‘ไฟเซอร์’ จัดสัมมนา “ทางเลือกในการป้องกันโรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัสในผู้ใหญ่”

29 Aug 2012

กรุงเทพฯ--29 ส.ค.--บางกอก พับบลิค รีเลชั่นส์

? โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัสปัญหาสาธารณสุขระดับโลก คร่าชีวิตคนกว่า 1.6 ล้านคนต่อปี ? แพทย์ชี้ - โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัสในผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไปป้องกันได้ด้วย การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 55 บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านการค้นคว้าวิจัยและผลิต ชีวเวชภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จัดงานสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “ทางเลือกในการป้องกัน โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัสในผู้ใหญ่” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภัยร้ายของเชื้อนิวโมคอคคัส (Pneumococcus) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคปอดบวมและการติดเชื้อรุนแรงในกระแสโลหิต ปัญหาสาธารณสุขระดับโลกที่คร่าชีวิตผู้ป่วยกว่า 1.6 ล้านคนต่อปี พบว่าการป้องกันโรคปอดบวมจากเชื้อนิวโม-คอคคัสด้วยวิธีการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเป็นอีกทางเลือกสำหรับกลุ่มเสี่ยง อาทิ ผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่มี โรคประจำตัวเรื้อรัง หรือผู้ป่วยซึ่งมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

งานสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ในการบรรยายให้ความรู้ ร่วมด้วย หมอก้อง - ร.อ. นพ. สรวิชญ์ สุบุญ แพทย์และนักแสดงดาวรุ่ง ร่วมในการเสวนา โดยมี โอปอล์ – ปาณิสรา พิมพ์ปรุ นักแสดงสาวอารมณ์ดีรับหน้าที่พิธีกร และ มร. คริสเชียน มาลเฮอร์บี ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยและอินโดไชน่า บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้การต้อนรับ

มร. คริสเชียน มาลเฮอร์บี ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยและอินโดไชน่า บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การมีสุขภาพดีเป็นเรื่องที่สำคัญ ไฟเซอร์เชื่อว่าการป้องกันไม่ให้เกิดโรคย่อมดีกว่าการรักษา เราจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรรมยาและวัคซีนคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปกป้องผู้คนจากโรคภัยต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแนวทางการป้องกันโรคเพื่อประโยชน์ของสาธารณชนเป็นอีกหนึ่งในหน้าที่สำคัญของเรา ในฐานะผู้นำในการค้นคว้าวิจัยชีวเวชภัณฑ์ระดับโลก”

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ กล่าวว่า “เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสเป็นเชื้อก่อโรคที่มีความสำคัญ เพราะสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อาทิ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในกระเสเลือด หรือที่เรียกว่าโรคไอพีดี (Invasive Pneumococcal Disease) อีกทั้งยังเป็นเชื้อก่อโรคที่สำคัญและพบบ่อยในโรคปอดบวม ซึ่งคร่าชีวิตของคนทั่วโลกกว่าปีละ 1.6 ล้านคน อัตราความชุกของโรคพบมากในเด็กวัยต่ำกว่า 5 ปีและผู้ใหญ่วัย 50 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เนื่องจากทั้งสองวัยมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าวัยหนุ่มสาว เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ โดยเมื่อร่างกายได้รับเชื้อเข้าไป หากเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เชื้อดังกล่าวก็จะไม่สามารถทำอันตรายใดๆ แต่ยามใดที่ร่างกายอ่อนแอ อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรืออาจลุกลามไปสู่โรคปอดบวมและโรคอื่นๆ อาทิ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสโลหิต และหูชั้นกลางอักเสบ” “สำหรับในประเทศไทย โรคปอดบวมนับเป็นปัญหาที่สำคัญทั้งในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไป และผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจวาย โรคตับแข็ง ผู้ป่วยหอบหืดเรื้อรัง ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ และผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทั้งนี้ การติดเชื้อนิวโมคอคคัสอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงขึ้นเมื่อเกิดการติด-เชื้อในวัยสูงอายุ เนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเริ่มเสื่อมถอย” ศ. นพ. ธีระพงษ์ กล่าว

ในปัจจุบัน ประชากรไทยมีอายุยืนขึ้น โดยจากการสำรวจของกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Populations Fund หรือ UNFPA) พบว่า จำนวนประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ในประเทศไทยนั้นมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน หรือคิดเป็น 10% ของประชากรรวมของไทย หรือประมาณ 6.4 ล้านคน[1] และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าประชากรผู้สูงอายุในไทยจะเพิ่มสูงขึ้นเท่าตัวเป็นเกือบ 20% ในปี พ.ศ. 2568 หรือในอีก 13 ปีข้างหน้า ดังนั้นการวางแผนการป้องกันโรคแก่ผู้สูงอายุน่าจะเป็นวิธีที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพได้ดีกว่าการรักษาทั้งระดับครัวเรือนและระดับประเทศ จากผลการศึกษาเปรียบเทียบอุบัติการณ์การติดเชื้อนิวโมคอคคัสในประเทศไทย โดยกรมควบคุมโรคติดต่อของประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงสาเหตุการเป็นโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบในผู้ป่วย โดยทำการศึกษาทุกช่วงอายุ พบว่าในจังหวัดนครพนม มีการเกิดโรคปอดบวมชุมชนในผู้ใหญ่ (อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป) สูงถึง 1,573 คนต่อประชากร 100,000 คน ในช่วงเดือนกันยายน 2546 ถึงสิงหาคม 2547 และในจังหวัดสระแก้ว 1,310 คนต่อประชากร 100,000 คน ในช่วงเดือนกันยายน 2545 ถึงสิงหาคม 2546[2] นับได้ว่าเป็นโรคร้ายแรงที่คุกคามผู้สูงอายุของไทย” ศ. นพ. ธีระพงษ์ กล่าว

แม้ว่าการติดเชื้อสามารถรักษาได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะ แต่ปัจจุบันพบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลายส่งผลให้เชื้อนิวโมคอคคัสมีการดื้อยาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะอาจไม่ประสบความสำเร็จและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยทั่วไปการติดเชื้อจะขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ เชื้อก่อโรค การสัมผัสเชื้อก่อโรค และภาวะสุขภาพของประชากร ดังนั้นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเพื่อป้องกันการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งสำคัญ ขณะเดียวกันการลดการสัมผัสเชื้อก่อโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนหรือที่ๆ มีผู้ป่วยจำนวนมากก็เป็นสิ่งสำคัญ ผู้สูงอายุอาจพิจารณาขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาลใกล้บ้านเกี่ยวกับทางเลือกในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคปอดบวมและการติดเชื้อรุนแรง

ศ. นพ. ธีระพงษ์ กล่าวเสริมว่า “สมาคมวิชาชีพแพทย์ได้ส่งเสริมให้มีการเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดจากเชื้อนิวโม-คอคคัส โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป เพราะการติดเชื้อนิวโมคอคคัสมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเมื่ออายุมากขึ้น”

ศ. นพ. ธีระพงษ์ กล่าวว่า “วัคซีนป้องกันโรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัสที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ วัคซีนนิวโมคอคคัสแบบโพลีแซคคาไรด์ เป็นวัคซีนดั้งเดิม มีใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 และวัคซีนนิวโมคอคคัสแบบคอนจูเกต ชนิดป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส 10 สายพันธุ์ และวัคซีนชนิดล่าสุด ที่สามารถป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส 13 สายพันธุ์ ทั้ง 2 ชนิดได้รับการรับรองให้ฉีดเพื่อป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสในเด็กอายุ 6 สัปดาห์ ถึง 5 ปีได้ แต่มีเพียงวัคซีนแบบคอนจูเกตชนิดป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส 13 สายพันธุ์ ที่ได้รับการรับรองให้ฉีดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไป เพราะสามารถป้องกันเชื้อนิวโม-คอคคัสสายพันธุ์ที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวในประเทศไทยได้มากสุดถึง 13 สายพันธุ์ (คิดเป็น 68% ของสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทย) วัคซีนนิวโมคอคคัสยังจัดเป็นวัคซีนทางเลือก ซึ่งผู้บริโภคควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาถึงความคุ้มค่า และอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เช่น ปวดบวมบริเวณที่ฉีด ซึ่งมักจะไม่รุนแรงและหายได้เองภายใน 2-3 วัน”

“ไฟเซอร์ยังคงมุ่งมั่นค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์ยาและวัคซีนที่มีคุณภาพและปลอดภัยในการรักษาและป้องกันโรค ช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคต่างๆ ตามเจตจำนงค์ของ ไฟเซอร์ที่ต้องการให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพดี” มร. มาลเฮอร์บี กล่าวสรุป

ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: บริษัท บางกอก พับบลิค รีเลชั่นส์ จำกัด โทรศัพท์ 02 664 9500 กัณฑิชา บุญโพธิ์แก้ว (ต่อ 112) ภัตติมา ก้อนฝ้าย (ต่อ 113) หรือ ปานตา พูนทรัพย์มณี (ต่อ 116)

คำบรรยายภาพ ภาพที่ 1: (จากซ้าย) โอปอล์ – ปาณิสรา พิมพ์ปรุ พิธีกรของงาน ภกญ. มนทิรา ขันทอง ผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศ. นพ. ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ มร. คริสเชียน มาลเฮอร์บี ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยและอินโดไชน่า บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ภกญ. ศิริวรรณ ชื่นชมสกุล ผู้อำนวย-การกลุ่มธุรกิจ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด คุณกล้วยไม้ นุชนิยม หัวหน้าฝ่าย-สื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และหมอก้อง - ร.อ. นพ. สรวิชญ์ สุบุญ แพทย์และนักแสดงดาวรุ่ง ร่วมงานสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “ทางเลือกในการป้องกัน โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัสในผู้ใหญ่” โดย บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ภาพที่ 2: มร. คริสเชียน มาลเฮอร์บี ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยและอินโดไชน่า บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ภาพที่ 3: (จากซ้าย) โอปอล์ – ปาณิสรา พิมพ์ปรุ พิธีกรของงาน และ ศ. นพ. ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ในงานสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “ทางเลือกในการป้องกัน โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัสในผู้ใหญ่” โดย บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ภาพที่ 4: ศ. นพ. ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ มาร่วมให้ความรู้ ในงานสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “ทางเลือกในการป้องกัน โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัสในผู้ใหญ่” โดย บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ภาพที่ 5: (จากซ้าย) โอปอล์ – ปาณิสรา พิมพ์ปรุ พิธีกรของงาน และหมอก้อง - ร.อ. นพ. สรวิชญ์ สุบุญ แพทย์และนักแสดงดาวรุ่ง ในงานสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “ทางเลือกในการป้องกัน โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัสในผู้ใหญ่” โดย บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

-ณอ-

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net