สค. ผนึกภาคเอกชนวิเคราะห์การทำงานเชิงลึก ชี้ปี 56 ต้องไทยเผชิญความเปลี่ยนแปลงวิกฤตโลก หวังประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม-การค้าของไทย

01 Nov 2012

กรุงเทพฯ--1 พ.ย.--สค.

นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ(สค.) เปิดเผยว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน 2555 นี้ กรมฯจะจัดสัมมนาทิศทางใหม่ DITP” ณ โรงแรมอิสติน แกรนด์ สาธร เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน ภายหลังการปรับเปลี่ยนบทบาทและภารกิจจากกรมส่งเสริมการส่งออกเป็นกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งภารกิจจะครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริมการส่งออกและการส่งเสริมการนำเข้าปัจจัยการผลิตและสินค้าที่จำเป็นต่อการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ อีกทั้งสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศยุคใหม่ และเป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและการค้าของไทย

“การปรับบทบาทและภารกิจใหม่ที่ต้องดูแลเรื่องการนำเข้าด้วยนั้น ถือเป็นงานที่เพิ่มมากขึ้นอีก จึงต้องการให้ภาคเอกชนมีส่วนช่วยให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่อการทำงานของกรมฯ สนับสนุนและเข้ามาเป็นกลไกในการผสานการทำงานและบูรณาการอย่างใกล้ชิดภายใต้บริบทใหม่ เพื่อให้สอดรับกับความคาดหวัง และความต้องการของผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศ(stakeholder)ที่แท้จริง เพื่อพัฒนาไปสู่การค้าแบบยั่งยืน”นางศรีรัตน์ กล่าว และว่า กรมฯจึงได้ปรับวิสัยทัศน์ใหม่ เพื่อไปสู่การ “เป็นหน่วยงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศชั้นนำในภูมิภาคเอเซีย มีมาตรฐานการดำเนินงานที่เป็นเลิศ และพร้อมปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการและธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของไทยให้เป็นสากลและยั่งยืน”

ทั้งนี้สค.มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการไทยในการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ โดยการอำนวยความสะดวกเพื่อลดต้นทุน พัฒนาและส่งเสริมมูลค่าเพิ่มสินค้าและบริการของไทย ชี้แนะลู่ทางการเข้าตลาด รักษาและขยายตลาดการค้าในต่างประเทศ และร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาให้ไทยเป็นประตูการค้าสำคัญของภูมิภาคเอเซีย

นางศรีรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ปรับเปลี่ยนทุกขณะในปี 2556 กรมฯไม่อาจนิ่งนอนใจได้ เนื่องจากประเทศไทย หรือ ประเทศต่างๆ ยังต้องพึ่งพากันมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจโลก ระบบการขนส่งและการสื่อสารที่มีความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ(ภูมิภาค)มากขึ้น และภาคอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น ยานยนต์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น มีระบบซัพพลายเชนเน็ตเวิร์คในการผลิต การค้าและการตลาด-กภ-