กรุงเทพฯ--15 ส.ค.--จ็อบสตรีท
จ็อบสตรีทดอทคอม เว็บไซต์จัดหางานที่รวบรวมคนคุณภาพ งานคุณภาพ ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้หญิงทำงานอายุ22 ปีขึ้นไปจำนวน 281คน และตัวแทน ฝ่ายนายจ้างจำนวน 122 องค์กร ในหัวข้อทัศนคติของผู้หญิงที่มีต่อบทบาทคุณแม่คนทำงาน และความใส่ใจของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้างสตรี พบว่าหน่วยงานต่างๆ ได้ให้ความสนใจและพัฒนาสวัสดิการเพื่อลูกจ้างหญิงมากขึ้น โดยเฉพาะให้ความสำคัญกับลูกจ้างหญิงที่มีบุตรเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
นางสาวฐนาภรณ์ สถิตพันธุ์เวชา ผู้จัดการสาขาประเทศไทย บริษัท จ็อบสตรีท (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของตัวแทนนาย จ้างจาก 122 บริษัท โดยแบ่งเป็นบริษัทขนาดเล็กมีพนักงานไม่เกิน 50 คน 48.4% บริษัทขนาดกลาง มีพนักงานตั้งแต่ 50-200 คน 34.4% และบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนพนักงานมากกว่า 200 คน อีก 17.2% พบว่า 54% มีพนักงานหญิงในองค์กรมากกว่า 50% นอกจากนี้ จากตัวเลขสำนักงานสถิติแห่งชาติปี2551 พบว่า ประเทศไทยมีแรงงานสตรีที่อยู่ในระบบจำนวน6.33 ล้านคนและนอกระบบอีก11.09 ล้านคนนั่นย่อมเป็นสิ่งที่ชี้ชัดว่าแรงงานหญิงมีบทบาทและความสำคัญมากต่อ การขับเคลื่อนองค์กร ดังนั้นการใส่ใจความต้องการของพนักงานหญิงเป็นสิ่งที่จะละเลยไม่ได้เลยทีเดียว
“การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ทำขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แล้ว ทั้งนี้เพื่อให้ทั้งลูกจ้างและนายจ้างได้ทราบถึงความต้องการของแต่ละฝ่าย เพื่อหาจุดที่เหมาะสมในการจัดสวัสดิการและในขณะเดียวกัน เพื่อให้พนักงานได้ตระหนักในความรับผิดชอบอันจะส่งผลดีต่อการทำงานของตนเองด้วย”
กลุ่มผู้ที่ทำการตอบแบบสอบถามนั้น 47% เป็นโสด 36% เป็นหญิงที่สมรสและมีบุตรแล้ว 8% เป็นหญิงที่สมรสแล้วแต่ยังไม่มีบุตร อีก 9% หย่า ร้างแล้วโดย 40% ให้ความเห็นว่าบริษัทไม่ใส่ใจต่อความต้องการของพนักงานที่มีบุตร 26% ระบุว่าบริษัทใส่ใจความต้องการของพนักงานกลุ่มดังกล่าว และ อีก 34% ไม่แน่ใจ และมีผู้ตอบแบบสอบถามถึง 71.5% ที่คิดว่าเป้าหมายในการทำงานจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีบุตร โดยในจำนวนนี้ 35% คิดว่าสิ่งที่สำคัญที่ สุดของการทำงานภายหลังการมีบุตรคือเงินเดือนที่สูงขึ้น รองลงมา 29% อยากได้งานที่มีชั่วโมงการทำงานสั้นลงและมีเวลาที่แน่นอน 25% อยากได้งานที่มี ชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น 8% คือการเดินทางที่น้อยลงและอื่นๆ อีก 4%ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากการสำรวจในปี2554 ที่ผ่านมา
นางสาวฐนาภรณ์ สถิตพันธุ์เวชา ผู้จัดการสาขาประเทศไทย บริษัท จ็อบสตรีท (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวว่า “จากผลการสำรวจจะเห็นได้ชัดเจนว่า ความต้องการของคุณแม่คนทำงานจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีบุตร โดยเฉพาะในเรื่องของรายได้และเวลา แต่ถึงแม้ว่าพนักงานหญิงจะมีเป้าหมายในการทำงานที่ เปลี่ยนแปลงไป แต่มีเพียง 1% เท่านั้น ที่คิดจะลาออกจากงานเพื่อทำหน้าที่ดูแลบุตรเพียงอย่างเดียว โดยมีถึง 63% ที่ยังต้องการจะทำงานต่อไปตามปกติ และ 25% วางแผนหยุดทำงานเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้นในจำนวนนั้น 57% อาจหยุดทำงานเพียงไม่เกิน 2 ปี เท่านั้น ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้ไม่สามารถ ออกจากการทำงานได้ เนื่องจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจ 58% รองลงมาคือ ต้องการความก้าวหน้าในอาชีพการทำงาน 22% ชอบในงานที่ทำอยู่ 12% และด้วยเหตุผล อื่นๆ อีก 8%ซึ่งหากองค์กรตระหนักถึงความต้องการเหล่านี้และสามารถเติมเต็มให้กับพนักงานหญิงได้ ก็จะสามารถช่วยลดอัตราการลาออกจากงานได้ ใน ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างความผูกพันและจงรักภักดีต่อองค์กรให้เกิดขึ้นได้ด้วย”
นางสาวฐนาภรณ์กล่าวต่อไปว่า ในส่วนขององค์กรนั้น มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน สำหรับการให้ความสำคัญกับพนักงานที่ตั้งครรภ์ หรือมีบุตร เพราะหากเทียบกับปีที่ผ่านมา มีบริษัทมากถึง 45% ที่ไม่มีการจัดสวัสดิการใดให้พนักงานที่ตั้งครรภ์หรือมีบุตรเลยแต่ในปีนี้มีเพียง 23% เท่านั้นที่ไม่มีการจัดสวัสดิการใดเป็นพิเศษสำหรับพนักงานที่ตั้งครรภ์หรือพนักงานที่มีบุตร ในขณะดียวกัน 66%ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญ กับสวัสดิการเพื่อพนักงานหญิงในระดับปานกลาง และ 11% ให้ความสำคัญมาก เท่ากับปีที่ผ่านมา
สำหรับสวัสดิการเพื่อพนักงานตั้งครรภ์หรือพนักงานที่มีบุตรที่องค์กรจัดให้พนักงานนั้น สวัสดิการที่มีการมอบให้พนักงานสูงสุดห้าลำดับแรก คือ 27% ให้ของขวัญแรกคลอด 19% ปรับเปลี่ยนหน้าที่ที่เหมาะสมให้ 13% ช่วยเหลือค่าคลอดบุตร 10% ยืดหยุ่นเวลาทำงานให้ และ 2.5% จัดห้องสำหรับปั๊ม น้ำนมในขณะที่สิ่งที่คุณแม่คนทำงานอยากจะเรียกร้องต่อนายจ้าง มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ เวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น (41%) เงินเดือนที่สูงขึ้น (40%) เงินช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูบุตร (38%) ทุนการศึกษาให้บุตร (33%) และ วันหยุดที่เพิ่มขึ้น (26%)
เปรียบเทียบความต้องการของคุณแม่คนทำงาน และ สวัสดิการจากนายจ้างสูงสุด 5 ลำดับแรก
ความต้องการของคุณแม่
สวัสดิการจากนายจ้าง
เวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น
ให้ของขวัญแรกคลอด
เงินเดือนที่สูงขึ้น
ปรับเปลี่ยนหน้าที่ที่เหมาะสมให้
เงินช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูบุตร ช่วยเหลือค่าคลอดบุตร
ทุนการศึกษาให้บุตร
ยืดหยุ่นเวลาทำงานให้
วันหยุดที่เพิ่มขึ้น
จัดห้องสำหรับปั๊มน้ำนม
เมื่อถามถึงแผนการเพิ่มสวัสดิการให้กับพนักงานหญิงที่มีบุตร 16% แจ้งว่ามีแผนในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า 8% มีแผนการในระยะยาวคืออีก 5 ปี ข้างหน้า ในขณะที่ 76% ยังไม่มีแผนเลย
“ทั้งนี้ 67.2% นายจ้างที่ตอบแบบสอบถามให้ความเห็นว่าไม่ได้นำเรื่องการมีบุตรหรือไม่มาเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณารับพนักงาน โดยให้ เหตุผลว่า การที่มีบุตรจะทำให้พนักงานมีความอดทนมากกว่าคนที่ยังไม่มีบุตร สำหรับ 32.8% ของนายจ้างที่มีแนวโน้มว่าจะไม่จ้างผู้สมัครที่มีบุตรแล้ว เนื่องจากเป็นห่วงว่าจะทุ่มเทกับงานได้ไม่เต็มที่เพราะมีภาระทางครอบครัว”
เมื่อสอบถามถึงปัญหาที่เคยพบจากพนักงานหญิงที่มีบุตรพบว่า 53.3% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า เคยพบปัญหาจากพนักงานหญิงที่มีบุตรโดยมี อัตราการขาด ลา มาสายสูง เนื่องมาจากภาะที่เกี่ยวกับบุตร 21.3% ต้องหาพนักงานใหม่เนื่องจากพนักงานเก่าลาออกเพื่อไปดูแลบุตร 10.7% พบว่าพนักงานไม่ ทุ่มเทกับการทำงานเหมือนเดิม และ 28.7% ไม่เคยพบปัญหาจากพนักงานกลุ่มดังกล่าว อย่างไรก็ตาม นายจ้าง 50% เชื่อมั่นว่าพนักงานที่มีบุตรยังสามารถ ทุ่มเทกับงานได้แน่นอน ในขณะที่ 32.8% ไม่แน่ใจ และ17.2% เชื่อว่าไม่สามารถทุ่มเทได้แน่นอน
“เราเชื่อว่าคุณแม่คนทำงานทุกคนนั้น มีจุดมุ่งหมายที่เหมือนกันคือ การได้ทำงานไปพร้อมๆ กับการเลี้ยงดูบุตรให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนดีและคน เก่ง ประสบความสำเร็จกับหน้าที่การงานในอนาคตซึ่งจ็อบสตรีทดอทคอมได้สอบถามถึงอาชีพที่คุณแม่อยากให้ลูกทำมากที่สุด พบว่า 5 ลำดับแรกของอาชีพในฝัน คือธุรกิจส่วนตัว รองลงมาคือแพทย์ วิศวกร ครู/อาจารย์ และทหาร ตามลำดับ”
นางสาวฐนาภรณ์ยังได้แนะนำถึงเคล็ดลับในการทำงานและเลี้ยงดูลูกไปพร้อมๆ กัน โดยที่คุณแม่ไม่ต้องรู้สึกเครียดหรือกดดันมาก สิ่งสำคัญคือ การมองโลกในแง่ดี และการปล่อยวาง “เมื่อต้องรับภาระทั้งนอกบ้านและในบ้าน เรื่องสำคัญคือการแบ่งเวลา เมื่อทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งที่ ‘ต้องทำ’ บาง ครั้งก็ต้องเลือกงานก่อน สิ่งที่ตามมาคือ คุณแม่ส่วนมากจะรู้สึกผิดหากมีเวลาให้ลูกไม่เต็มที่ หรือจะกล่าวโทษตัวเองเมื่อเกิดข้อผิดพลาด ดังนั้น สิ่งที่ควรทำคือ การพยายามเลือกทำในสิ่งที่จำเป็น ไม่เสียเวลากับเรื่องเล็กน้อย ที่สำคัญคือการพูดคุยและให้สมาชิกในบ้านมีส่วนร่วมในการดูแลเรื่อง ต่างๆ ในบ้านเพื่อลดภาระของคุณแม่ที่ยังต้องทำงานนอกบ้าน สุดท้ายอย่าลืมว่าแม้คุณแม่จะมีภาระต้องรับผิดชอบมากมาย แต่การดูแลตัวเองและเวลาส่วนตัว ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ การหาเวลาว่างให้ตัวเองเพื่อทำกิจกรรมที่ชอบ เช่นสปา ทำผม หรือนัดทานข้าวกับเพื่อนเก่าบ้าง จะช่วยลดความเครียดและฟื้นฟู พลังให้คุณแม่ได้อย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว” -กภ-
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit