องค์กรการค้าเห็นพ้องร่างพ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบสร้างภาระแก่ผู้ประกอบการ

30 Jan 2013

กรุงเทพฯ--30 ม.ค.--สมาคมการค้ายาสูบไทย

สืบเนื่องจากการยกร่างพ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบ ที่จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและจัดทำร่างกฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค และเสร็จสิ้นการทำประชาพิจารณ์เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 ซึ่งที่ผ่านมาผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาสูบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเกษตรกรชาวไร่ยาสูบในจังหวัดต่าง ๆ ได้มีการรวมตัวแสดงข้อกังวลจากผลกระทบที่จะมีต่ออาชีพชาวไร่ยาสูบอย่างต่อเนื่อง

และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ได้มีการแสดงความกังวลจากส่วนองค์กรการค้าที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาสูบโดยตรงและองค์กรการค้าส่วนกลาง ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย และสมาคมการค้ายาสูบไทย โดยองค์กรการค้าทั้ง 3 องค์กร ต่างมีความเห็นตรงกันว่าร่างพ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบฉบับดังกล่าว จะสร้างภาระเพิ่มขึ้นแก่ผู้ประกอบการ และยังเปิดโอกาสให้มีการตราอนุบัญญัติที่เป็นการขยายอำนาจเจ้าหน้าที่รัฐมากจนเกินไป โดยรวมแล้วร่างพ.ร.บ.นี้มีความไม่ชัดเจนในหลายส่วนและอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ โดยองค์กรการค้าทั้ง 3 แห่งได้ทำหนังสือยื่นไปที่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อแสดงความคิดเป็นต่อร่างพ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบและชี้แจงมาตราที่ไม่เห็นด้วย โดยมีสรุปภาพรวมข้อคิดเห็นดังนี้

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สรุปภาพรวมว่ากฎหมายจะสร้างภาระเพิ่มขึ้นแก่ผู้ประกอบการ โดยไม่มีคำอธิบายหรือหลักฐานใดมายืนยันว่ามาตรการนั้น ๆ จะช่วยลดการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ กฎหมายไม่ควรเพิ่มภาระแก่บุคคล และไม่ควรให้อำนาจออกอนุบัญญัติในภายหลัง ควรมีความชัดเจน มีขอบเขต และมีการศึกษาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายและผลที่จะได้รับในภายหลังมากกว่านี้

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สรุปภาพรวมว่ากฎหมายฉบับนี้ใช้ถ้อยคำที่มีความหมายกว้างเกินไปและไม่ชัดเจน อาจนำไปสู่การที่ความหมายที่จะก่อให้เกิดปัญหาในทางปฎิบัติ ทั้งยังเปิดโอกาสให้มีการตราอนุบัญญัติที่เป็นการขยายอำนาจเจ้าหน้าที่รัฐในหลายมาตรา โดยไม่ต้องผ่านการปรึกษาหรือรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญคือไม่มีความชัดเจนใด ๆ ที่บ่งชี้ว่ากฎหมายฉบับนี้จะช่วยลดอัตราการบริโภคยาสูบได้จริง (อ่านจดหมายความเห็นฉบับเต็มได้ที่ www.thairetailers.com)

สมาคมการค้ายาสูบไทย สรุปภาพรวมว่ากฎหมายฉบับนี้จะสร้างภาระเพิ่มขึ้นแก่ผู้ประกอบการค้าจนเกินสมควร ทั้งยังจำกัดสิทธิเสรีภาพในการประกอบการ รวมทั้งให้อำนาจออกอนุบัญญัติในภายหลังมากเกินไป โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบกลั่นกรองของรัฐสภาเลย ทางสมาคมฯ มีความคิดเห็นว่ากฎหมายที่เหมาะสมควรเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของภาครัฐ มีความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และมีการจัดทำการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดเพื่อให้กฎหมายตั้งอยู่บนความถูกต้องและสามารถแก้ไขปัญหาได้จริง สมาคมฯ เห็นว่าร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับควบคุมยาสูบ 2 ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติที่เข้มงวดอยู่แล้ว เพียงแต่การบังคับใช้ยังขาดความเข้มงวดและประสิทธิภาพ จึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมายฉบับปัจจุบันนี้มากกว่าการออกกฎหมายใหม่ที่ไม่จำเป็น (อ่านจดหมายความเห็นฉบับเต็มได้ที่ www.ttta.or.th)

สรุปมาตราสำคัญ 3 องค์กรได้แสดงข้อกังวล

มาตรา 27

ห้ามผู้ใดขายหรือให้ในกรณีอื่นใด ซึ่งผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์

กรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับอายุของผู้ซื้อ หรือผู้รับการให้ ให้ผู้ขาย หรือผู้ให้ทำการตรวจบัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นแล้วแต่กรณี

ห้ามผู้ใดยินยอมให้บุคคลอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ

ทั้งสามองค์กรที่กล่าวมามีความกังวลเกี่ยวกับการห้ามผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจร้านค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านค้าปลีกขนาดย่อย ที่ทำกันเป็นระบบครอบครัว คือลูกช่วยพ่อแม่ขายของ หากมีการกำหนดอายุขั้นต่ำดังกล่าวจะเกิดความยุ่งยากในการทำการค้า เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีไม่สามารถเข้ามาช่วยเหลือกิจการได้

มาตรา 29

การขายผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต ต้องมีขนาดบรรจุไม่ต่ำกว่ายี่สิบมวน ทั้งนี้ต้องขายทั้งซอง ห้ามแบ่งขาย

การแบ่งขายผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทอื่นให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการอำนวยการ

ทั้งสามองค์กรมีความเห็นว่าการบังคับให้จำหน่ายบุหรี่ทั้งซองเช่นนี้ เป็นการจำกัดเสรีภาพในการประกอบการ เนื่องจากผู้ขายจำเป็นจะต้องขายทั้งซอง และผู้ซื้อก็ต้องซื้อทั้งซองเช่นเดียวกัน ซึ่งขัดต่อสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภคที่ไม่สามารถซื้อสินค้าเท่าจำนวนที่ต้องการบริโภคได้ นอกจากนี้ การบังคับเช่นนี้ไม่มีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอที่จะช่วยลดการบริโภคยาสูบแต่อย่างใด ทั้งยังอาจทำให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคยาเส้นมวนเอง ซึ่งราคาถูกกว่าบุหรี่หากเขาไม่สามารถซื้อทั้งซองได้ ส่งผลกระทบต่อรายได้ของร้านค้าและรายได้ภาษีของรัฐ

ส่วนการห้ามแบ่งขายโดยอ้างว่าเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชนนั้น ก็มีมาตราที่ห้ามขายยาสูบแก่ผู้มีอายุต่ำกว่าที่กำหนดอยู่แล้วจึงไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องมีการออกมาตรานี้มาซ้ำซ้อนอีก

มาตรา 40

ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบต้องจัดให้หีบห่อผลิตภัณฑ์ยาสูบ หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบมีขนาด สี สัญลักษณ์ ฉลาก รวมทั้งลักษณะการแสดงเครื่องหมายการค้า สัญลักษณ์ รูปภาพ และข้อความให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศโดยคำแนะนำของคณะกรรมการอำนวยการ ก่อนที่จะนำออกจากแหล่งผลิตหรือก่อนที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วแต่กรณี

ห้ามผู้ใดขายผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มิได้จัดให้มีหีบห่อผลิตภัณฑ์ยาสูบ หรือแสดงเครื่องหมายการค้า สัญลักษณ์ รูปภาพ และข้อความตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง

ทั้งสามองค์กรมีความเห็นว่ามาตรานี้ได้บัญญัติขึ้นโดยมีเจตนาให้อำนาจเพื่อนำไปสู่การใช้ซองบุหรี่แบบเรียบ (Plain Packaging) ซึ่งหมายความว่าหากมีการใช้ซองบุหรี่แบบเรียบนี้จริง บุหรี่ทุกซอง ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้ออะไร ก็จะมีลักษณะของซอง ไม่ว่าจะเป็นสี รูปแบบตัวอักษรที่บ่งบองยี่ห้อและประเภทของบุหรี่ รวมทั้งไม่มีการแสดงสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าใด ๆ จะทำให้เกิดความลำบากเป็นอย่างมากในแง่ของการแยกแยะบุหรี่แต่ละประเภท สร้างความยุ่งยากให้แก่ร้านค้า ทางด้านการจัดเก็บสินค้า การวางสินค้า และการหยิบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ รวมทั้งความยุ่งยากที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค เนื่องจากการแยกแยะสินค้าเป็นไปได้ด้วยความลำบากเช่นกัน

นอกจากนั้น ข้อความที่บัญญัติไว้ว่า “ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศ...” ถือเป็นการให้อำนาจอย่างกว้างขวางแก่เจ้าหน้าที่ไปออกอนุบัญญัติในภายหลัง ซึ่งการออกประกาศดังกล่าวไม่ต้องผ่านกระบวนการความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีหรือการพิจารณาโดยรัฐสภาใด ๆ ทั้งสิ้น การใช้ข้อบังคับดังกล่าว นอกจากจะไม่มีหลักฐานยืนยันว่าจะสามารถลดอัตราการบริโภคบุหรี่ได้แล้ว ยังเป็นการกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สิน สิทธิและเสรีภาพในการประกอบการ สิทธิในการสื่อสาร ละเมิดการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และอาจนำไปสู่ปัญญาที่เกี่ยวกับบุหรี่ปลอม บุหรี่เถื่อนหรือบุหรี่ผิดกฎหมายลักษณะอื่น ๆ อีกด้วย

สรุปรายละเอียดความคิดเห็นจากแต่ละมาตราจากแต่ละองค์กร

ถ้อยคำที่ใช้ว่า “การสื่อสารการตลาด” มีความหมายกว้างมาก และเมื่อเป็นส่วนหนึ่งของมาตรา 31 จะส่งผลกระทบกับเสรีภาพในการประกอบกิจการและการสื่อสารตามปกติของผู้ประกอบการโดยตรง (หมวดที่ 1: มาตรา 4) สมาคมการค้ายาสูบไทยเพิ่มตัวแทนภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาสูบ เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ มิใช่มีแต่ภาคราชการและองค์กรเอกชนด้านการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ (หมวดที่ 1: มาตรา 6-13, หมวดที่ 2) หอการค้าไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทยการห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ จะส่งผลกระทบต่อร้านค้าปลีกขนาดเล็ก (หมวดที่ 4: มาตรา 27 วรรค 3) หอการค้าไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมการค้ายาสูบไทยความไม่ชัดเจนของหัวข้อที่เกี่ยวกับการห้ามเร่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ/ขายโดยไม่มีหลักแหล่งแน่นอน การห้ามเสนอสิทธิประโยชน์ รางวัล ชิงโชคแก่ผู้ซื้อ การห้ามลดราคาผลิตภัณฑ์ยาสูบ และการห้ามแสดงราคาผลิตภัณฑ์ยาสูบในลักษณะโดดเด่น ซึ่งความกำกวมไม่ชัดเจนเหล่านี้ อาจก่อให้เกิดการตีความหมายที่ไม่ถูกต้องในภายหลัง จึงควรพิจารณาหัวข้อเหล่านี้ใหม่และทำให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น (หมวดที่ 4: มาตรา 28) หอการค้าไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมการค้ายาสูบไทยการห้ามแบ่งซองขายจะเป็นการบังคับให้ผู้บริโภคต้องซื้อบุหรี่ทีเดียวทั้งซอง ซึ่งอาจมากกว่าปริมาณที่ต้องการ จึงไม่เห็นด้วยกับการห้ามแบ่งขายเป็นมวน (หมวดที่ 4: มาตรา 29) หอการค้าไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมการค้ายาสูบไทยหัวข้อที่ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในบางสถานที่หรือบริเวณใกล้เคียง ได้เขียนไว้ในร่างว่ารัฐมนตรีมีอำนาจประกาศสถานที่ห้ามขายเองได้ในภายหลัง จึงไม่เห็นด้วยเนื่องจากไม่มีความชัดเจนเพียงพอ และให้อำนาจกับรัฐมนตรีอย่างไม่มีขอบเขต ทั้งยังเป็นข้อห้ามที่ซ้ำซ้อนกับกฎหมายของกรมสรรพสามิตตามมาตรา 21 ของพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 อีกด้วย (หมวดที่ 4: มาตรา 30) หอการค้าไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมการค้ายาสูบไทยไม่เห็นด้วยกับการห้ามโฆษณาและทำกิจกรรมในลักษณะสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบในสื่อทุกประเภท เนื่องจากนิยามของคำว่าการสื่อสารการตลาดนั้นกว้างมากเกินไป และในหลายกรณีจะกลายเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการสื่อสาร (หมวดที่ 4: มาตรา 31) เช่นเดียวกับการห้ามเผยแพร่ข่าวสาร/ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ซึ่งดำเนินโดยธุรกิจยาสูบ (หมวดที่ 4: มาตรา 34) หอการค้าไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมการค้ายาสูบไทยไม่เห็นด้วยกับการห้ามส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐต่างๆ รับอุปถัมภ์เงินหรือสิ่งของจากธุรกิจยาสูบ เนื่องจากไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับการคุ้มครองสุขภาพประชาชน (หมวดที่ 4: มาตรา 35 วรรค 1) หอการค้าไทย สมาคมการค้ายาสูบไทยไม่เห็นด้วยกับการห้ามตั้งแสดงผลิตภัณฑ์ยาสูบบริเวณจุดขายหรือร้านค้าปลีก เช่นตามร้านโชว์ห่วย มินิมาร์ท เนื่องจากเห็นว่าเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ร้านค้า ขัดกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและกฎหมายยาสูบ (หมวดที่ 4: มาตรา 38) หอการค้าไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมการค้ายาสูบไทยหัวข้อที่เกี่ยวกับส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ยาสูบ ที่หากไม่เป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งห้ามขายและให้ทำลายผลิตภัณฑ์ยาสูบนั้น ในส่วนที่เขียนว่ารัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งห้ามขายและให้ทำลายผลิตภัณฑ์ยาสูบนั้น ไม่เห็นด้วยเนื่องจากไม่มีความชัดเจนเพียงพอ และให้อำนาจกับรัฐมนตรีอย่างไม่มีขอบเขต (หมวดที่ 4: มาตรา 39) หอการค้าไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทยซองบุหรี่แบบเรียบ (Plain Packaging) หัวข้อที่กล่าวว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบที่จำหน่าย ต้องมีลักษณะบรรจุภัณฑ์ สี ขนาด รูปแบบฉลากและภาพคำเตือนพิษภัยบุหรี่ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเสมอ เห็นว่าควรปรับปรุงเนื่องจากไม่ควรให้อำนาจรัฐมนตรีตัดสินใจในภายหลัง เพราะจะเป็นการให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ไปขยายเกินขอบเขต รวมทั้งเป็นการละเมิดต่อทรัพย์สินทางปัญญาหรือเครื่องหมายการค้า และจำกัดสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารและการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค (หมวดที่ 4: มาตรา 40) หอการค้าไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมการค้ายาสูบไทยไม่เห็นด้วยกับข้อกำหนดที่ให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้แทนจำหน่าย ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ ต้องจัดส่งรายงานประจำปีแก่คณะกรรมการฯ เนื่องจากเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ค้าปลีกและค้าส่งเกือบ 500,000 รายทั่วประเทศ รวมทั้งเป็นการบังคับให้เปิดเผยข้อมูลความลับทางการค้าของผู้ค้าด้วย (หมวดที่ 4: มาตรา 41 วรรค 2 และ 3) สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมการค้ายาสูบไทยเห็นว่าควรปรับปรุงเกี่ยวกับมาตราที่ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ยกเว้นบริเวณที่จัดให้เป็นเขตสูบบุหรี่เท่านั้น เนื่องจากการจำกัดเขตถือเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชน จึงควรผ่านกระบวนการของสภาฯ มิใช่เพียงออกเป็นประกาศกระทรวงเท่านั้น (หมวดที่ 5: มาตรา 43) หอการค้าไทยหมวดที่ร่างกล่าวว่าจะมีการจัดกองทุนเพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ เห็นว่ามีความซ้ำซ้อนกับบทบาทของ ส.ส.ส. (หมวดที่ 7: มาตรา 49) หอการค้าไทยหมวดที่กล่าวว่าพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถออกใบสั่งปรับแก่ผู้ละเมิดกฎหมายได้ทันที เห็นว่าควรปรับปรุงเนื่องจากอำนาจนี้ควรเป็นของตำรวจจะเหมาะสมกว่า (หมวดที่ 8) หอการค้าไทยเกี่ยวกับบทกำหนดโทษ มีความคิดเห็นว่าบางบทลงโทษมีความรุนแรงเกินไป ควรปรับปรุงให้เหมาะสมกว่านี้ (หมวดที่ 9) หอการค้าไทย สมาคมการค้ายาสูบไทย

สำหรับข้อมูลและข้อคิดเห็นเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ สมาคมการค้ายาสูบไทย Thai Tobacco Trade Association (TTTA) โทร: 02-516-3958 โทรสาร: 02-516-3946 อีเมล์: [email protected] เว็บไซต์: http://www.ttta.or.th

-นท-