ระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานที่ลดลง กระทบต่อความสำเร็จขององค์กรทั่วโลก!

14 Aug 2012

กรุงเทพฯ--14 ส.ค.--เฮย์กรุ๊ป

  • มีเพียง 2 ใน 3 ของพนักงานทั่วโลกเท่านั้นที่มีความรู้สึกผูกพันกับองค์กร
  • บริษัททั่วๆไปไม่สามารถสร้างความจงรักภักดีของพนักงานต่อองค์กรได้ดีเทียบเท่ากับองค์กรใหญ่ๆที่ได้รับการยอมระบบในระดับโลก
  • ความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานที่จะทำงานอยู่กับองค์กรลดลงเหลืออยู่ต่ำกว่า 5 ปี
  • มากกว่า 40% ของบุคคลากรในองค์กรมีเกณท์ที่จะออกลาออกภายในระยะเวลา 5 ปี

ประสิทธิภาพขององค์กรเริ่มที่จะชะลอลง ด้วยสาเหตุที่ว่าบุลคลากร 3 ใน 4 ของบุลคลากรทั่วโลกนั้นไม่มีความต้องการและไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าได้ โดยข้อมูลนี้อ้างอิงจากผลสำรวจของบริษัท เฮย์กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกด้านการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กร

ผลการศึกษาในปีนี้แสดงให้เห็นว่ามีเพียง 66% ของพนักงานที่มีความรู้สึกผูกพันกับองค์กร ซึ่งลดลงเล็กน้อยในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา แต่ถือได้ว่าเป็นการลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับในกลุ่มบริษัทที่ได้รับการชื่นชมมากที่สุดของโลก ซึ่งมีระดับความผูกพันในองค์กรสูงถึง 75 เปอร์เซ็นต์

มากกว่า 3 ใน 4 ของบุคคลากรในองค์กรได้กล่าวว่า พวกเขาไม่สามารถที่จะใช้ประสิทธิภาพของตนในการทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยเฉลี่ยประมาณ 33% ของบุคลลากรทั้งหมดอ้างว่า พวกเขาพบอุปสรรคในที่ทำงานซึ่งเป็นตัวการขัดขวางทำให้ไม่สามารถมารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

บริษัท เฮย์กรุ๊ปได้ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน (Engagement) และระดับการสนับสนุนพนักงาน (Enablement) ประจำปี ซึ่งจากการสำรวจจาก 1,610 องค์กรในกว่า 46 ประเทศ และเป็นตัวแทนพนักงานถึงกว่า 5 ล้านคนพบว่า ระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานทั่วโลกนั้นมีระยะเวลา ที่ลดลงจากปีที่แล้ว จากที่พนักงานมีความต้องการที่จะอยู่กับบริษัทตนเป็นระยะเวลา 5 ปี ความต้องการที่มีในปัจจุบันได้ลดลงไปต่ำกว่านั้น ซึ่งระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานทั่วโลกที่ลดลงเรื่อยๆเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2007 และลดลงเหลือเพียง 2 ใน 3 คิดเป็น 65% ในปีที่แล้ว

มาร์ค รอเยล, เจ้าหน้าที่วางแผนยุทธ์ศาสตร์องค์กรอาวุโส และ เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Enemy of Engagement กล่าวว่า “2 ถึง 3 ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นว่าการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานทั่วโลกนั้นลดลง ซึ่งเห็นได้ว่าในปี 2008 องค์กรเริ่มเกิดความหยุดนิ่งในเรื่องนี้ ซึ่งเบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรใหญ่หลายๆองค์กรที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานนั้น จุดสำคัญคือการที่องค์กรทั่วโลกต้องการที่จะให้พนักงานนั้นสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด” ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานที่เริ่มหยุดนิ่ง

ยุโรปและเอเชียแปซิฟิคต้องเผชิญหน้ากับปัญหาใหญ่ภายในองค์กรเรื่องการขาดความผูกพันระหว่างพนักงานกับองค์กร ซึ่งระดับของความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรนั้นได้ลดลงต่ำกว่า 5 ปี คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เพียง 63 เปอร์เซ็นต์ของบุคคลากรทั้งหมด ระดับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรในทวีปเอเชียยังคงอยู่ที่ 63 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าตัวเลขนั้นจะแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ซึ่งเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

คุณนงนุช อบสุวรรณ, ที่ปรึกษาอาวุโสบริษัทเฮย์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) กล่าวว่า “สำหรับประเทศไทยหลายปีที่ผ่านมาองค์กรไม่ได้ให้ความสำคัญหรือจริงจังกับการที่จะสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรมากนัก ทั้งนี้ผู้บริหารขององค์กรต่างมุ่งเน้นในเรื่องของผลงานในรูปแบบของผลประกอบการขององค์กร ซึ่งอาจทำให้อาจหลงลืมไปว่า บุคคลากรนั้นเป็นทรัพยากรบุคคลที่เป็นปัจจัยสำคัญในการนำพาองค์กรนั้นๆไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย ดังนั้นเราจะเห็นแนวโน้มในระยะสองถึงสามปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะตั้งแต่ปีที่แล้ว องค์กรต่างให้ความสำคัญกับบุคลากรมากขึ้นไม่แค่เฉพาะการจัดการฝึกอบรมที่เพิ่มมากขึ้น แต่ยังเน้นความสำคัญในการสร้างความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร จากข้อมูลการศึกษาของบริษัทเฮย์กรุ๊ป ในประเทศไทยพบว่า ปัญหาใหญ่ๆภายในองค์กรที่ทำให้พนักงานขาดความผูกพันต่อองค์กร คือ การขาดความเชื่อมั่นในตัวผู้นำขององค์กรนั้นๆที่จะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายตามที่องค์กรต้องการ รวมถึงบทบาทความเป็นผู้นำของหัวหน้างาน (Leadership) ที่ดี ในการบริหารงานและการสร้างแรงบันดาลใจลูกน้อง รวมถึงจูงใจในการสร้างสรรหรือทำงานที่ดีๆให้องค์กรได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ

ดังนั้นเรื่องของความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรเป็นอีกเรื่องที่ในปัจจุบันหลายๆ องค์กรพยายามที่จะสร้างให้เกิดขึ้น จึงมีการจัดทำการสำรวจทัศนคติและสำรวจความผูกพันของพนักงานในองค์กรต่างๆกันมากมาย แต่ทั้งนี้แค่ความผูกพันของพนักงานอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้แน่ใจว่าสิ่งนี้จะสามารถนำพาไปสู่จุดหมายที่องค์กรต้องการได้ แต่อีกปัจจัยคือองค์กรต้องแน่ใจว่าได้ให้การสนับสนุนแก่พนักงานอย่างเหมาะสมในการที่จะสนับสนุนการทำงานของเขาที่จะทำให้พนักงานเหล่านั้นสามารถจะแสดงศักยภาพที่ดีที่สุดในการทำงานได้อย่างเต็มที่

ทั้งนี้ผลที่ได้จากการทำการสำรวจ องค์กรสามารถนำมากำหนดแนวทางในการบริหารจัดการบุคคลากรขององค์กรให้เป็นบุคคลากรที่มีประสิทธิภาพที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพลักดันให้เป้าหมายขององค์กรสำเร็จได้อย่างดียิ่ง

ในแถบประเทศตะวันออกกลาง ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานชะงักอยู่ที่ 64 เปอร์เซ็นต์ไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมากในปี 2008

อเมริกาใต้ถือได้ว่าเป็นผู้นำด้านการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน

ในประเทศแถบอเมริกาใต้ถือได้ว่ามีอนาตคที่สดใสในเรื่องความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานตอนนี้มีอยู่เกือบ 3 ใน 4 หรือ คิดเป็น 73 เปอร์เซ็นต์ของบุคลากรทั้งหมดเท่ากับปี 2008 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ในส่วนของประเทศแถบอเมริกาเหนือนั้นมีเปอร์เซ็นต์ลดลงมา 3 เปอร์เซ็นต์ในปี 2009 แต่ก็ยังถือได้ว่าเปอร์เซ็นต์นั้นสูงกว่าเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 69 เปอร์เซ็นต์

ในประเทศแถบอเมริกาใต้นั้นถือได้ว่าตัวเลขเป็นที่น่าประทับใจซึ่งคิดเป็น 3 ใน 4 หรือ 74 เปอร์เซ็นต์ ของบุคลากรที่รู้สึกว่าได้รับการกระตุ้นให้มีการทำงานนอกเหนือจากหน้าที่ที่ต้องทำประจำวัน ซึ่งคิดเป็น 66 เปอร์เซ็นต์ของบุคลากรเมื่อเทียบกับในยุโรปและตะวันออกกลาง

อเมริกาใต้ยังคงครองแชมป์ในส่วนของระดับความภูมิใจของพนักงานที่มีต่อองค์กร โดยคิดเป็นจำนวน 4 ใน 5 ของพนักงาน หรือเท่ากับ 86 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งพนักงานนั้นรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ทำงานให้กับบริษัทของตน

สภาพแวดล้อมขององค์กรมีส่วนทำให้ศักยภาพของพนักงานลดลง

ข้อมูลจาก เฮย์กรุ๊ป นั้นยังแสดงข้อมูลให้เห็นถึงการทำงานของพนักงานทั่วโลก ที่ไม่ได้รับการสนับสนุนในการทำงาน และไม่สามารถที่จะแสดงศักยภาพของตนได้เต็มที่

พนักงานน้อยกว่า 2 ใน 3 ทั่วโลก ซึ่งคิดเป็น 62 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานทำให้พวกเขาสามารถที่จะสร้างผลงานได้มากเท่าที่พวกเขาจะทำได้ ซึ่งเปอร์เซ็นต์นั้นได้ลดลงเหลือเพียง 58 เปอร์เซ็นต์ในยุโรปและตะวันออกกลาง

ในอเมริกาใต้นั้นมีเปอร์เซ็นต์ของบุคลากรที่รู้สึกมีแรงกระตุ้นในการทำงานนอกเหนือจากงานที่ได้รับคิดเป็น 74 เปอร์เซ็นต์ มีเพียง 61 เปอร์เซ็นต์ที่รู้สึกว่าองค์กรได้จัดสรรบรรยากาศในการทำงานเพื่อทำให้พนักงานทำงานได้อย่างดีที่สุด สิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นแนวโน้มของทั่วโลก

มาร์ค รอเยล ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “เราจะเห็นว่าองค์กรมีช่องว่างที่ทำให้รับมือได้ยากระหว่างคำว่าความมุ่งมั่นและความทุ่มเทในการทำงานของพนักงานกับการสนับสนุนพนักงาน ซึ่งช่วยให้พนักงานทำงานได้อย่างดีขึ้น สำหรับองค์กรที่กำลังต้องการควบคุมประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร การที่องค์กรไม่ได้ให้ความสำคัญในการนำศักยภาพที่มีของพนักงานไปใช้ประโยชนนั้นถือได้ว่าเป็นการสูญเสียโอกาสขององค์กร”

“การสร้างแรงผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานอย่างแท้จริง ผู้บริหารจะต้องมีความเข้าใจบทบาทของตนในการที่จะสนับสนุนพนักงานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ ตอนนั้น เพื่อที่จะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์กร โดยขจัดอุปสรรคอันเป็นตัวการขัดขวางในการทำงานของพนักงานและทำให้องค์กรถดถอย”

ความจงรักภักดีต่อองค์กรที่ลดลง

จากผลสำรวจของบริษัท เฮย์กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกด้านการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กร ความจงรักภักดีต่อบริษัทในระยะยาวมีผลมาจากระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานและการสนับสนุนขององค์กร ซึ่งจากการสำรวจบริษัทเฮย์กรุ๊ปพบว่า ระดับความมุ่งมั่นของบุคลากรที่จะร่วมงานกับบริษัทของตนนั้นลดลงเหลือเพียง 5 ปี ในภูมิภาคหลักๆของโลก

มากกว่า 44 เปอร์เซ็นต์ของบุคลากรทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะทำงานกับบริษัทของตนเพียงแค่ 5 ปี ซึ่ง 21 เปอร์เซ็นต์ของบุคลากรนั้นมีแนวโน้มที่จะอยู่กับบริษัทที่ตนเองทำงานน้อยกว่า 2 ปี

ระดับความมุ่งมั่นในการทำงานของพนักงานมีค่อนข้างสูงในประเทศแถบอเมริกาเหนือ เห็นได้จากตัวเลขพบว่ามีมากถึง 62 เปอร์เซ็นต์ที่มีความต้องการที่จะอยู่กับบริษัทของตนมากว่า 5 ปี อย่างไรก็ตามตัวเลขนั้นได้ลดลง 5 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมา

สำหรับในส่วนของประเทศในแถบแปซิฟิกนั้น 54 เปอร์เซ็นต์ของบุคลากรมีแนวโน้มที่จะทำงานอยู่กับบริษัทของตนเป็นระยะเวลา 5 ปี

ทั้งนี้คุณนงนุช อบสุวรรณ ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัทเฮย์กรุ๊ป ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมสำหรับประเทศไทยพบว่ามีแนวโน้มว่าพนักงานจะมีความจงรักภักดีที่จะอยู่กับองค์กรที่ลดน้อยลงตำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะพนักงานที่เป็น Generation Y คงเป็นเรื่องยากสำหรับองค์กรที่จะมีพนักงานที่มีความจงรักภักดีกับองค์กรอย่างอดีตของ พนักงานที่เป็น Generation Baby Boom หรือ Generation x

หลายองค์กรมองว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายองค์กรในการที่จะสร้างความจงรักภักดีของพนักงานรุ่นหลังๆของ Generation x หรือ Generation y ให้มีความจงรักภักดีเหมือนเช่นอดีต โดยเฉพาะในสภาวะการณ์ของตลาดแรงงานที่คนวัยทำงานมีน้อยลงแต่ความต้องการของตลาดมีมากขึ้น

มาร์ค รอเยล กล่าวเพิ่มอีกว่า “ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานและการสนับสนุนพนักงานในระดับต่ำกำลังบั่นทอนประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจขององค์กรทั่วโลก ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม นับได้ว่านี่เป็นความท้าทายใหม่ที่องค์กรต่างๆจะต้องเอาชนะเพื่อลดอัตราการเปลี่ยนงานของพนักงานให้ได้”

ในสภาวะเศรษฐกิจโลกปัจจุบันที่การหางานที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถเป็นสิ่งที่ยากลำบากขึ้น ทำให้อัตราการออกจากงานนั้นลดต่ำลงเนื่องจากพนักงานกลัวความเสี่ยงที่จะตกงาน จึงส่งผลให้พนักงานที่มีความคับข้องใจเนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนงานได้ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 2 ใน 5 ของพนักงานทั้งหมด

การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในตลาดแรงงานทำให้เกิดโอกาสที่จะสร้างความเคลื่อนไหวให้กับพนักงาน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าพนักงานที่มีศักยภาพและทำงานได้ดีเหล่านี้ จะเป็นพนักงานกลุ่มแรกๆที่ลาออกจากงานก่อน ถ้าบริษัทหรือองค์กรที่เขาอยู่นั้นไม่ได้ให้การสนับสนุนศักยภาพของพวกเขาได้อย่างที่เขาต้องการ

เกี่ยวกับผลการศึกษา

จากการศึกษาที่ได้นั้นทางบริษัท เฮย์กรุ๊ปได้ข้อมูลทางพิ้นฐานมากจากการสำรวจข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลจาก 1,610 องค์กร ในกว่า 46 ประเทศ และจากตัวแทนพนักงานเป็นจำนวน 4,55,9762 คน

เกี่ยวกับบริษัท เฮย์กรุ๊ป

บริษัท เฮย์กรุ๊ป เป็นบริษัทด้านการให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการองค์กรระดับโลก ที่ดำเนินงานร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของแต่ละองค์กรในการร่วมกันทำให้กลยุทธ์เป็นความจริง บริษัทมุ่งพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการองค์กร โดยใช้ทรัพยากรมนุษย์ ที่แต่ละองค์กรมีอยู่ เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งกระตุ้นบุคลากรขององค์กรแสดงศักยภาพที่มีอยู่เพื่อการปฏิบัติงานให้แก่องค์กร ปัจจุบันบริษัทมีที่ปรึกษาและทีมงานที่มีความสามารถทั้งสิ้น 7,000 คน โดยปฏิบัติงานอยู่ใน 85 ออฟฟิศ จากทั้ง 49 ประเทศทั่วโลก บริษัทมีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาแก่ทั้งภาครัฐและเอกชน ในทุกๆ กลุ่มธุรกิจ ภายใต้จุดมุ่งหมายที่ว่าสร้างการเปลี่ยนแปลงและช่วยให้องค์กรต่างๆ ตระหนักถึงศักยภาพของตน

-กผ-

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit