำหนดแผนการที่ชัดเจนสำหรับการสร้างความเข้มแข็งระยะยาวในนิวยอร์ก
มิตช์ แลนเดรีย (Mitch Landrieu) นายกเทศมนตรีนิวออร์ลีนส์ กล่าวว่า “มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์เป็นพันธมิตรที่สำคัญในการฟื้นฟูนิวออร์ลีนส์ ประชาชนกำลังเข้าสู่ยุคแห่งการคิด และการกระทำเชิงฟื้นฟู ฝ่ายปกครองของนิวออร์ลีนส์เป็นแกนนำในแผนการฟื้นฟู การสนับสนุนของร็อคกี้เฟลเลอร์ในด้านนวัตกรรม และความร่วมมือถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และยังเป็นสิ่งที่หาได้ยาก วิสัยทัศน์ของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ช่วยให้เมืองต่างๆสามารถดำเนินการเชิงรุก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรทุกคนในเมือง ช่วยสร้างการเติบโตในอนาคต และช่วยให้เราสามารถรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้ ผมมุ่งมั่นที่จะได้เสนอชื่อเมืองนิวออร์ลีนส์เข้าร่วมในโครงการฟื้นฟูเมือง 100 แห่งฉลองครบรอบ 100 ปี”
เมืองแต่ละเมืองมักจะมีวิสัยทัศน์ และความต้องการเฉพาะในการฟื้นฟูเมือง อีกทั้งยังจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกัน วิธีการฟื้นฟูบางวิธีอาจหมายรวมถึงการเพิ่มศักยภาพในการจัดการรับมือกับเหตุฉุกเฉิน และระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่สมบูรณ์แบบ หรือปรับปรุงระบบการระบายน้ำแบบครบวงจรเพื่อลดวิกฤตจากเหตุอุทกภัย และการจัดการขยะมูลฝอย เมืองที่เข้าร่วมโครงการอาจจะดูแลในเรื่องของระบบการดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น หรือยกระดับนิเวศน์ในชุมชนเมือง
เจมส์ ซูมาโล (James Nxumalo) นายกเทศมนตรีเมืองเดอร์แบน แอฟริกาใต้ และประธานการประชุมสุดยอดระดับโลกด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ กล่าวว่า “เรารู้สึกภูมิใจที่เดอร์แบนได้เป็นผู้นำการพัฒนากลยุทธ์ที่ครอบคลุม เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการรับมือกับความเสี่ยง และภัยพิบัติหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศไปจนถึงการรักษาความปลอดภัยทางน้ำ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ชุมชนเมืองที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน การสร้างความเข้มแข็งตั้งแต่โครงสร้างการปกครองของเมืองเดอร์แบนไปจนถึง วิธีการจัดสรรทรัพยากร ถือเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เราได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชุมชนเมืองของเราภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ทำให้เรามีความแข็งแกร่งมากขึ้น เราได้เรียนรู้ว่า การสร้างความเข้มแข็ง และความสามารถในการปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆเปรียบเสมือนการเดินทาง ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง ผมมั่นใจว่าโครงการฟื้นฟูเมือง 100 แห่งของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ซึ่งเป็นโครงการที่สำคัญ และเหมาะสมกับโอกาส จะช่วยกระตุ้นให้เมืองอื่นๆอีกหลายแห่งปฏิบัติตามได้”
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการฟื้นฟูเมือง 100 แห่งของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ได้ที่ www.100resilientcities.org
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit