MONEY & BANKING AWARDS 2013 รางวัลเกียรติยศตลาดเงินตลาดทุนไทย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล นักการเงินแห่งปี

17 Jun 2013

กรุงเทพฯ--17 มิ.ย.--มีเดีย แอสโซซิเอตเต็ด

พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล “Money & Banking Awards 2013” ซึ่งจัดโดย วารสารการเงินธนาคาร ในวันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2556 เวลา 18.00 น. ณ ห้องบอลรูม ชั้น 8 โรงแรมโซฟิเทล โซ แบงคอก กรุงเทพฯ เผย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ครองตำแหน่งนักการเงินแห่งปี 2555 ธนาคารไทยพาณิชย์ คว้าธนาคารแห่งปี 2556 ด้านธนาคารกสิกรไทย รั้งธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2556 ส่วน เอไอเอส แชมป์บริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี 2556 พร้อมด้วย 11 กองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี 2556 และ 22 สถาบันครองรางวัลบูธสวยงามในงาน Money Expo 2013

นายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานและบรรณาธิการ วารสารการเงินธนาคาร เปิดเผยว่า วารสารการเงินธนาคาร จัดงานมอบ รางวัลเกียรติยศ Money & Banking Awards 2013 ขึ้นในปีนี้เป็นปีที่ 6 เพื่อยกย่องผู้บริหาร ธนาคาร สถาบันการเงิน และบริษัทจดทะเบียนที่มีผลงานยอดเยี่ยมในรอบปีที่ผ่านมา ดังนี้

1.รางวัลนักการเงินแห่งปี 2555 Financier of the Year 2012 เป็นรางวัลที่มอบให้กับนายธนาคาร และนักการเงินที่มีความเป็นเลิศในแต่ละปี เพื่อยกย่องให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม โดยมีเกณฑ์การตัดสินจากคุณสมบัติ 4 ด้าน ดังนี้ 1.มีวิสัยทัศน์กว้างไกล 2.มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ 3.สร้างความเจริญเติบโตให้กับองค์กร และ 4.ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ได้แก่ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

2.รางวัลธนาคารแห่งปี 2556 Bank of the Year 2013 เป็นรางวัลที่มอบให้กับธนาคารที่มีผลประกอบการรวมยอดเยี่ยมในรอบปี ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์

3.รางวัลธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2556 Best Retail Bank of the Year 2013

เป็นรางวัลจากการสำรวจผู้เข้าชมงานและสมัครใช้บริการในงานมหกรรมการเงิน Money Expo ที่แสดงความชื่นชอบและตัดสินใจเลือกใช้บริการมากที่สุดในงาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจสูงสุดในการได้รับบริการจากธนาคารและสถาบันการเงินที่เข้าร่วมงาน ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย

4.รางวัลบริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี 2556 Best Public Company of the Year 2013 เป็นรางวัลที่ มอบให้กับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีผลประกอบการรวมยอดเยี่ยมในรอบปี และยอดเยี่ยมในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ดังนี้

  • บริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี 2556 ได้แก่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส
  • บริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี 2556 ในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม
  • กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส
  • กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร
  • กลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร ได้แก่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
  • กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์
  • กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ได้แก่ บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น
  • กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ บมจ.ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์
  • กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ บมจ.กันยงอีเลคทริก
  • กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ได้แก่ บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง
  • ตลาด mai ได้แก่ บมจ.เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ

5.รางวัลกองทุนรวมยอดเยี่ยมแห่งปี 2556 Best Mutual Fund of the Year 2013 เป็นรางวัลใหม่ ในปีนี้ที่มอบให้กับกองทุนรวมแต่ละประเภท ที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมในรอบปี ดังนี้

  • กองทุนรวมตราสารหนี้

กลุ่มที่ 1 กองทุนสะสมทรัพย์ ตราสารหนี้ เน้นตราสารภาครัฐ (Money Market Treasury)

ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารรัฐตลาดเงิน บลจ.ไทยพาณิชย์

กลุ่มที่ 2 กองทุนสะสมทรัพย์ ตราสารหนี้ (Money Market General)

ได้แก่ กองทุนเปิด ยูโอบี อินคัม เดลี บลจ.ยูโอบี (ไทย)

กลุ่มที่ 3 กองทุนตราสารหนี้ ทั่วไป (Fixed Income General)

ได้แก่ กองทุนเปิด เคเอ ชอร์ท เทอม ฟิกซ์ อินคัม บลจ.กสิกรไทย

  • กองทุนรวมตราสารทุน

กลุ่มที่ 4 กองทุนตราสารทุน หุ้นปันผล (Equity Value)

ได้แก่ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไฮ-ดิวิเดนด์ ฟันด์ บลจ.เอ็มเอฟซี

กลุ่มที่ 5 กองทุนตราสารทุน หุ้นขนาดใหญ่ (Equity Large)

ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงทศพล บลจ.บัวหลวง

กลุ่มที่ 6 กองทุนตราสารทุน ทั่วไป (Equity General)

ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ เซ็ท อินเด็กซ์ ฟันด์ บลจ.ไทยพาณิชย์

  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

กลุ่มที่ 7 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ สะสมทรัพย์ตราสารหนี้ (RMF Money Market)

ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อการเลี้ยงชีพ บลจ.ไทยพาณิชย์

กลุ่มที่ 8 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตราสารหนี้ทั่วไป (RMF Fixed Income)

ได้แก่ กองทุนเปิด เค ตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อการเลี้ยงชีพ บลจ.กสิกรไทย

กลุ่มที่ 9 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตราสารทุน (RMF Equity)

ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ บลจ.บัวหลวง

  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

กลุ่มที่ 10 กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ประมาณ 70% (LTF 70/30)

ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 บลจ.บัวหลวง

กลุ่มที่ 11 กองทุนรวมหุ้นระยะยาว 100% (LTF 100)

ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว บลจ.บัวหลวง

6.รางวัลบูธสวยงามยอดเยี่ยม งานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 13 Money Expo 2013 เป็นรางวัลที่มอบให้กับธนาคาร สถาบันการเงิน และองค์กรที่เข้าร่วมงานมหกรรมการเงิน Money Expo แต่ละปี ที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการตัดสินรางวัลบูธสวยงาม ซึ่งประกอบด้วย ศิลปินแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและจิตรกรรม โดยมีเกณฑ์การตัดสินที่พิจารณาจากแนวความคิดสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับแนวคิดการจัดงานในแต่ละปี การออกแบบและประโยชน์ใช้สอย ดังนี้

  • ประเภทพื้นที่ขนาดมากกว่า 500-1,000 ตร.ม.

รางวัลยอดเยี่ยม ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย

รางวัลดีเด่น ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และ ธนาคารไทยพาณิชย์

  • ประเภทพื้นที่ขนาดมากกว่า 250-500 ตร.ม.

รางวัลยอดเยี่ยม ได้แก่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต

รางวัลดีเด่น ได้แก่ ธนาคารออมสิน, ธนาคารอาคารสงเคราะห์, ธนาคารธนชาต และ บมจ.อิออน ธนสินทรัพย์ (ประเทศไทย)

  • ประเภทพื้นที่ขนาดมากกว่า 150-250 ตร.ม.

รางวัลยอดเยี่ยม ได้แก่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย

รางวัลดีเด่น ได้แก่ ธนาคารเกียรตินาคิน, บมจ.โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย), บมจ.อีซี่ บาย และ บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด

  • ประเภทพื้นที่ขนาดมากกว่า 100-150 ตร.ม.

รางวัลยอดเยี่ยม ได้แก่ บมจ.แอ็ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต

รางวัลดีเด่น ได้แก่ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) และ ธนาคารซิตี้แบงก์

  • ประเภทพื้นที่ขนาด 100 ตร.ม. และน้อยกว่า 100 ตร.ม.

รางวัลยอดเยี่ยม ได้แก่ กรมสรรพากร

รางวัลดีเด่น ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

นายสันติกล่าวว่า รางวัลเกียรติยศ Money & Banking Awards 2013 มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุน ความสำเร็จของธนาคาร สถาบันการเงิน และบริษัทจดทะเบียนให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม นอกจากจะเป็นการ ให้กำลังใจและเป็นตัวอย่างที่ดีแล้ว ยังมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนภาคการเงิน ภาคตลาดทุน และภาค ธุรกิจของไทยให้ก้าวหน้าไปสู่ความเข้มแข็ง มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และมีความสามารถใน การแข่งขัน อันจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

-กผ-