กรุงเทพฯ--16 ก.ค.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จของตัวแทนเด็กไทยอีกครั้งเป็นปีที่ 4 เมื่อทีมไมร่า (Myra) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) และ ทีม เคลฟเวอร์ มายด์ (Clever Mind) จาก มหาวิทยาลัยมหิดลได้ร่วมกันคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง ในการแข่งขันประเภท Innovation และ Windows 8 Appจากเวทีการแข่งขันระดับโลก Microsoft Imagine Cup ครั้งที่11 ซึ่งทีมไมร่าได้รับเงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ (ประมาณ 150,000 บาท) ในขณะที่ทีมเคลฟเวอร์ มายด์ได้รับเงินรางวัลจำนวน 3,000ดอลล่าร์สหรัฐ (ประมาณ 90,000 บาท) โดยในปีนี้ไมโครซอฟท์ได้จัดการแข่งขันขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซียระหว่างวันที่ 8 – 11 กรกฎาคม ที่ผ่านมาโดยมีนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 87 ทีม จาก 71 ประเทศทั่วโลก
ฮาเรซ คูบจันดานิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ประเทศไทยได้รับการบันทึกและมีจุดยืนที่แข็งแกร่งเป็นอย่างยิ่งบนเวทีการแข่งขันMicrosoft Imagine Cupประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเดียวที่คว้าแชมป์ชนะเลิศมาแล้วถึง 3 ครั้ง สำหรับผลการแข่งขันที่ยอดเยี่ยมในครั้งนี้ของทีมไมร่า ในประเภท Innovation และ ทีมเคลฟเวอร์ มายด์ ในประเภท Windows 8 App ไม่ได้เพียงสร้างชื่อเสียงให้กับทั้งสองทีม แต่เป็นชื่อเสียงของประเทศชาติด้วย เราทุกคนรู้สึกภูมิใจกับความสำเร็จของเยาวชนไทยกลุ่มนี้และขอบคุณสำหรับทุกๆ ความพยายาม ผมมั่นใจว่านักศึกษาไทยทั้งสองทีมนี้จะมีอนาคตที่สดใสในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทยอย่างแน่นอน”
2 แอพฯ เด็ดนำทีมนักศึกษาไทยคว้ารางวัลกลับบ้าน
ทีมไมร่า มีสมาชิกประกอบด้วย นางสาวศิคณา ธนุภาพรังสรรค์นางสาวศรัณยา ภุมมานายกรัชกาย อารี-กิจเสรี และ นายธนานันต์ พัฒนางกูร ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง จากการแข่งขันประเภท Innovation ด้วยผลงานทีมี่ชื่อว่า SkyPACS ซึ่งออกแบบเพื่อเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักรังสีวิทยาในการจัดการและโอนย้ายภาพถ่ายทางการแพทย์ เช่น MRI และ CTScan และเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกแก่รังสีแพทย์ในการวินิจฉัยอาการผิดปกติของผู้ป่วยจากภาพถ่าย หรือ ระบบจำลองภาพ 3 มิติ ระบบจะเน้นการใช้งานที่ง่ายและมอบประสบการณ์การใช้งานบนเว็บแอพพลิเคชั่นและระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8
นางสาวศิคณา ธนุภาพรังสรรค์ หนึ่งในสมาชิกทีมไมร่า อธิบายต่อว่า “เราได้ทำการสำรวจอุปสรรคต่างๆ ที่นักรังสีวิทยามักพบเจอในกระบวนการการทำงานและเราได้ไอเดียในการสร้าง SkyPACS ในขณะที่เราได้ทำการค้นหาซอฟต์แวร์โซลูชั่นในช่วงแรก โปรแกรม SkyPACS จึงเป็นวิธีง่ายๆ สำหรับการตรวจวินิจฉัยที่จะเปลี่ยนอุปกรณ์แท็บเล็ตของคุณให้กลายเป็นเครื่องฉายภาพทางการแพทย์ที่ได้ติดตั้งชุดเครื่องมือที่นักรังสีวิทยาคุ้นเคยไว้ในตัว”
ทีมเคลฟเวอร์ มายด์ มีสมาชิกประกอบไปด้วย นายกฤตินันท์ สิโรดม นายปิยะวุฒิ จันทศรีสวัสดิ์นายศิริศักดิ์ นาคะวิวัฒน์ และ นายสิทธิโชติฉัตรธนะกุล ส่งแอพฯ สร้างสรรค์ Vocable World เข้าประกวด Vocable World เป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้คำศัพท์แบบมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของเฟรมเวิร์ก LPM (เรียนรู้: learning, ฝึกฝน: practicingและประเมินผล: measuring) โดยใช้การเล่นเกมเพื่อดึงดูดให้ผู้เล่นสนใจและอยากที่จะเรียนรู้คำศัพท์ ทั้งนี้ Vocable World ได้รับการพัฒนาให้รองรับการใช้งานบนWindows 8 และ Windows Phone 8 ส่วนแอพฯ ฝั่งเซิฟเวอร์นั้นจะทำงานอยู่บน Windows Azure
นายสิทธิโชติฉัตรธนะกุล อธิบายถึงจุดประสงค์ของแอพฯ นี้ว่า “พวกเราต้องเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เราต้องแชร์ความคิด ออกความเห็นหรืออารมณ์ โดยใช้ภาษาต่างประเทศ ซึ่งเราพบว่าเราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้เพราะมีวงศัพท์ที่จำกัด ไม่มั่นใจในโครงสร้างไวยากรณ์ และ กังวลเกี่ยวกับการออกเสียง Vocable World จะมาช่วยผู้เรียนภาษาให้มีความรู้และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ โดยการใช้กระบวนการการเรียนรู้ที่น่าสนใจมากขึ้น”
Imagine Cup Worldwide รอบชิงชนะเลิศ
ทีมไมร่า และ ทีมเคลฟเวอร์ มายด์ เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อคว้าชัยชนะในครั้งนี้กับนักศึกษาอีก 87 ทีม จาก 71 ประเทศทั่วโลก ในรอบชิงชนะเลิศหลังจากชนะการแข่งขัน Imagine Cup ในระดับประเทศเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ประกาศผลโครงการของทีมผู้ชนะโดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Innovation, Games และ World Citizenship พร้อมทั้งการแข่งขันแบบเฉพาะเจาะจงอีก 3 รางวัล และ รางวัลพิเศษจากผู้สนับสนุนการแข่งขันอีก 8 รางวัล ทีมไมร่าขึ้นรับเงินรางวัลจำนวน 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ร่วมกับผู้ชนะการแข่งขันทีมอื่นๆ ในงานมอบรางวัล Imagine Cup Award ที่จัดขึ้น ณ โรงละครอเล็กซานดรินสกี้ พร้อมผู้เข้าร่วมงานกว่า 800 คน ทั้งนักศึกษา คณะกรรมการ พันธมิตร แขกผู้มีเกียรติ และ สื่อมวลชนจากทั่วโลก พิธีประกาศรางวัลถือเป็นจุดสูงสุดของการแข่งขันตลอดระยะเวลา 4 วันและเป็นการเฉลิมฉลองการนำไอเดียสร้างสรรค์มาทำให้เป็นจริงผ่านเทคโนโลยีและการร่วมมือร่วมใจกันของนักศึกษาทุกคน
ปี 2556 นี้ถือเป็นปีที่ 11 ของการแข่งขัน Imagine Cup ซึ่งในปีแรกนั้นมีนักศึกษาเพียง 2,000คน จาก 25 ประเทศเท่านั้นที่เข้าร่วมรายการ และภายใน 10 ปีที่ผ่านมาหลังจากนี้โครงการ Imagine Cup ก็มีนักศึกษาจำนวนกว่า 1.65 ล้านคน จาก 190 ประเทศทั่วโลก เข้าร่วมการแข่งขันเป็นที่เรียบร้อย ประเทศไทยเองได้คว้าชัยชนะรางวัลใหญ่มาได้ถึง 3 ครั้ง ในปี 2550, 2553 และ 2555 ซึ่งเป็นเพียงประเทศเดียวที่ได้รับรางวัลใหญ่มากครั้งที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขัน Imagine Cup
รายชื่อผู้ชนะการแข่งขัน Imagine Cup ครั้งที่ 11 มีดังต่อไปนี้
Innovation
รางวัลชนะเลิศ, เงินรางวัล 50,000ดอลล่าร์สหรัฐ: Colinked, สหราชอาณาจักร, ชื่อโครงการ: SoundSYNK
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง, เงินรางวัล 10,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: DORA, สโลเวเนีย, ชื่อโครงการ: DORA
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง: เงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: MYRA, ไทย, ชื่อโครงการ: SkyPACS
Games
รางวัลชนะเลิศ, เงินรางวัล 50,000ดอลล่าร์สหรัฐ: Zeppelin Studio, ออสเตรีย, ชื่อโครงการ: Schein
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง, เงินรางวัล 10,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Solite Studio, อินโดนีเซีย, ชื่อโครงการ: Save the Hamsters
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง: เงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Banzai Lightning, ฝรั่งเศส, ชื่อโครงการ: Seed World Citizenship
รางวัลชนะเลิศ, เงินรางวัล 50,000ดอลล่าร์สหรัฐ: For a Better World, โปรตุเกส, ชื่อโครงการ: For a Better World
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง, เงินรางวัล 10,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Team Omni-Hearing Solution, ไต้หวัน, ชื่อโครงการ: Omni-Hearing Solution
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง: เงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Confufish Royale, ออสเตรเลีย, ชื่อโครงการ: Foodbank Local
ผู้ชนะ Imagine Cup Challenge
ในปีนี้ Imagine Cup มอบรางวัลพิเศษสำหรับการแข่งขันออนไลน์แก่นักศึกษา โดยเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ คิดค้นต้นแบบ และสร้างสรรค์แอพฯ ใหม่ๆ โดยใช้เทคโนโลยีล่าสุดจากไมโครซอฟท์ ทีมที่มีคะแนนสูงสุดสามลำดับแรกในแต่ละประเภทจะได้รับโอกาสในการเข้าแข่งขันที่ประเทศรัสเซียในรอบชิงชนะเลิศ
รายชื่อผู้ชนะการแข่งขันมีดังนี้
Windows Azure Challenge
รางวัลชนะเลิศ, เงินรางวัล 10,000ดอลล่าร์สหรัฐ: Y-Nots, อินเดีย, ชื่อโครงการ: Zoik It!
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง, เงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Team nlife, ยูเครน, ชื่อโครงการ: onQuests
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง: เงินรางวัล 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Team LetssGo, จีน, ชื่อโครงการ: Get & Put
Windows Phone Challenge
รางวัลชนะเลิศ, เงินรางวัล 10,000ดอลล่าร์สหรัฐ: vSoft Studio, สิงคโปร์, ชื่อโครงการ: Speak Reminder
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง, เงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: WeRule, โปแลนด์, ชื่อโครงการ: Modern Drug Test
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง: เงินรางวัล 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Front, โปแลนด์, ชื่อโครงการ: Cope
Windows 8 Apps Challenge
รางวัลชนะเลิศ, เงินรางวัล 10,000ดอลล่าร์สหรัฐ: TeamNameException, อิตาลี, ชื่อโครงการ: Ulixes
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง, เงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Wordsapp, เยอรมัน, ชื่อโครงการ: Wordsapp
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง: เงินรางวัล 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Clever Mind, ไทย, ชื่อโครงการ: Vocable World
Imagine Cup ปี 2014จะจัดขึ้น ณ บ้านเกิดไมโครซอฟท์ สำนักงานใหญ่ เรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน
ในปี 2557 Imagine Cup จะกลับไปจัดที่บ้านเกิด ไมโครซอฟท์ สำนักงานใหญ่ ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน ซึ่งสตีฟ บาลเมอร์ ได้กล่าวไว้ในวิดิโอคลิปที่ฉายที่งานในปีนี้ คุณสามารถหาชมได้ที่ Microsoft News Center
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ (สำหรับสื่อมวลชน) คุณพรรวี สุรมูล และ คุณปณิธิดา ผ่องแผ้ว ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ โทรศัพท์: 0-2627-3501 ต่อ 110, 106 อีเมล:[email protected], [email protected]
-นท-
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit