ผู้นำยุคโลกาภิวัฒน์

06 Sep 2012

กรุงเทพฯ--6 ก.ย.--เฮย์กรุ๊ป

จากรายงานการวิจัยบริษัทเฮย์กรุ๊ป บริษัทให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการองค์กรและทรัพยากรบุคคลชั้นนำของโลกระบุถึง 6 แนวโน้มที่สำคัญมากที่สุดมีอยู่ด้วยกัน 6 แนวโน้ม ซึ่งจะมีผลต่อองค์กร พนักงาน และผู้จัดการ 2 ทศวรรษข้างหน้า รวมถึงคุณลักษณะและความสามารถของผู้นำที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต

“แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเทรนนั้นแสดงให้เห็นว่า ผู้นำรุ่นต่อไปจะต้องมีแนวความคิดและมีกลยุทธ์ในการที่จะสร้างสรรค์ผลงาน รวมถึงสามารถสร้างความสอดคล้องในการทำงาน เปิดกว้างทางความคิดและค้นหาวิธีใหม่ๆในการสร้างความจงรักภักดีในหมู่พนักงาน” จอร์จ เวียร์มีทเทอร์ ผู้อำนวยการส่วนภูมิภาค ฝ่ายการสร้างความเป็นผู้นำและความสามารถ บริษัทเฮย์กรุ๊ป และเป็นผู้นำทางการศึกษาของทวีปยุโรปกล่าว

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้นำยุคใหม่นั้นจำเป็นที่จะต้องเข้าใจสภาพแวดล้องของสิ่งที่จะเกิดในอนาตคด้วย ซึ่งสิ่งที่จะเกิดในอนาคตนั้นเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถที่จะคาดการล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่เราก็สามารถที่จะดูแนวโน้วที่อาจจะส่งผลถึงองค์กร ในระยะยาว ที่เราเรียกว่า “เมก้าเทรน” ซึ่งสามารถคาดการอนาคตได้อย่างน้อย 15 ปี ซึ่งเราสามารถสรุปแนวโน้มรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงออกมาได้ 6 แนวโน้มดังนี้

1. ยุคโลกาภิวัฒน์ 2.0: เนื่องจากแรงขับเคลื่อนของยุคโลกาภิวัฒน์ในโลกของธุรกิจยุคใหม่จะมีลักษณะของทีมงานที่หลากหลายยิ่งขึ้นทำให้ความจงรักภัคดีระหว่างองค์กรกับพนักงานนั้นลดลง ความสมดุลของอำนาจได้มีแนวโน้มไปทางเอเชียจะมีจำนวนการเพิ่มขึ้นในกลุ่ทของชนชั้นกลาง อีกทั้งต้นแบบและการบริหารงานแบบเอเชียนั้นจะเริ่มมีอิทธิพลมากยิ่งขึ้น มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนในกลุ่มตลาดเปิดใหม่ที่มากขึ้นถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง ในกลุ่มของตลาดใหม่ที่อยู่ในแถบบริเวณใกล้ๆกันนั้นก็มีพฤติกรรมที่แตกต่างจากกันตามท้องถิ่นมากขึ้นโดยจะเน้นไปที่ส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นคุณลักษณะของโลกยุคใหม่หรือที่เรียกกันว่าโลกยุคโลกาภิวัฒน์ มากไปกว่านี้โลกธุรกิจก็จะมีความเสี่ยงที่สูงขึ้น เช่นการติดต่อเชื่อมโยงที่ดีขึ้นนั้นได้สร้างความผันผวนที่มากขึ้นซึ่งก่อเกิดวิกฤตทางการเงิน ทำให้เกิดการระบาดและเกิดการก่อวินาศกรรมทางคอมพิวเตอร์ที่มากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน

เมื่อโลกแห่งโลกาภิวัฒน์นี้ไม่สามารถที่จะหยุดลงได้ ดังนั้นการที่ผู้นำจะต้องเดินทัพไปข้างหน้าคงไม่ใช่เรื่องง่าย หลายๆองค์กรมีความจำเป็นที่จะต้องตระหนักถึงความอ่อนไหวทางการเมืองและเศรษฐกิจในหลากหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาหลายๆประเทศนั้นได้สามารถลดการพึ่งพาอาศัยรวมถึงการการเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างน้อยในระยะสั้น มากไปกว่านี้ในขณะที่รูปแบบการบริโภคในกลุ่มของชนชั้นกลางนั้นกำลังเกิดการผสานผสานเข้าด้วยกัน คุณค่าต่างๆของแต่ละกลุ่มตลาดเกิดใหม่นั้นก็อาจจะแตกต่างกันไปจากกลุ่มตลาดทางตะวันตก

ในความเป็นจริงนั้นสิ่งนี้หมายถึงการที่บริษัทข้ามชาติจำเป็นที่จะต้องปรับยุทธศาสตร์ที่ใช้กับทั่วโลกมาเป็นยุทธศาสตร์ที่นำมาใช้ให้เหมาะสมในแต่ละท้องที่ กระบวนการที่เข้าไปช่วยผลักดันโดยทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีวัฒนธรรมที่หลากหลายในทีมของผู้นำและการผลักดันให้เกิดการผสานกันระหว่างฝ่ายให้มีมากขึ้นระหว่างประเทศ อีกทั้งบริษัทจะต้องเป็นองค์กรที่มีความกระฉับกระเฉงเนื่องจากบริษัทข้ามชาติมีการปฏิบัติงานโดยมีลักษณะขององค์กรแบบราบซึ่งมีการไหลของทิศทางของข้อมูลและอำนาจในระนาบเดียวกัน

ผลกระทบต่อผู้นำ: บริษัทจะต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ดังนั้นผู้นำจึงจำเป็นที่จะต้องมีความยืดหยุ่น สามารถที่จะย้ายหรือเดินทางไปต่างประเทศได้บ่อยและเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้ มากไปกว่านี้ผู้นำจะต้องมีกรอบความคิดที่เข้มแข็งและมีความสามารถที่จะสร้างยุทธศาสตร์ในการคิดเพื่อที่จะจัดการกับความเสี่ยงและรับมือกับความเสี่ยง รวมถึงความไม่แน่นอนต่างๆที่จะเกิดขึ้นในโลกแห่งโลกาภิวัฒน์

2. บรรยากาศที่เปลี่ยนแปลงไป: การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกและการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัย และโรงงานอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา การขาดแคลนของทรัพยากรที่เป็นหลักสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมเช่น น้ำ แร่ธาตุ และน้ำมัน ที่นับวันราคาจะสูงขึ้น รวมถึงความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น

ผลกระทบต่อผู้นำ: องค์กรจะถูกบังคับให้ลดในเรื่องของ eco-footprint หรือ วิธีการวัดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม มีการปรับตัวให้รับกับต้นทุนในการดำเนินงานและจัดโครงสร้างตามแนวทางที่ยั่งยืน ผู้นำจะต้องมีความโดดเด่นในทักษะของการรับรู้ เพื่อที่จะทำให้เกิดความความสมดุลในความต้องการที่จะแข่งขันเพื่อให้ประสบความสำเร็จทางการเงิน ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนต่างๆขององค์กร รวมถึงต้องเป็นผู้สนับสนุนในการดำเนินธุรกิจที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

3. การเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนย้ายของผู้ที่มีศักยภาพ: ขณะที่ประชากรโลกเติบโตขึ้นนั้นได้ส่งผลทำให้เกิดการขาดสมดุลของประชากรโลก สำหรับประเทศที่เป็นประเทศกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆเช่นประเทศในทางตะวันตกและประเทศจีน อายุเฉลี่ยของประชากรนั้นมีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นแต่จำนวนประชากรไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพียงแต่ตัวเลขนั้นอยู่คงที่หรือลดลงไปกว่าเดิม ตรงกันข้ามกับประชากรในประเทศที่กำลังพัฒนา

ในประเทศอุตสาหกรรมหลายๆประเทศนั้นจะมีแต่การเพิ่มขึ้นของประชากร สิ่งนี้เองได้ส่งผลทำให้เกิดการขาดแคลนของประชากรที่มีทักษะในบางพื้นที่ รวมถึงมีการเพิ่มขึ้นในการโยกย้ายถิ่นฐานของประชากร มากไปกว่านี้ภัยพิบัติธรรมชาติและทรัพยากรที่ลดลงก็ถือได้ว่าเป็นปัญหาเช่นกัน ไม่ว่าอย่างไรก็ตามปัญหาการอพยพของกลุ่มผู้มีความสามารถ(Brain drain) นั้น จะกลายเป็นวัฏจักรของผู้มีความสามารถ อันเนื่องมาจากกลุ่มคนเหล่านี้จะย้ายกลับมาสู่ประเทศบ้านเกิดของตนเองและนำเอาความรู้และความสามารถของตนนั้นมาเร่งการพัฒนาประเทศหรือท้องถิ่นของตนเอง แต่ผู้ที่มีความสามารถเหล่านี้ก็ยังคงเป็นที่ต้องการสูงและการรักษากลุ่มคนผู้ที่มีศักยภาพสูงซึ่งนับได้ว่าเป็นหัวใจหลักเหล่านี้ไว้ให้ได้ยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย

ผลกระทบของความเป็นผู้นำ: สำหรับองค์กรนั้นบุคคลากรที่ลดน้อยลงหมายถึงสงครามที่ดุเดือดในการแย่งชิงบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ผู้นำจะต้องสร้างแรงดึงดูดและแรงจูงใจให้กับทีมของตน อีกทั้งต้องคอยหาวิธีการในการพัฒนาและส่งเสริมบุคคลากรที่ย้ายถิ่นฐานในการทำงานระหว่างและส่งเสริมวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งก่อให้เกิดความผูกพันทางจิดใจและความจงรักภักดีระหว่างกลุ่มบุลคลากรที่มีอายุที่แตกต่างกัน มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันและคุณค่าที่แตกต่างกัน ผู้นำจึงจำเป็นที่จะต้องปรับองค์กรเพื่อที่จะพลักดันกลุ่มของผู้หญิงและบุลคลากรที่เป็นกลุ่มที่อายุนั้นน้อยที่มีจำนวนมากขึ้นนั้นให้เข้าสู่ตำแหน่งผู้นำ

4. ความแตกต่างระหว่างบุคคลและการจัดสรรอำนาจที่ให้กับแต่ละกลุ่มหรือบุคคล: เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นเพื่อค้นหาความต้องการในการเติมเต็มความรู้ความสามารถของตนเองและความต้องการที่อยากจะแสดงตนเองนั้น ได้เข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนที่เร่งให้มาบรรจบกันระหว่างความเป็นส่วนตัวและชีวิตการทำงาน รวมไปถึงความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลคนที่รวมเข้ากับเป้าหมายส่วนบุคคลและเป้าหมายทางอาชีพ ความแตกต่างระหว่างบุลคลนั้นเป็นผลกระทบที่ใหญ่ค่อความซื่อสัตย์ของพนักงานรวมถึงการสร้างแรงกระตุ้นในการฏิบัติหน้าที่ด้วยปัจจัยรองเช่น การได้รับการยอมรับนับถือ การพัฒนาตนเอง คุณลักษณะเฉพาะตัว การขับเคลื่อนคุณค่าด้วยความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นปัจจัยที่ที่จัดได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญมากกว่าปัจจัยพื้นฐานทั่วๆไปเช่น เงินเดือนหรือหรือการเลื่อนตำแหน่งงาน

ผลกระทบของความเป็นผู้นำ: ผู้นำเองจะต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อที่จะสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นในรายบุคคลโดยผ่านกระบวนในการจัดและลำดับความต้องการของพนักงานนั้นให้ได้อย่างเหมาะสม ทำให้พนักงานนั้นสามารถชี้นำตนเองในการทำงานรวมถึงสร้างความแตกต่างในการเป็นผู้นำ การสร้างความสัมพันธ์ที่อยู่เหนือสภาพแวดล้อมขององค์กรในการทำงานนั้นได้สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างคุณค่าอย่างต่อเนื่องให้กับองค์กร

5. ดิจิตัล ไลฟ์สไตล์ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน: เทคโนโลยีใหม่ๆเหล่านี้ทำให้ภาพระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานนั้นไม่ชัดเจน ปัจจุบันองค์กรได้มีการขยายขอบเขตและสร้างทักษะด้านดิจิทัลอย่างกว้างขวางในพนักงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งสามารถทำงานได้ในหลายๆที่

ความรู้ในเรื่องของดิจิตัลได้กลายมาเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกเนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตที่รวดเร็ว อุปกรณ์ดิจิตัลนั้นมีราคาถูกและให้ความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน การจัดการงานต่างๆรวมถึงการผลิต อีกทั้งสถานที่ทำงานนั้นไม่ได้ถูกผูกเอาไว้ว่าจะต้องทำงานได้เฉพาะที่ทำงานเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

ผู้นำจะต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์ มีความอยากรู้เรื่องเทคโนโลยีและเปิดกว้างให้กับบุคคลากรสายพันธุ์ดิจัล แต่ก็ควรที่จะเสนอขอบข่ายงานและการแนะแนวทางที่เป็นที่ต้องการ ผู้นำควรที่จะเข้าไปดูแลในส่วนของการร่วมมือและการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้นำกับพนักงานเพื่อที่จะลดช่องว่างของข้อมูลที่ข้ามไปไม่ถึง ถ้าพูดเพียงผิวเผินอาจกล่าวได้ว่าคนรุ่นใหม่ที่ถือได้ว่าเป็นสายพันธุ์ดิจตัลที่รู้จักเทคโนโลยีเป็นอย่างดีนั้นอาจมีภาพลักษณ์ว่าเป็นผู้ที่มีคุณภาพที่จะเป็นผู้นำได้มากกว่าคนรุ่นเก่า แต่อย่างไรก็ตามความสามารถด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่มากนั้นให้ความช่วยในด้านเทคโนโลยีได้ แต่ความมั่นใจในเทคโนโลยีที่มากจนเกินไปของคนเหล่านี้นั้นได้ลดทักษะในด้านสังคมลงไปอย่างมากสำหรับทบบาทในการเป็นผู้นำ

ผลกระทบของความเป็นผู้นำ: เนื่องจากองค์กรนั้นได้กลายเป็นองค์กรเสมือนจริงมากยิ่งขึ้น ผู้นำจะต้องรู้จักและควบคุมทักษะของบุคคลากรที่ใช้งานในส่วนของดิจิตัล การทำงานร่วมกันระหว่างบุคคลากรในองค์กรและบุคคลากรทั่วไป รวมถึงการเปิดกว้างด้านดิจิตัลให้มากขึ้น มีความซื่อสัตย์และความจริงใจเพื่อที่จะทำให้ชื่อเสียงขององค์กรนั้นคงอยู่ในโลกที่โปรงใส

6. การบรรจบกันของเทคโนโลยี: ความรู้ในเทคโนโลยีต่างๆที่ซับซ้อนได้กลายเป็นความสามารถที่สำคัญของธุรกิจ แม้ว่าองค์กรจะไม่ได้อยู่ในธุรกิจไอที แต่ความซับซ้อนของนาโนไบโอเทคโนโลยีได้ทำการแลกเปลี่ยนความรู้ที่สำคัญมาก รวมถึงการผสมผสานของธุรกิจ(ความร่วมมือและการสร้างพันธมิตรข้ามธุรกิจ)ได้กลายเป็นเรื่องธรรมดา การปรับตัวได้กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้องค์กรอยู่รอด รวมถึงความต้องการที่จะผสานผู้เล่นรายอื่นซึ่งเป็นความพยายามของบริษัทจะนำไปสู่โครงสร้างที่เปิดกว้างและรวมเป็นหนึ่งเดียวขององค์กรนั้นๆ ผลกระทบของความเป็นผู้นำ: แม้ว่าผู้นำอาจจะขาดความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีในแบบเจาะลึก ผู้นำจึงต้องเปิดกว้างและสนับสนุนความคิดที่มีวิสัยทัศน์ต่างๆ ผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่ผลัดดันนวัตกรรมและความร่วมมือ อีกทั้งต้องเล่นบทเป็นเหมือนกับวาทยากรผู้เชี่ยวชาญจากภายในและภายนอกองค์กรเพื่อที่จะได้มีความสามารถในการควบรวมเทคโนโลยี การเข้าไปช่วยไขข้อข้องใจหรือข้อสงสัยในเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆนั้นถือได้ว่าเป็นกันการยอมรับตัวกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวและชี้เป็นชี้ตายของผลิตภัณท์ ผู้นำอาจจะไม่สามารถที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญเองได้ แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่มากพอ

“แนวโน้มเหล่านี้จะไม่ใช่เพียงแนวโน้วในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ รัฐบาลและสังคม พวกเขาได้สร้างผลกระทบต่อคุณสมบัติของผู้นำอย่างมีนัยยะสำคัญที่เราได้เชื่อมโยงกับผู้นำที่ประสบความสำเร็จในทศวรรษหน้า” เวอร์มิทเทอร์กล่าวเสริม “การที่จะทำให้เกิดความรุ่งเรืองในอนาคตนั้น ผู้นำจะมีลักษณะที่เป็นผู้ที่ว่องไวและปรับตัวได้ง่าย ต้องนำพาองค์กรไปสู่การปฏิวัติหรือผลิกโฉมวัฒนธรรม โครงสร้าง ระบบและกระบวนการต่างๆ”

เกี่ยวกับบริษัท เฮย์กรุ๊ป

บริษัท เฮย์กรุ๊ป เป็นบริษัทด้านการให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการองค์กรระดับโลก ที่ดำเนินงานร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของแต่ละองค์กรในการร่วมกันทำให้กลยุทธ์เป็นความจริง บริษัทมุ่งพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการองค์กร โดยใช้ทรัพยากรมนุษย์ ที่แต่ละองค์กรมีอยู่ เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งกระตุ้นบุคลากรขององค์กรแสดงศักยภาพที่มีอยู่เพื่อการปฏิบัติงานให้แก่องค์กร ปัจจุบันบริษัทมีที่ปรึกษาและทีมงานที่มีความสามารถทั้งสิ้น 7,000 คน โดยปฏิบัติงานอยู่ใน 85 ออฟฟิศ จากทั้ง 49 ประเทศทั่วโลก บริษัทมีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาแก่ทั้งภาครัฐและเอกชน ในทุกๆ กลุ่มธุรกิจ ภายใต้จุดมุ่งหมายที่ว่าสร้างการเปลี่ยนแปลงและช่วยให้องค์กรต่างๆ ตระหนักถึงศักยภาพของตน

-กผ-