บริษัทฟรีสแลนด์คัมพิน่าพร้อมสานต่อนโยบายระดับโลกด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สองโรงงานผลิตนมโฟร์โมสต์ในไทยได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry)

28 Mar 2013

กรุงเทพฯ--28 มี.ค.--อินบีทวีน คอมมูนิเคชั่นส์

บมจ.ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มภายใต้แบรนด์โฟร์โมสต์ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยดำเนินงานตามนโยบายระดับโลกของ Royal FrieslandCampina ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทำให้สองโรงงานผลิตนมโฟร์โมสต์ในไทยได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) จากกระทรวงอุตสาหกรรม สะท้อนภาพลักษณ์การเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายนมดีที่รักษ์สิ่งแวดล้อม ผู้บริหารเผยการได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวเป็นหนึ่งในสี่แนวทางหลักในการดำเนินธุรกิจแบบรับผิดชอบต่อสังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม(CSR) ของโฟร์โมสต์ สร้างความภาคภูมิใจให้กับองค์กร และเป็นการสนับสนุนให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการช่วยกันดูแลโลก

นายชนินทร์ อรรจนานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายนมพร้อมดื่มภายใต้ตราสินค้าโฟร์โมสต์ เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่มุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจและสังคมอย่างสมดุลและยั่งยืน ซึ่งเป็นไปตามแนวทางดำเนินงานของกลุ่มบริษัทในเครือ รอยัลฟรีสแลนด์คัมพิน่า ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยกระบวนการดำเนินงานของโรงงานผลิตนมโฟร์โมสต์มีความเข้มงวดทุกขั้นตอนและให้ความสำคัญในทุกรายละเอียดตั้งแต่การรับน้ำนมดิบจากเกษตรกรไปจนถึงขั้นตอนการบรรจุนมในบรรจุภัณฑ์นมประเภทต่างๆ

ปัจจุบันโรงงานผลิตนมโฟร์โมสต์ในประเทศไทยมี 2 แห่งประกอบด้วย โรงงานหลักสี่ซึ่งผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ เช่น นมโฟร์โมสต์พาสเจอร์ไรส์ นมเปรี้ยวโฟร์โมสต์ที่มีจุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพ และโยเกิร์ตโฟร์โมสต์แบบถ้วย เป็นต้น ส่วนโรงงานสำโรงผลิตนมพร้อมดื่ม UHT และ Sterilize เช่น นมโฟร์โมสต์คิดส์ นมโฟร์โมสต์สคูล นมโฟร์โมสต์ โอเมก้า นมเปรี้ยวพร้อมดื่มตราโยโมสต์ นมข้นหวานและนมข้นจืดตราเรือใบ ตรานกเหยี่ยวและมายบอย เป็นต้น

นับเป็นความภาคภูมิใจของทุกคนในองค์กรเมื่อโรงงานผลิตนมโฟร์โมสต์ในประเทศไทยทั้งสองแห่งได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) จากกระทรวงอุตสาหกรรม ในเดือนมกราคม 2556 แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงในการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ ที่มุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจไปพร้อมกับการดูแลสภาพแวดล้อมและชุมชนสังคม และต่อจากนี้ไปผลิตภัณฑ์นมโฟร์โมสต์ทุกประเภทจะมีตราสัญลักษณ์อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry Mark) ประทับไว้บนบรรจุภัณฑ์ สะท้อนให้เห็นภาพลักษณ์การเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายนมดีที่รักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างการรับรู้ในภาพลักษณ์ของโฟร์โมสต์ว่าเป็นธุรกิจที่มีความมุ่งมั่นพร้อมดูแลใส่ใจสภาพแวดล้อมควบคู่กัน ทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจและภาคภูมิใจให้กับผู้บริโภคเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์นมโฟร์โมสต์ว่าได้มีส่วนร่วมในการช่วยกันดูแลโลกของเรา

“โฟร์โมสต์ใช้นโยบายสีเขียวเป็นแนวทางหลักในการพัฒนากระบวนการผลิตทุกขั้นตอนที่ไม่คุกคามต่อสภาพแวดล้อมและสังคม มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวถือเป็นผลสำเร็จส่วนหนึ่งในสี่แนวทางด้าน CSR ทั้งหมดของโฟร์โมสต์ การได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวจึงเป็นสิ่งยืนยันผลสำเร็จแห่งความตั้งใจดังกล่าว ซึ่งการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถือเป็นบรรทัดฐานของโฟร์โมสต์ในการพัฒนาธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน” นายชนินทร์ กล่าว

พร้อมกันนี้ ผู้บริหาร บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ยังได้เปิดเผยถึงแนวทางการทำธุรกิจแบบรับผิดชอบต่อสังคมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (CSR) ซึ่ง ประกอบด้วย 4 แนวทางหลัก คือ 1) การส่งเสริมสุขภาพและภาวะโภชนาการ (Health & Nutrition) เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดื่มนมและให้ความรู้ในด้านโภชนาการจากนมซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายรวมทั้งการพัฒนาระบบความคิดและสมอง 2) การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน (Sustainable Production Chain) เป็นการจัดการกระบวนผลิตนมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งการได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผนการดำเนินงานในส่วนนี้ได้อย่างชัดเจน 3) การบริหารจัดการฟาร์มโคนม (Dairy Development) เป็นการร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพและสร้างมาตรฐานให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมโดยการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจัดการฟาร์มที่ได้มาตรฐาน และ 4) การพัฒนาฟาร์มโคนมอย่างยั่งยืน (Responsible Dairy Farming) มุ่งเน้นการพัฒนาระบบฟาร์มที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด และส่งเสริมการให้ความสำคัญต่อการเลี้ยงดูความเป็นอยู่ของสัตว์

สำหรับการได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตสินค้าโดยการพิจารณาของกระทรวงอุตสาหกรรมมีเกณฑ์การพิจารณา 5 ระดับประกอบด้วย 1) ความมุ่งมั่นขององค์กร เช่น มีแผนงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มีการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน 2) ปฏิบัติการสีเขียว คือการลงมือปฏิบัติตามแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมให้เกิดประสิทธิผล 3) ระบบสีเขียว มีการกำหนดนโยบาย วางแผน ปฏิบัติและติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 4) วัฒนธรรมสีเขียว องค์กรต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมโดยครอบคลุมมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 และ 5) เครือข่ายสีเขียว มีแผนงานส่งเสริม สานสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับผ็มีส่วนได้ส่วนเสีย ครอบคลุมห่วงโซ่อุปทาน ชุมชน และผู้บริโภค และต้องทำให้ประสบความสำเร็จ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ : บริษัท อินบีทวีน คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

โทรศัพท์. 02.938.2700

E-mail: [email protected], [email protected]

-กผ-

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net